แนะเคล็ดลับการเลือก EV CAR


เทรนด์ประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมกำลังกลายเป็นกระแสหลักของโลก ไม่เว้นแม้แต่ในแวดวงยานยนต์ ที่ตอนนี้รถยนต์ทางเลือกที่ใช้พลังงานไฟฟ้า หรือ “รถยนต์ไฟฟ้า” (EV : Electric Vehicle) กำลังถูกพูดถึง โดยเฉพาะในประเทศไทย ที่มีผู้คนตื่นตัวและให้ความสนใจรถยนต์ไฟฟ้ากันมากขึ้น รวมทั้งค่ายรถยนต์ต่าง ๆ ก็เปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้าที่ได้รับการพัฒนาเทคโนโลยีภายใต้แบรนด์ของตัวเอง แต่การจะเปลี่ยนรถคันใหม่ หันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้า EV นั้น หลายๆ คนอาจมีคำถามและข้อสงสัย เพราะการเลือกซื้อรถไฟฟ้ามาใช้ซักคันนั้น นอกจากเลือให้ถูกใจแล้ว ยังต้องคุ้มค่าสมราคาที่จ่ายไปด้วย ดังนั้น ก่อนจะเลือกซื้อรถไฟฟ้า เราจะต้องพิจารณาอะไรบ้างนั้นไปดูกัน

เช็คลิสต์ควรรู้ ก่อนคิดซื้อ EV CAR

  1. สำรวจลักษณะการใช้รถ ความที่รถยนต์ไฟฟ้ามีมากหลายแบรนด์ หลากรุ่นและหลายรูปแบบที่ผลิตออกมาเพื่อให้ตอบสนองการใช้งานของผู้ใช้มากที่สุด ฉะนั้น ผู้ใช้ควรถามตัวเองว่าต้องการอะไรจากการใช้รถ เช่น ความคล่องตัว ความประหยัด ความคุ้มค่า การรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อหารถที่ตอบโจทย์ชีวิตตัวเองได้อย่างเหมาะสม
  2. พิจารณารูปแบบการเดินทาง โดยเฉพาะในชีวิตประจำวันว่า ในแต่ละวันคุณมีการเดินทางจากบ้านไปที่ทำงานประมาณกี่กิโลเมตร เช่น ปกติเดินทางวันละ 50 กิโลเมตร รถยนต์ไฟฟ้าที่จะใช้ก็ควรเลือกที่สามารถขับได้ระยะทางมากกว่า 1.5 เท่า หรือ 5 เท่าของระยะทางปกติที่เดินทางอยู่ในแต่ละวัน เพื่อให้มั่นใจว่าจะสามารถทำกิจวัตรในแต่ละวันได้โดยไม่สะดุดหรือต้องกังวลว่าแบตเตอรี่จะหมดก่อนเดินทางไปถึง
  3. หาข้อมูลให้กระจ่าง เพื่อทำความรู้จักและศึกษารายละเอียดของรถคันนั้นให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ ซึ่งทำได้หลายวิธีตามที่คุณสะดวก ไม่ว่าจะค้นหาจากอินเทอร์เน็ต สอบถามจากค่ายรถยนต์ไฟฟ้า หรือพูดคุยกับผู้ใช้จริง เพื่อนำข้อมูลเหล่านี้มาประกอบการตัดสินใจในการเลือกซื้อรถ
  4. แบตเตอรี่สำคัญมาก อย่าลืมให้ความสำคัญกับแบตเตอรี่ที่ใช้ในรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นที่หมายตาไว้ เพราะถือเป็นแหล่งจ่ายพลังงานไฟฟ้าซึ่งเป็นพลังงานหลักในการขับเคลื่อนรถ จึงต้องเป็นแบตเตอรี่ที่มีมาตรฐานรองรับคุณภาพที่เชื่อถือได้
  5. ชื่อแบรนด์การันตีความมั่นใจ สุดท้ายพิจารณาแบรนด์รถยนต์ไฟฟ้าที่มีความน่าเชื่อถือมั่นใจได้ในคุณภาพของรถยนต์ไฟฟ้า และไม่ควรมองข้ามการให้บริการทั้งก่อนและหลังการขายที่ดี เพื่อให้อุ่นใจได้ว่าหากเกิดปัญหาขึ้นจะได้รับการดูแลที่ดีและไม่ทอดทิ้งลูกค้า

รู้จัก EV CAR

หากจำแนกรถยนต์ไฟฟ้าตามประเภทการใช้พลังงานของรถรถยนต์ไฟฟ้าจะได้ 4 ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทมีแบรนด์ที่จำหน่ายในประเทศไทย ดังนี้

  • HEV-Hybrid Electric Vehicle ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าทำงานร่วมกับเครื่องยนต์ เมื่อใช้มอเตอร์ไฟฟ้าทำงานร่วมกับเครื่องยนต์ เมื่อรถใช้ความเร็วสูงขึ้นหรือเมื่อพลังงานแบตเตอรี่ลดลงถึงจุดที่ต้องชาร์จประจุไฟฟ้า ระบบก็จะไปใช้เครื่องยนต์สันดาปแทนการใช้พลังงานจากมอเตอร์ไฟฟ้า รถยนต์ประเภทนี้ที่มีจำหน่ายในไทย เช่น Toyota Camry Hybrid, C-HR Hybrid, Nissan X-trail Hybrid และ Honda Accord Hybrid เป็นต้น
  • BEV-Battery Electric Vehicle รถขับเคลื่อนด้วยการใช้พลังงานไฟฟ้า 100% ใช้เพียงมอเตอร์ไฟฟ้าในการให้พลังงาน ถูกใจผู้ใช้มี่ต้องการประหยัดค่าใช้จ่ายทั้งการใช้งานและการบำรุงรักษารถ ทั้งยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพียงแต่ต้องคำนึงถึงระยะทางที่วิ่งได้ต่อการชาร์จประจุไฟฟ้าในแต่ละครั้ง รวมถึงความแพร่หลายของสถานีชาร์จประจุไฟฟ้าแบรนด์ที่ทำตลาดในเมืองไทย ได้แก่ Nissan Leaf, Jaguar I-PACE, Audi e-Tron, BYD B6, Hyundai KONA, FOMM ONE, Mine SPA1, KIA Soul EV เป็นต้น
  • PHEV-Plug-in Hybrid Electric Vehicle ระบบการทำงานเหมือนรถยนต์ไฟฟ้าแบบไฮบริด แต่ต่างที่สามารถชาร์จประจุไฟฟ้าได้ และขับเคลื่อนด้วยการใช้ไฟฟ้าอย่างเดียวได้ระยะทางไกลกว่าแบบไฮบริด เพราะมีแบตเตอรี่ที่เก็บประจุได้มากกว่า และด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้านี้ทำให้รถยนต์ไฟฟ้าประเภทนี้ราคาสูงกว่าแบบไฮบริด จึงพบในแบรนด์รถหรู เช่น Porsche CAYENNE, BMW Series3, 5, 7 , Volvo XC60, XC90, และ Mercedes-Benz S-Class และ E-Class เป็นต้น
  • FCV-Fuel Cell Vehicle เป็นรถที่ใช้พลังงานจากไฮโดรเจนเหลวมาผลิตกระแสไฟฟ้าแทนการเก็บไฟฟ้าด้วยแบตเตอรี่ แต่มีข้อจำกัดเรื่องสถานีเติมเชื้อเพลิงมีน้อยมากและการใส่ถังบรรจุไฮโดรเจนเหลวไว้ในรถก็ยังอันตรายมาก อีกทั้งยังมีราคาสูง ในไทยจึงยังไม่มีการกำหนดตลาดรถประเภทนี้

กางโมเดล FOMM One

เมื่อต้นปี 2561 บริษัท พีอีเอ เอ็นคอม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) ได้เปิดตัว ‘FOMM One’ รถยนต์ไฟฟ้าขนาด 4 ที่นั่งคันกะทัดรัดพัฒนาโดยทีมวิศวกรชาวญี่ปุ่นที่ได้รับแรงบันดาลใจจากคลื่นยักษ์สึนามิพัดถล่มชายฝั่งญี่ปุ่นเมื่อปี 2554 ทำให้ FOMM One นอกจากขับเคลื่อนด้วยพลังงานจากไฟฟ้าแล้ว ยังขับบนน้ำได้ในภาวะฉุกเฉิน เช่น น้ำท่วม โดยไม่ต้องเป็นห่วงว่าแบตเตอรี่จะเสียหาย หรือระบบไฟฟ้าในเมืองไทย ชาร์จไฟ 1 ครั้ง วิ่งได้ถึง 160 กิโลเมตร คิดเป็นค่าไฟเพียง 30 สตางค์ต่อกิโลเมตรเท่านั้น เห็นคันเล็ก ๆ แบบนี้แต่ทำความเร็วได้สูงสุดอยู่ที่ 80 กิโลเมตร/ชั่วโมง นอกจากนี้ ยังติดตั้งระบบ Cooler System ที่พัฒนาขึ้นตามสภาวะอากาศของบ้านเราและประเทศในในแถบอาเซียน

ข้อมูลที่คุณอาจสนใจ


ที่มาข้อมูล: การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA)


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save