กบอ.ประชุมพิจารณาร่างแผนปฏิบัติการโครงสร้างพื้นฐาน EEC เพื่อเปิดประตูการค้า และการลงทุนเสริมสร้างศักยภาพของประเทศไทย


ที่ประชุมคณะอนุกรรมการบริหารการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กบอ.) ประชุมพิจารณาร่างแผนปฏิบัติการโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) พ.ศ. 2566-2570 เพื่อเปิดประตูการค้า และการลงทุน เชื่อมต่อระบบขนส่งทั้งระบบราง ทางน้ำ อากาศ สู่เมืองใหม่ แหล่งท่องเที่ยวและภูมิภาค เสริมศักยภาพการแข่งขันของประเทศไทย

คณิศ แสงสุพรรณ

คณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะอนุกรรมการบริหารการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กบอ.) ครั้งที่ 7/2564 เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมา ซึ่งมี สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานการประชุม ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ว่า ที่ประชุมได้เห็นชอบ (ร่าง) แผนปฏิบัติการโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) พ.ศ. 2566-2570 ซึ่งจะสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 มีเป้าหมายให้ไทยก้าวสู่ประตูการค้า การลงทุน ศูนย์กลางคมนาคมโลจิสติกส์ของภูมิภาค เน้นสร้างความร่วมมือกลุ่มประเทศ CLMVT และจีนตอนใต้ รวมทั้งรองรับการเติบโตของ EEC ในอนาคต เชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานทางราง ทางน้ำ เชื่อมต่อขนส่งสาธารณะระบบรางจากสถานีรถไฟความเร็วสูง สนามบินอู่ตะเภาฯ เชื่อมกับเมืองใหม่ และแหล่งท่องเที่ยว เพิ่มความสะดวกสบายให้ประชาชนในการเดินทาง เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันให้ภาคอุตสาหกรรม

โดยมีกรอบการพัฒนา ได้แก่ 1.พัฒนาและส่งเสริมการขนส่งสินค้าระบบรางและทางน้ำเป็นระบบหลัก 2.ส่งเสริมการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ 3.เชื่อมต่อโครงข่ายถนน ปรับปรุงช่วงถนนคอขวดแก้ปัญหาจราจรหลักในอีอีซี 4. พัฒนาโครงข่ายคมนาคมเชื่อมต่อพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ นิคมอุตสาหกรรม เมืองที่จะพัฒนาในอนาคต และ 5.ใช้เทคโนโลยีและระบบอัจฉริยะจัดการจราจรและการขนส่ง ซึ่งจะดำเนินการภายใต้ยุทธศาสตร์ เพิ่มขีดความสามารถระบบรางและทางน้ำ เชื่อมต่อการขนส่งรูปแบบอื่น เพื่อลดต้นทุนการขนส่งสินค้า ยกระดับโครงข่ายคมนาคมรองรับการเดินทางของประชาชนอย่างไร้รอยต่อ เพิ่มสัดส่วนการเดินทางระบบสาธารณะ ส่งเสริมท่องเที่ยวทางรางและทางน้ำเข้าถึงพื้นที่หลักในEEC และยกระดับโครงข่ายคมนาคมด้วยมาตรการเชิงรุกและเทคโนโลยีสมัยใหม่

ข่าว EEC

โดยระหว่างปี พ.ศ. 2566-2570 ช่วงการก่อสร้างจะเกิดการจ้างงานประมาณ 20,000 ตำแหน่ง/ปี และปี พ.ศ. 2571-2580 ประมาณ 12,000 ตำแหน่ง/ปี เดินทางสะดวกรวดเร็วขึ้น ลดความสูญเสียจากความล่าช้าการเดินทางประมาณ 10.75 ล้านบาท/วัน หรือ 3,900 ล้าน/ปี ลดอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่ 5% (ความสูญเสียลดลง 100 ล้านบาท/ปี) ยกระดับชีวิตด้วยระบบขนส่งที่ทันสมัย เชื่อมการเดินทางแบบไร้รอยต่อ เดินทางจากกรุงเทพฯ ถึงระยองภายใน 1 ชั่วโมง ลดมลภาวะในสิ่งแวดล้อม ลดปัญหาการจราจร เพิ่มประสิทธิภาพถนนในพื้นที่ จากความเร็ว 65 กม./ชม. เป็น 70 กม./ชม. มีเส้นทางรถไฟทางคู่เพิ่มขึ้น 275 กม. ปรับปรุงการก่อสร้างถนนและขยายช่องทางมากถึง 25 เส้นทางภายในปี พ.ศ. 2570

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้รับทราบความสำเร็จ 4 โครงสร้างพื้นฐานหลัก ซึ่งเป็นโครงการร่วมลงทุุนรัฐ-เอกชน (PPP) ที่อีอีซีได้ผลักดันให้มีการเซ็นสัญญาครบทั้ง 4 โครงการ ประกอบด้วย โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน สนามบินอู่ตะเภา ท่าเรือมาบตาพุดและแหลมฉบัง มูลค่าลงทุนรวมสูงถึง 654,921 ล้้านบาท เป็นการลงทุุนภาคเอกชน 416,080 ล้านบาท (64%) ลงทุนภาครัฐ 238,841 ล้านบาท ( 36%) โดยภาคเอกชนจะให้ผลตอบแทนภาครัฐ 440,193 ล้านบาท และรัฐได้ผลตอบแทนสุุทธิ 210,352 ล้านบาท ถือเป็นประวัติศาสตร์ความสำเร็จครั้งสำคัญของประเทศและ EEC ที่ได้ยกระดับโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่

ขณะเดียวกันได้รับทราบความก้าวหน้าการพัฒนาเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) ใกล้เสร็จสมบูรณ์ และคาดว่าจะเปิดอย่างเป็นทางการในเดือนพฤศจิกายน 2565 เพื่อสนับสนุนการจัดประชุมผู้นำเอเปกที่ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพ ซึ่งจะเป็นการประกาศความพร้อมสนับสนุนการดึงดูดการลงทุนฐานนวัตกรรมขั้นสูง และจูงใจนักลงทุนทั่วโลกเข้าสู่พื้นที่ EEC รวมถึงศูนย์จีโนมิกส์ ที่ประชุม กบอ.รับทราบความก้าวหน้าโครงการพัฒนาศูนย์บริการทดสอบการแพทย์จีโนมิกส์ในพื้นที่ EEC ยกระดับให้ชุมชนเข้าถึงบริการสาธารณสุข และแผนการขับเคลื่อนการรักษาแบบการแพทย์แม่นยำ โดยเร่งส่งเสริมให้เกิดการลงทุนศูนย์บริการจีโนมิกส์ใน EEC และบริการที่เกี่ยวข้อง โดยปัจจุบันสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) และ สกพอ.ได้ลงนามในสัญญาจ้าง และสัญญาเช่าที่บริการถอดรหัสพันธุกรรม กับกิจการร่วมค้าไทยโอมิกส์ เพื่อถอดรหัสพันธุกรรมประชาชน 50,000 ราย ในระยะเวลา 5 ปี และจัดเก็บเป็นข้อมูลเพื่อการวินิจฉัยและเลือกการรักษาโรคที่ถูกต้องเป็นต้นแบบ


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save