โอกาสและความท้าทาย การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานชีวมวลในประเทศไทย


เป็นที่ทราบกันดีว่า ประเทศไทยมิได้มีแหล่งพลังงานเชิงพาณิชย์ภายในประเทศมากพอที่จะรองรับความต้องการใช้ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ต้องพึ่งพาการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศมากถึงร้อยละ 60 ของความต้องการพลังงานเชิงพาณิชย์ทั้งหมด ดังนั้น เพื่อให้มั่นใจว่าในอนาคตประเทศไทยจะมีพลังงานใช้อย่างพอเพียง การพัฒนาพลังงานทดแทน จึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดเพื่อลดสัดส่วนการนำเข้าจากต่างประเทศ และเสริมสร้างเสถียรภาพด้านพลังงานของประเทศให้มีความมั่นคงมากขึ้น สอดคล้องกับแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (Alternative Energy Development Plan : AEDP 2015) ที่มุ่งส่งเสริมการผลิตพลังงานจากวัตถุดิบที่มีอยู่ภายในประเทศให้ได้เต็มศักยภาพ พร้อมทั้งพัฒนาศักยภาพการผลิตพลังงานทดแทนด้วยเทคโนโลยีที่มีความเหมาะสมเพื่อประโยชน์ร่วมในมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

ทั้งนี้ จากแผน AEDP 2015 ดังกล่าวได้ระบุเป้าหมายการผลิตไฟฟ้าพลังงานทดแทน พบว่า ก๊าซชีวมวลได้รับการจัดลำดับให้นำมาผลิตเป็นพลังงานทดแทนลำดับที่ 2 รองจากขยะ เนื่องจากมีต้นทุนการผลิตไฟฟ้าและมูลค่าผลประโยชน์เชิงสังคมและสิ่งแวดล้อมสูง โดยเป้าหมายของการผลิตไฟฟ้าจากชีวมวลตามแผน AEDP 2015 คือ เมื่อสิ้นสุดปีพ.ศ. 2579 จะต้องผลิตไฟฟ้าได้ 5,570 เมกะวัตต์ และผลิตความร้อน 22,100ktoe

มองโอกาสผลิตไฟฟ้าจากพลังงานชีวมวลในประเทศไทย

สำหรับประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศเกษตรกรรม มีผลผลิตทางการเกษตรเป็นจำนวนมาก เช่น ข้าว น้ำตาล ยางพารา น้ำมันปาล์ม และมันสำปะหลังเป็นต้น ผลผลิตส่วนหนึ่งส่งออกไปยังต่างประเทศมีมูลค่าปีละหลายพันล้านบาท  ขณะเดียวกันในการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรเหล่านี้จะมีวัสดุเหลือใช้ออกมาจำนวนหนึ่ง ซึ่งสามารถนำมาเป็นวัตถุดิบเพื่อผลิตพลังงานชีวมวลได้ แต่ก็ต้องยอมรับว่าปริมาณชีวมวลที่สามารถผลิตได้ภายในประเทศจะแปรผันตามปริมาณผลผลิตทางการเกษตรของประเทศ

อย่างไรก็ตาม ความต้องการใช้ชีวมวลเพื่อผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้ายังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอนาคตเนื่องจากชีวมวลมีราคาไม่แพงเมื่อเทียบกับเชื้อเพลิงสมัยใหม่ ในปริมาณความร้อนที่เท่ากัน และจากปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งทำให้เกิดการสะสม ของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ในบรรยากาศที่นำไปสู่การเกิดปฏิกิริยาเรือนกระจกและทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น ขณะที่การนำชีวมวลมาใช้เป็นพลังงานทดแทนในเชิงพาณิชย์ จะช่วยบรรเทาปัญหาการเพิ่มปริมาณ CO2ให้กับบรรยากาศ

ความท้าทายในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานชีวมวล

อย่างไรก็ตาม ความท้าทายในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานชีวมวลที่นักลงทุนและผู้ประกอบการจะต้องคำนึงถึงนอกจากชีวมวลบางชนิดมีการผลิตตามฤดูกาล และ/หรือมีเฉพาะบางภูมิภาคแล้วการนำชีวมวลมาใช้ผลิตพลังงาน ยังต้องต้องคำนึงถึงปัจจัยอื่นประกอบ ได้แก่ แหล่งชีวมวล ปริมาณรวมของชีวมวล และเทคโนโลยีการผลิตพลังงานจากชีวมวล เป็นต้น

ทั้งนี้ ต้องยอมรับว่าชีวมวลแต่ละชนิดมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันออกไปบางชนิดอาจไม่เหมาะที่จะนำมาเผาไหม้โดยตรงเพื่อผลิตไฟฟ้า เช่น กากมันสำปะหลังและส่าเหล้า เพราะมีความชื้นสูงถึง 80-90 % บางชนิดต้องนำมาย่อยก่อนนำไปเผาไหม้ เช่น เศษไม้ยางพารา เป็นต้นโดยชีวมวลเหล่านี้บางส่วนได้ถูกนำไปใช้เพื่อการผลิตอยู่แล้ว เช่น แกลบจะถูกนำมาเผา เพื่อผลิตไอน้ำ นำไปหมุนกังหันใช้งานในโรงสีข้าว กากอ้อยและกากปาล์ม จะถูกนำมาเผาเพื่อผลิตไอน้ำ และไฟฟ้าใชัในกระบวนการผลิต และเศษไม้ยางพาราจะถูกนำมาเผาเพื่อผลิตลมร้อนใช้ในการอบไม้ยางพารา เป็นต้น และยังมีชีวมวลส่วนเหลือ ที่มีศักยภาพสามารถนำมาผลิตไฟฟ้าได้ ดังนี้

จะเห็นได้ว่า แต่เชื่อว่าในอนาคตศักยภาพการผลิตชีวมวลในประเทศจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณผลผลิตทางการเกษตรที่ก่อให้เกิดชีวมวลมีแนวโน้มผลิตได้เพิ่มขึ้น เนื่องมาจากปัจจัยสำคัญหลายประการ เช่น การเพิ่มจำนวนพื้นที่เพาะปลูกและการพัฒนาเทคโนโลยีทางการเกษตร เป็นต้น ขณะเดียวกันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ประกอบกับการสนับสนุนจากภาครัฐ หลังจากการประกาศแผน AEDP 2015 ที่เดินหน้าพัฒนาพลังงานทดแทนอย่างจริงจัง ก็จะเป็นกลไกที่ขับเคลื่อนให้การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานชีวมวลมีอนาคตที่สดใสได้ในอนาคต

ข้อมูลที่คุณอาจสนใจ


Source: สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save