กฟผ. ร่วมมือกับเภาคีครือข่ายสืบสานศาสตร์พระราชา พัฒนาชุมชนสู่เป้าหมายความยั่งยืน


กฟผ. รวมพลังภาคีเครือข่ายจัดงาน “สืบสานศาสตร์พระราชา รักษาพลังแผ่นดิน ต่อยอดภูมิปัญญาวิถีไทย” เนื่องในวันดินโลก แสดงพลังแห่งความร่วมมือและเจตนารมณ์ในกรน้อมนำและสืบสานศาสตร์พระราชาฯ เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาให้กับชุมชน ร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก สร้างความมั่นคงทางอาหาร น้ำ และพลังงานเตรียมรับมือวิกฤตของโลกในอนาคต

ชำนาญ ชื่นตา รองผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี เป็นประธานในพิธีเปิดงาน “สืบสานศาสตร์พระราชา รักษาพลังแผ่นดิน ต่อยอดภูมิปัญญาวิถีไทย” โดยมี ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผู้ก่อตั้งเครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ ดร.จิราพร ศิริคำ รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) พร้อมด้วยภาคีเครือข่ายขับเคลื่อนสืบสานศาสตร์พระราชาเศรษฐกิจพอเพียงสู่เป้าหมายความยั่งยืนโลก ได้แก่ กรมการพัฒนาชุมชน สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มูลนิธิรักษ์ดินรักษ์น้ำ Earth Safe Foundation ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และบริษัท เอามื้อสามัคคีวิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด ได้ร่วมกันประกาศเจตนารมณ์ “สืบสานศาสตร์พระราชา เนื่องในวันดินโลก” สะท้อนพลัง แห่งความร่วมมือในการน้อมนำและสืบสานศาสตร์พระราชาฯ เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาให้กับชุมชนเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร น้ำ และพลังงาน ณ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เขื่อนวชิราลงกรณ จังหวัดกาญจนบุรี

ชำนาญ ชื่นตา รองผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี กล่าวว่า กิจกรรมสืบสานตาสตร์พระราชา รักษาพลังแผ่นดิน ต่อยอดภูมิปัญญาวิถีไทย ถือเป็นอีกก้าวสำคัญที่แสดงถึงความร่วมมือของภาคส่วนต่าง ๆ ในการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน น้อมนำศาสตร์พระราชาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาวิกฤตต่าง ๆ โดยมีชุมชนเป็นศูนย์กลาง ทั้งการอนุรักษ์ป่า พื้นฟูดิน และพัฒนาแหล่งน้ำ อีกทั้งยังมีศูนย์ศึกษาและพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของ กฟผ. ซึ่งถือเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนด้านเกษตรทฤษฎีใหม่ในรูปแบบ “โคก หนอง นา โมเดล ” ทำให้เกิดการบูรณาการองค์ความรู้ ร่วมกันแก้ปัญหา ลงมือทำ และนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของชุมชนในจังหวัดกาญจนบุรีอย่างยั่งยืน

ดร.จิราพร ศิริคำ รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์ กฟผ. เปิดเผยว่า กฟผ. ให้ความสำคัญกับการดูแลชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมเดินหน้าขับเคลื่อนพัฒนาฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ลุ่มน้ำที่มีความสัมพันธ์กับ 7 เขื่อนพระนาม 3 โรงไฟฟ้า ได้แก่ ลุ่มน้ำปิง ลุ่มน้ำน่าน ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ลุ่มน้ำแม่กลอง ลุ่มน้ำบางปะกง ลุ่มน้ำชี และลุ่มน้ำมูล โดยน้อมนำศาสตร์พระราชาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการดำเนินงานและขับเคลื่อนอย่างเป็นระบบตั้งแต่ระดับพื้นที่สู่ระดับลุ่มน้ำและระดับประเทศ กฟผ. จึงจัดตั้งศูนย์ศึกษาและพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (7 เขื่อนพระนาม 3 โรงไฟฟ้า) เพื่อพัฒนาคนตั้งแต่ในระดับพื้นที่ และเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนเกี่ยวกับเกษตรทฤษฎีใหม่ “โคก หนอง นา โมเดล” สร้างความเข้าใจในการประยุกต์ใช้ศาสตร์พระราชาแก้ปัญหาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม อันนำมาสู่การพื้นฟูดิน น้ำ และผืนป่า ต่อยอดด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น ขับเคลื่อนด้วยวัตกรรมพลังงาน เพื่อกับให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเอง ตลอดจนฟื้นฟูเศษฐกิจฐานราก สร้างความมั่นคงทางอาหาร น้ำ และพลังงานอย่างยั่งยืน

ศูนย์ศึกษาและพัฒนาฯ เขื่อนวชิราลงกรณ กฟผ. เริ่มจัดอบรมหลักสูตรการพัฒนากสิกรรมสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียง ให้แก่ประชาชนที่สนใจ เกษตรกร ภาคีเครือข่าย และหน่วยงานต่าง ๆ ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2564 โดยแบ่งฐานออกเป็น 9 ฐานหลัก ได้แก่

  • ฐานคนรักษ์สุขภาพ เรียนรู้สรรพคุณของพืชสมุนไพร อาทิ ฝาง อัญชัญ และกิจกรรมสปาใบหน้า มือและเท้า
  • ฐานคนมีน้ำยา เรียนรู้วิธีการทำน้ำยาเอนกประสงค์จากจุลินทรีย์เพื่อลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน
  • ฐานคนรักษ์แม่ธรณี เรียนรู้เกี่ยวกับการทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพจากแนวคิด “เลี้ยงดิน ให้ดินเลี้ยงพืช” และ น้ำหมัก 7 รส
  • ฐานไม้ผลท้องถิ่น จัดแสดงการปลูกไม้ผลท้องถิ่นของอำเภอทองผาภูมิ อาทิ เงาะทองผาภูมิซึ่งมีเอกลักษณ์ ลูกกลมเล็ก เนื้อแห้ง รสชาติหวานอร่อย ทุเรียนก้านยาวทรงหวดทองผาภูมิ ซึ่งมีรสชาติหวานมัน มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว และเมล็ดเล็ก
  • ฐานคนรักษ์แม่โพสพ เรียนรู้การการปลูกข้าวนาดอน เป็นข้าวพื้นเมืองพันธุ์ชอคาและแยแหของกลุ่มกสิกรรม ธรรมชาติบ้านปีล็อกคี่ รวมถึงปลูกข้าวนาลุ่มเป็นข้าวพันธุ์ กข.41 ที่นิยมปลูกในเขตภาคกลาง
  • ฐานคนรักษ์น้ำ เรียนรู้การจัดการและอนุรักษ์น้ำโดยหลักธรรมชาติ อาทิ การขุดคลองไส้ไก่ การทำฝ่ายน้ำลัน และฝ่ายถาวร พร้อมปล่อยพันธุ์ปลาหลากชนิดกว่า 4,877 ตัว
  • ฐานคนมีไฟ เรียนรู้เกี่ยวกับโซลาร์เซลล์ พร้อมถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชนในการเลือกใช้งานอย่างเหมาะสม
  • ฐานคนเอาถ่าน เรียนรู้การทำถ่านธรรมชาติและประโยชน์ของน้ำส้มควันไม้ในการไล่แมลง
  • ฐานคนรักษ์ป่า เรียนรู้การปลูกป่า 3 อย่าง ประโยซน์ 4 อย่าง และการปลูกไม้ 5 ระดับ

ปัจจุบัน กฟผ. มีศูนย์ศึกษาและพัฒนาฯในพื้นที่ 7 เขื่อนพระนาม 3 โรงไฟฟ้า รวมทั้งสิ้น 10 แห่ง ได้แก่ เขื่อนวชิราลงกรณเขื่อนศรีนครินทร์ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนสิรินธร เขื่อนจุฬาภรณ์ เขื่อนอุบลรัตน์ โรงไฟฟ้าแม่เมาะ โรงไฟฟ้าบางปะกง และโรงไฟฟ้าวังน้อย


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save