Resource Recovery Plant – Waste to Energy Solutions ของสาธารณรัฐฟินแลนด์ และราชอาณาจักรสวีเดน


บทความครั้งนี้จะขอพูดถึง กรณีศึกษา Waste to Energy : Resource Recovery Plant ของสาธารณรัฐฟินแลนด์ ซึ่งเป็นประเทศที่มีการนำขยะอุตสาหกรรมไม่เป็นอันตรายกับขยะชุมชนที่ทำการคัดแยกและเผาไหม้ได้เข้าสู่กระบวนการเตรียมและแปรสภาพเป็นเชื้อเพลิงขยะ (Refuse Derived Fuel : RDF / Solid Recovered Fuel : SRF)

1. หลักการจัดการขยะตามลำดับขั้น (Waste Hierarchy)

ของสาธารณรัฐฟินแลนด์ จะแบ่งเป็น 5 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 การป้องกันไม่ให้เกิดขยะ
ขั้นตอนที่ 2 การนำไปใช้ซํ้า
ขั้นตอนที่ 3 การรีไซเคิล
ขั้นตอนที่ 4 การรีคัฟเวอรี่ ได้แก่ การนำก๊าซที่ได้จากกระบวนการหมักทางชีวภาพของขยะอินทรีย์หรือความร้อนทิ้งจากกระบวนการทางความร้อนเพื่อกำจัดขยะไปผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้า การผลิตน้ำมันจากกระบวนการไพโรไลซิสขยะพลาสติก
ขั้นตอนที่ 5 ขั้นตอนสุดท้าย เช่น นำไปฝังกลบ (Landfill) เตาเผาขยะ (Incineration)

ก่อนนำเข้ากระบวนการเผาที่ทำให้เกิดความร้านนำไปผลิตไอน้ำที่อุณหภูมิสูงและความดันสูง ไอนํ้าส่วนหนึ่งจะถูกส่งไปขับเคลื่อนกังหันไอนํ้า (Steam Turbine) ของเครื่องผลิตไฟฟ้า อีกส่วนหนึ่งส่งไปใช้ในการให้ความอบอุ่นแก่บ้านเรือน

ส่วนขี้เถ้าที่เกิดในกระบวนการจะนำไปถมใน Landfill ของโรงไฟฟ้า ไอเสียที่ออกจากเตาเผาไหม้จะถูกส่งไปดักจับมลพิษที่ระบบ Flue Gas Cleaning โดยประกอบไปด้วยระบบดักจับฝุ่นไฟฟ้าสถิต (Electrostatic Precipitator: ESP) ระบบบำบัดกึ่งแห้ง (Semi-Dry Gas Scrubber) ค่าการปลดปล่อยมลพิษของโรงไฟฟ้าจะถูกควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานกำหนด ก่อนปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศ

เทคโนโลยีของโรงไฟฟ้าพลังความร้อนที่ใช้ส่วนใหญ่มีทั้งแบบ Stoker Incineration แบบ Circulating Fluidized Bed Combustion โดยสามารถนำชีวมวลก๊าซชีวภาพ ก๊าซจากหลุมฝังกลบขยะ (Landfill Gas) ถ่านหิน PEAT มาใช้ร่วมในกระบวนการด้วย ทำให้สามารถกำจัดขยะและผลิตไฟฟ้าได้ในโครงการเดียวกัน

2. ปัจจัยสู่ความสำเร็จของการจัดการขยะ

จากสิ่งที่พบในเทคโนโลยีโรงแปรรูปขยะมูลฝอยเป็นเชื้อเพลิงเพื่อผลิตไฟฟ้า (RDF Power Plant) ของประเทศที่พัฒนาแล้ว สิ่งที่เรียกว่าพลังงานทางเลือกไม่ใช่การใช้พลังงานจากขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นจากกระบวนการเผา การบริหารจัดการขยะก่อนนำเข้าสู่กระบวนการของระบบแก๊สซิฟิเคชั่นและไพโรไลซิสต่างหากที่ได้รับการจัดให้เป็นพลังงานทางเลือก โดยคุณลักษณะของเชื้อเพลิงขยะและการขึ้นทะเบียนหน่วยตรวจสอบรับรองตามมาตรฐาน Solid Recovered Fuels-Specifications and Classes CEN/TS 15359 ในยุโรป จะกำหนดคุณลักษณะจากค่าความร้อน ปริมาณคลอรีน และปริมาณปรอท ตามตารางด้านล่าง

ตารางแสดงปริมาณคลอรีน และปริมาณปรอท
การกำหนดคุณลักษณะจากค่าความร้อน ปริมาณคลอรีน และปริมาณปรอท – ที่มา : http://www.wastesalchemy.com

การปลดปล่อยมลพิษของโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงขยะมีการควบคุมค่าการระบายสารมลพิษทางอากาศที่ปล่อยออกจากปล่องระบายมลพิษทางอากาศ ทั้งนี้ พารามิเตอร์ที่กำหนด ได้แก่ ฝุ่นละออง ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ก๊าซไฮโดรเจนคลอไรด์ ปริมาณอินทรีย์คาร์บอนทั้งหมด และไฮโดรฟลูออริก

3. การปรับใช้กับประเทศไทย

ในประเทศไทยที่ยังไม่มีการกำหนดคุณลักษณะของเชื้อเพลิงขยะและไม่มีกำหนดมาตรฐาน RDF/SRF โครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนที่ใช้ขยะมูลฝอยเป็นเชื้อเพลิง จะต้องมีการควบคุมค่าการระบายสารมลพิษทางอากาศที่ปล่อยออกจากปล่องระบายมลพิษทางอากาศของโครงการให้ไม่เกินค่ามาตรฐาน ควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียจากเตาเผามูลฝอยตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติโดยมีพารามิเตอร์ที่กำหนด ได้แก่ ฝุ่นละออง ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน ก๊าซไฮโดรเจนคลอไรด์ สารปรอท แคดเมียม ตะกั่ว ไดออกซิน/ฟิวแรน (Dioxin/Furan) และค่าความทึบแสง (Opacity)

นรินพร มาลาศรี
นรินพร มาลาศรี

ปัจจุบันประเทศไทยมีหน่วยงานที่รับผิดชอบและได้ดำเนินการเรื่องของการออกประกาศคุณลักษณะของเชื้อเพลิงขยะจากขยะอุตสาหกรรมและจากขยะชุมชน ตรงตามแนวทางการจัดการขยะและนโยบายของประเทศที่พัฒนาแล้วตามกรณีศึกษาข้างต้น แต่ประกาศยังไม่ได้มีผลใช้บังคับทางกฎหมายแต่อย่างใด ดังนั้น หากต้องการให้การจัดการขยะเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุดและเกิดผลสัมฤทธิ์อย่างยั่งยืน การเร่งผลักดันเรื่องการกำหนดมาตรฐานคุณสมบัติ สำหรับเชื้อเพลิงขยะเป็นสิ่งที่จำเป็นที่ภาคนโยบายควรให้ความสำคัญและดำเนินการให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็วต่อไป

*ผู้เขียนนำข้อมูล ความรู้ ประสบการณ์ จากการศึกษาดูงาน Municipal Solid Waste Management – Waste to Energy Solutions ของโครงการ EEP MEKONG ณ สาธารณรัฐฟินแลนด์และราชอาณาจักรสวีเดน ระหว่างวันที่ 8-16 กันยายน พ.ศ. 2561 มาเล่าสู่กันฟัง

 


Source: นิตยสาร Green Network ฉบับที่ 91 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2562 คอลัมน์ GREEN Focus
โดย นรินพร มาลาศรี ผู้ชำนาญการพิเศษฝ่ายแผนและกำกับการจัดหาพลังงานสำนักงาน กกพ.


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save