บริษัท เอสพีซีจี จำกัด (มหาชน) ได้ร่วมมือกับ PEA ENCOM ในการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาพื้นที่ EEC ให้เป็นพื้นที่ที่ใช้พลังงานสะอาด และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม สร้างสุขให้ทั้งนักลงทุน ผู้ประกอบการ ในพื้นที่ EEC และประชาชนที่อาศัยโดยรอบ คณะกรรมการนโยบายภาคตะวันออด ได้มอบหมายให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) รับผิดชอบในการจัดหาพลังงานให้เพียงพอกับความต้องการ และทันการเจริญเติบโตของพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และให้จัดหาไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นพลังงานสะอาด เพื่อใช้ในพื้นที่ EEC โดย PEA ได้มอบหมายให้บริษัท พีอีเอ เอ็นคอม อินเตอร์เนชั่นแนล ดำเนินการ
ดร. วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ กล่าวว่า SPCG มีความภาคภูมิใจในการร่วมมือกับ PEA ENCOM ในการที่จะลงทุนโครงการพลังงานไฟฟ้า (แสงอาทิตย์) ใน EEC ให้เป็นพื้นที่สะอาดต้นแบบ หรือโมเดลใหม่ของประเทศไทยเป็นพื้นที่ชั้นนำของโลกในการใช้พลังงานสะอาดจากพลังงานแสงอาทิตย์ ภายใต้แนวคิด Low Carbon Society และพื้นที่สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ (Smart Environment) ซึ่งตอบโจทย์และมีความเหมาะสมที่สุดในพื้นที่ EEC อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ทั้งนี้ การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ จะเป็นการช่วยลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและลดการเกิดปัญหามลพิษทางอากาศ นี้เป็นการสอดคล้องตามแผนการพัฒนาสิ่งแวดล้อมในการพัฒนาพื้นที่ EEC ที่มีการกำหนดว่าการพัฒนาพื้นที่ EEC จะต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในระดับนานาชาติ เพื่อเป็นการนำไปสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน และขับเคลื่อนให้พื้นที่ EEC เป็นสังคมคาร์บอนต่ำ
นายเขมรัตน์ ศาสตร์ปรีชา รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท พีอีเอ เอ็นคอม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด หรือ PEA ENCOM กล่าวว่า โครงการนี้จะช่วยให้เกิดการจ้างงานกว่า 50,000 คนในช่วงของการพัฒนาโครงการ และการใช้พลังงานใน 3 จังหวัดนี้ ได้กำหนดสัดส่วนให้การใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลต่อพลังงานแสงอาทิตย์ในการผลิตไฟฟ้าจะอยู่ที่ร้อยละ 70:30 นั้นคือ การใช้พลังงานสะอาดจากพลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานอื่น ๆ ที่จะตามมาในอนาคต จะเพิ่มขึ้นและเพียงพอต่อความต้องการในการใช้พลังงานในพื้นที่ EEC
ดังนั้น การพัฒนาพื้นที่ EEC จะเป็นการยกระดับเศรษฐกิจประเทศไทยและยังเป็นการใช้พลังงานสะอาดเพื่อเป็นการสร้างพื้นที่ที่มีคาร์บอนต่ำ นี้จะเป็นการยกระดับมาตรฐานการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม การดูแลสังคมและสภาพความเป็นอยู่ของประชาชน ชุมชน และสาธารณูปโภคโภคของสังคม รวมถึงยังช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ได้ไม่น้อยกว่า 11 ล้าตันคาร์บอน ภายในระยะเวลา 30 ปี หรือประมาณ 4 แสนตันคาร์บอนต่อปี