แนวโน้มพลังงานแห่งอนาคต (Future Energy Trend)


การผลิตพลังงานยังคงเป็นหนึ่งในสิ่งจำเป็นต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมและความเจริญเติบโตของเมืองใหญ่ และมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น ที่ผ่านมาเราคงได้สัมผัสรับรู้ถึงการเข้ามาของเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและการแทนที่รูปแบบเทคโนโลยีแบบเดิมที่พัฒนาและใช้กันมาเป็นเวลาหลายทศวรรษ ซึ่งการเข้ามาของเทคโนโลยีเหล่านั้นอาจพลิกโฉมรูปแบบพลังงานอย่างสิ้นเชิง (Energy Disruption) และในอนาคตอันใกล้กว่าที่เราคาดคิด การพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานเหล่านั้น ด้านหนึ่งก็เป็นความพยายามในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การสร้างความมั่นคงเชิงพลังงาน เช่น พลังงานทดแทน การเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน ยานยนต์ไฟฟ้า แต่อีกด้านหนึ่งก็ควรคำนึงถึงผลกระทบและการเตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงด้วยเช่นกัน

แนวโน้มพลังงานที่จะเห็นในปี ค.ศ. 2020

พลังงานทดแทนและการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน จะยังคงเป็นส่วนสำคัญของการผลิตและใช้พลังงานของประเทศ กระแสการลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจะแพร่หลายมากขึ้นในอุตสาหกรรม Blockchain และ Artificial Intelligence (AI) จะมีบทบาทมากขึ้นต่อรูปแบบนวัตกรรมของเทคโนโลยีพลังงาน รูปแบบการซื้อขายพลังงาน การผลักดันความเป็น Smart City จะมีส่วนในการกำหนดรูปแบบการผลิตและใช้พลังงานเช่นกัน

  • Solar + Energy Storage ด้วยต้นทุนแผงโซลาร์ที่ถูกลงมากผนวกกับการพัฒนาและผลิตแบตเตอรี่สำหรับกักเก็บพลังงานกันอย่างจริงจัง ทำให้เกิดความเชื่อมั่นในการบริหารจัดการพลังงานทดแทนได้อย่างมีเสถียรภาพมากขึ้น การผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์จึงเป็นทางเลือกของอุตสาหกรรมและแม้แต่บ้านเรือนที่อยู่อาศัย ซึ่งในอนาคตการซื้อขายไฟฟ้าอาจจะมีอิสระมากขึ้น โดยทุกคนมีฐานะเป็น Prosumer คือผลิตไฟใช้เอง และอาจจะสามารถขายกันระหว่างบุคคลได้อีกด้วย ระบบ Energy Storage มีรูปแบบอื่นๆ เช่น ระบบผสมผสาน Solar/Hydro ของประเทศไทย ระบบก๊าซชีวภาพที่มีใช้ในประเทศเยอรมนีหรือออสเตรเลีย
  • Electric Vehicles ด้วยการทำงานของยานยนต์ไฟฟ้าไม่มีการปลดปล่อยมลพิษ จึงมีข้อดีในการช่วยลดปัญหาหมอกควันพิษในเมืองใหญ่ซึ่งมีประชากรอยู่หนาแน่น ปัจจุบันในหลายประเทศมีการพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าให้สามารถตอบโจทย์ผู้บริโภคได้เหมือนยานยนต์ที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง เช่น เดินทางได้ระยะทางไกลขึ้นต่อการชาร์จ 1 ครั้ง ราคาขายที่ถูกลง และในส่วนของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ สถานีชาร์จประจุที่กระจายทั่วถึง ระบบหัวชาร์จประจุแบบเร็ว
  • Digitization and Energy Big Data การเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลพลังงานแบบดิจิทัลและอย่างถูกต้อง จะมีส่วนช่วยในการลดการใช้และเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานได้อย่างดี ข้อมูลจะสามารถนำมาใช้ในการบริหารจัดการการผลิตและใช้พลังงานได้อย่างสมดุล สามารถลดการสูญเสียพลังงานได้ นอกจากนี้ การใช้ AI เข้ามาช่วยจะก้าวข้ามขีดจำกัดในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล ทำนายแนวโน้มและเพิ่มศักยภาพของการควบคุมระบบพลังงานให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น เช่น Supply Chain Digitization จะทำให้สามารถรับทราบข้อมูลได้ตลอดกระบวนการและใช้ระบบอัตโนมัติจัดการได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ รวมทั้งลดต้นทุน AI ยังสามารถช่วยในการทำ Predictive Maintenance เพื่อลดการสูญเสียพลังงานและ
    การหยุดดำเนินการอย่างฉับพลันของอุตสาหกรรมการผลิต
  • Smart Grid/Micro Grid แนวคิดของระบบผลิตพลังงานขนาดเล็ก ทั้งการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ โรงไฟฟ้าชีวมวลระดับชุมชน จะถูกบริหารจัดการในภาพรวมด้วยเทคโนโลยี Grid ที่ชาญฉลาดและรองรับการเปลี่ยนแปลงได้ดี (Flexible Grid) และด้วย Blockchain Network ที่ทำให้ทุกคนสามารถซื้อขายพลังงานกับผู้ผลิตหรือระหว่างกันเอง ณ เวลาที่เหมาะสม
  • Smart City ด้วยการผลักดันของการพัฒนาเมืองอัจฉริยะซึ่งจะเป็นต้นแบบของการนำเทคโนโลยีดิจิทัล อินเทอร์เน็ตและ AI มาใช้ในการบริหารจัดการเมือง ทั้งทางด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม คุณภาพชีวิตความเป็นอยู่และอื่นๆ ซึ่งภาคเอกชนมีความตื่นตัวสูงในการพัฒนาและช่วยผลักดันอย่างมาก
  • โรงไฟฟ้าขยะ จะเป็นอีกหนึ่งแหล่งพลังงานที่เพิ่มมากขึ้น ด้วยความจำเป็นในด้านการจัดการขยะชุมชนทั้งขยะใหม่และขยะเก่าอย่างมีประสิทธิภาพ และไม่ก่อให้เกิดมลพิษ โรงไฟฟ้าขยะจึงเป็นทางเลือกที่ตอบโจทย์ ในขณะที่การบริหารจัดการอย่างเต็มรูปแบบตามแนวนโยบาย Circular Economy ต้องใช้เวลาในการพัฒนากว่าจะเป็นรูปธรรม

จึงไม่สามารถปฏิเสธได้เลยว่า เทคโนโลยีสมัยใหม่เหล่านี้ได้เริ่มเข้ามาทำให้อุตสาหกรรมต้องพัฒนาปรับตัวให้พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง เพราะจะเป็นปัจจัยต่อความสามารถในการแข่งขันสำหรับทั้งอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอุตสาหกรรมการผลิต นอกจากนี้ การเข้ามาของเทคโนโลยีต่างๆ ควรจะต้องศึกษาอย่างรอบคอบถึงผลกระทบในด้านอื่นในระยะยาว เช่น ความต้องการการใช้ไฟฟ้าโดยรวมที่อาจจะเพิ่มขึ้นเมื่อประยุกต์ใช้ระบบดิจิทัล ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมของการใช้ Solar PV

ข้อมูลที่คุณอาจสนใจ


Source: นิตยสาร Green Network ฉบับที่ 96 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2562 คอลัมน์ GREEN Article
โดย รศ. ดร.สุนีรัตน์ ฟูกุดะ ผู้อำนวยการบัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save