โรงไฟฟ้าชุมชน สวัสดิการแห่งรัฐ… รูปแบบใหม่


สิบกว่าปีมานี้ที่ประเทศไทยได้สนับสนุนให้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน โดยให้เหตุผลว่าเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงด้านไฟฟ้าในประเทศ ตลอดระยะเวลาอันยาวนานประเทศไทยก็ไม่เคยขาดแคลนไฟฟ้าเลย ในทางกลับกันกำลังไฟฟ้าที่สำรองไว้กลับเกินกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ 15% กว่าเท่าตัว ดังนั้นประโยชน์ของการเสริมพลังงานทดแทนอย่างมากมาย คงไม่ได้ช่วยด้านความมั่นคง แต่เป็นการเปิดประตูสู่ธุรกิจใหม่ด้านพลังงานเสริมสร้างความมั่นคงด้านเศรษฐกิจ ทำให้เกิดมหาเศรษฐีเพิ่มขึ้นในระดับประเทศและระดับโลกหลายท่าน อันเนื่องมาจากธุรกิจขายไฟฟ้าให้ภาครัฐแท้ที่จริงเป็นธุรกิจสัมปทาน ซื้อขายล่วงหน้ากันถึง 20 ปี และในหลายๆ ช่วงเวลาที่ผ่านมา รัฐก็ขาดประสบการณ์ เสียค่าโง่ ซื้อไฟฟ้าแพงเกินความจำเป็น

มาวันนี้ รัฐอยากจะแบ่งปันเศษสตางค์จากพลังงานทดแทนให้กับชุมชนที่มีฐานะยากจนกระจายอยูทั่วประเทศบ้าง กลับมีคำถามมากมาย แต่ไม่เคยมีใครถามว่า แท้จริงแล้วชุมชนต้องการอะไร และใครคือชุมชนเป้าหมายที่รัฐสมควรจะแบ่งปันให้

โรงไฟฟ้าชุมชนคืออะไร? และใคร คือชุมชนคนนั้น!

1. โรงไฟฟ้าชุมชน ควรเป็นโรงไฟฟ้าขนาดเล็กๆ ไม่เกิน 3 เมกะวัตต์ จะมีการขายไฟฟ้าให้ภาครัฐหรือใช้ไฟฟ้ากันเองในชุมชน ขึ้นอยู่กับสภาพของท้องถิ่นนั้นๆ ส่วนเชื้อเพลิง ควรหาได้ในชุมชนนั้นๆ หรือรอบบริเวณนั้น จะเป็นเศษเหลือทิ้งหรือวัสดุเหลือใช้จากภาคเกษตรหรืออุตสาหกรรมเกษตรในท้องถิ่นนั้นก็ได้ รวมถึงการปลูกพืชโตเร็วเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง

2. เทคโนโลยี การนำพลังงานธรรมชาติจากดวงอาทิตย์ที่สะสมไว้บนผิวโลกมาใช้ มี 2 วิธีง่ายๆ ก็คือ การหมักและการเผา ดังนั้นด้านเทคโนโลยีจึงควรเปิดกว้างไว้รองรับเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่าง Disruptive Technology ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีการหมักก๊าซ หรือการเผาตรง หรือเผาแบบควบคุมอากาศ ก็น่าจะใช้ได้ด้วยกันทั้งหมด แต่ควรคำนึงถึงด้านสิ่งแวดล้อมและงบประมาณที่เหมาะสม สิ่งที่ รัฐต้องกำหนด ไว้ในเงื่อนไขครั้งนี้ก็คือ เครื่องจักรและอุปกรณ์ต้องเป็นของใหม่ ไม่เคยใช้งานมาก่อนเท่านั้น จะได้ไม่มีโรงไฟฟ้าเล็กๆ ที่ใช้งานไม่ได้อันเนื่องจากใช้เครื่องจักรอุปกรณ์เก่ามากๆ กระจายอยู่ทั่วประเทศเหมือนในขณะนี้

3. เชื้อเพลิง ควรเป็นแบบหลากหลายเชื้อเพลิง (Multi-Feedstock) หรือที่ทางกระทรวงพลังงานมักใช้คำว่าไฮบริด คือใช้เชื้อเพลิงได้หลากหลาย เช่น ถ้าเป็นระบบการเผาให้ความร้อน นอกจากชีวมวลแล้ว ก็ยังสามารถใช้กับ RDF: Refuse Derived Fuel ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงที่คัดแยกจากบ่อฝังกลบในชุมชนนั้นๆ ในปริมาณที่เหมาะสม หากเป็นการหมักอาจใช้พืชพลังงาน เช่น หญ้าเนเปียร์ รวมทั้งขยะอินทรีย์หรือกากผลไม้จากเกษตรอุตสาหกรรม รวมทั้งนํ้าเสียชุมชน

โรงไฟฟ้าชุมชน

นอกจากไฮบริดเชื้อเพลิงแล้ว ในแต่ละโรงไฟฟ้าชุมชน ยังควรเปิดโอกาสให้เป็นไฮบริดด้านเทคโนโลยีอีกด้วย อาทิ มีการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อน ก็จะช่วยให้โรงไฟฟ้ามีประสิทธิภาพดีขึ้น

4. ใครคือชุมชน..ส้มหล่น..คนนั้น! อาจเป็นเกษตรกร ชาวไร่ ชาวนา คนหาเช้ากินคํ่าที่รวมตัวเป็นวิสาหกิจชุมชนหรือองค์กรอื่นๆ ตามกฎหมายจะเป็นสหกรณ์ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยหรือไม่ ก็ขึ้นอยูกั่บนโยบายรัฐในการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพราะนี่คือ สวัสดิการแห่งรัฐอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งเห็นเนื้อเห็นนํ้ามากกว่า “บัตรคนจน” อีกทั้งชุมชนที่ขยันก็ยังมีโอกาสเพิ่มรายได้จากการหาเชื้อเพลิงมาจำหน่ายให้กับโรงไฟฟ้าอีกด้วย

5. แนวทางการร่วมลงทุน โรงไฟฟ้าชุมชนนั้น ต่างจากโรงไฟฟ้าประชารัฐ คือ ภาครัฐไม่ต้องลงทุนด้วยงบประมาณใดๆ เนื่องจากภาคเอกชนพร้อมลงทุนทั้ง 100% จัดสรรหุ้นให้ชุมชนที่เข้าหลักเกณฑ์ถือหุ้น 30% โดยไม่ต้องชำระค่าหุ้นใดๆ หน้าที่ของภาครัฐ คือ จัดหาสายส่งและสัญญาขายไฟฟ้า (PPA) และอำนวยความสะดวกด้านกฎระเบียบ

ประโยชน์ที่ได้จากแนวคิดนี้ คือ

  • รัฐไม่ต้องลงทุนด้วยงบประมาณเป็นก้อน ซึ่งอาจมีการใช้จ่ายได้ไม่เต็ม ประสิทธิภาพเท่ากับภาคเอกชน
  • ทำให้เอกชนผู้ทุนต้องคำนึงถึงประสิทธิภาพของโรงไฟฟ้า เนื่องจากต้องนำรายได้จากการขายไฟฟ้าไปชำระคืนงบลงทุน และใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการซื้อเชื้อเพลิง รวมทั้งการเดินระบบในโรงไฟฟ้า (O&M)
  • เป็นการลดโอกาสการนำโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนไปขายเปลี่ยนมือทำกำไรเป็นทอดๆ

6. อัตรารับซื้อไฟฟ้า ควรเป็นแบบ FIT ระยะเวลาขายไฟฟ้า 20 ปี ราคารับซื้อไฟฟ้าไม่ควรตํ่ากว่าอัตราปกติของโรงไฟฟ้าที่เปิดดำเนินการแล้ว เพื่อให้โรงไฟฟ้าชุมชนไม่เสียเปรียบด้านต้นทุนราคาเชื้อเพลิง ซึ่งในอนาคตอาจมีการแข่งขันด้านราคาเชื้อเพลิงกันมากขึ้น โดยควรกำหนดให้โรงไฟฟ้าขนาดเล็กได้ราคาขายไฟฟ้าที่สูงกว่า ตัวอย่างเช่น โรงไฟฟ้าขนาด 1.5 เมกะวัตต์ สามารถขายไฟฟ้าได้ในราคาหน่วยละ 5.50 บาท ส่วนโรงไฟฟ้าขนาด 3 เมกะวัตต์ อาจขายไฟฟ้าได้เพียงหน่วยละ 4.50 บาท เป็นต้น

7. การพิจารณาคัดเลือกโครงการ ควรจะเปิดโอกาสให้ชุมชนที่มีความพร้อมมีส่วนร่วมในการคัดเลือกเอกชนที่สนใจลงทุนด้วย แทนที่ชุมชนจะถูกคลุมถุงชนเหมือนในอดีตที่ผ่านมา และที่สำคัญ คณะกรรมการคัดเลือกควรมาจากองค์กรที่เป็นกลางไม่มีส่วนได้เสีย และเปิดเผยวิธีคัดเลือก ไม่ควรผลักภาระให้ สกพ. (สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน) เนื่องจากทาง สกพ.มีบุคลากรน้อย จึงอาจพิจารณาโดยถือความครบถ้วนของเอกสารเป็นสำคัญ แต่สำหรับโรงไฟฟ้าชุมชนแล้วควรมุ่งเน้นไปที่โอกาสความสำเร็จของโครงการเป็นสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นเชื้อเพลิง เทคโนโลยี ความพร้อมในการลงทุน สำหรับเอกสารควรเป็นเพียงส่วนประกอบในการพิจารณา

ไม่ว่าโรงไฟฟ้าชุมชนของคนที่จนกระจายทั่วประเทศ จะได้รับการตัดสินใจทางการเมืองให้มีหน้าตาออกมาเป็น เช่นไรก็ตาม ผู้เขียนในฐานะภาคเอกชนคนหนึ่งขอเคารพการตัดสินใจนั้น หลังจากที่ได้พยายามสื่อสารทุกช่องทางให้ผู้มีอำนาจได้ทราบข้อมูล ด้วยการถอดบทเรียนในอดีตที่ล้มเหลว…เราคาดหวังให้โครงการดีๆ อย่างโรงไฟฟ้าชุมชน มาช่วยปูพื้นฐานเศรษฐกิจฐานรากในรูปแบบใหม่ เป็นต้นแบบของการแบ่งปัน ช่วยลดช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจน

ข้อมูลที่คุณอาจสนใจ


Source: นิตยสาร Green Network ฉบับที่ 95 กันยายน-ตุลาคม 2562 คอลัมน์ GREEN Focus โดย พิชัย ถิ่นสันติสุข


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save