กฟผ. ชูแผน “Triple S” สร้างสังคมปลอดคาร์บอนให้คนไทย พร้อมชวนปลูกป่าล้านไร่ไปด้วยกัน


การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ประกาศเป้าหมายมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (EGAT Carbon Neutrality) ลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ภายในปี ค.ศ. 2050 ผสานพลังพันธมิตรและเครือข่ายต่าง ๆ เดินหน้าโครงการปลูกป่าล้านไร่อย่างมีส่วนร่วม พร้อมแลกเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงานผ่านเวทีเสวนา สานใจปลูกป่าล้านไร่ โดยมีเป้าหมายปลูกป่าเฉลี่ยปีละ 1 แสนไร่ ทั้งป่าอนุรักษ์ ป่าชายเลน ป่าชุมชน และป่าเศรษฐกิจ คาดว่าจะสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้เฉลี่ย 1.2 ล้านตันต่อปี

การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่ทวีความรุนแรง ทำให้ทั่วโลกต้องเผชิญกับผลกระทบและภัยพิบัติทางธรรมชาติ ทำให้เป้าหมายของการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ (Carbon Neutrality) เข้มข้นมากขึ้นกว่าเดิม โดยประเทศไทยตั้งเป้าลดคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ภายในปี ค.ศ.2065 สร้างความตื่นตัวและความตระหนักให้แก่ทุกภาคส่วนร่วมลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อย่างเป็นรูปธรรม

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. เป็นอีกหนึ่งหน่วยงานที่ออกมาประกาศเป้าหมายมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (EGAT Carbon Neutrality) ลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ภายในปี ค.ศ.2050 เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาเรื่องนี้อย่างจริงจัง ภายใต้หลักการสร้างสมดุลระหว่างต้นทุนในการผลิตไฟฟ้า ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และความมั่นคงระบบไฟฟ้าของประเทศ ภายใต้กลยุทธ์ “Triple S” ประกอบด้วย

โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนสิรินธร
โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนสิรินธร

Sources Transformation : การจัดการตั้งแต่ต้นกำเนิด ด้วยการเพิ่มสัดส่วนการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนโดยเฉพาะโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำร่วมกับเขื่อนพลังน้ำและระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ การพัฒนาโครงข่ายไฟฟ้าให้มีความทันสมัย (Grid modernization) และการนำเทคโนโลยีทันสมัยและพลังงานทางเลือกมาใช้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้าในอนาคต

กฟผ. จับมือกับหน่วยงานในกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเดินหน้าโครงการปลูกป่าบล้านไร่
กฟผ. จับมือกับหน่วยงานในกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเดินหน้าโครงการปลูกป่าบล้านไร่

Sink Co-Creation : การเพิ่มปริมาณการดูดซับกักเก็บคาร์บอน อาทิ โครงการปลูกป่าล้านไร่อย่างมีส่วนร่วม การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์ และกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture Utilization and Storage : CCUS) เพื่อกักเก็บคาร์บอนปริมาณ 3.5 – 7 ล้านตัน ในปีพ.ศ. 2588

การส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า
การส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า

Support Measures Mechanism : กลไกการสนับสนุนโครงการชดเชยและหลีกเลี่ยงการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นรูปธรรม ได้แก่ การส่งเสริมให้เกิดการใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ อาทิ โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 การให้คำปรึกษาด้านพลังงาน การส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า โครงการห้องเรียนสีเขียวกว่า 400 โรงเรียนทั่วประเทศ

ทั้งนี้ การปลูกป่าถือเป็นอีกหนึ่งแนวทางสำคัญที่จะช่วยเพิ่มการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และทุกคนสามารถมีส่วนร่วมได้อย่างง่ายดาย กฟผ. จึงผสานพลังพันธมิตรและเครือข่ายต่าง ๆ เดินหน้าโครงการปลูกป่าล้านไร่อย่างมีส่วนร่วม พร้อมแลกเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงานผ่านเวทีเสวนา “สานใจปลูกป่าล้านไร่ : Lower – Carbon Future for All

เวทีเสวนา “สานใจปลูกป่าล้านไร่ : Lower – Carbon Future for All”
เวทีเสวนา “สานใจปลูกป่าล้านไร่ : Lower – Carbon Future for All”

ดร.จิราพร ศิริคำ รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์ กฟผ. เปิดเผยว่า โครงการปลูกป่าล้านไร่อย่างมีส่วนร่วม เป็นโครงการระยะยาว 10 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2565 – 2574 โดยมีเป้าหมายปลูกป่าเฉลี่ยปีละ 1 แสนไร่ ทั้งป่าอนุรักษ์ ป่าชายเลน ป่าชุมชน และป่าเศรษฐกิจ ซึ่งจะเริ่มนำร่องปลูกป่าชายเลนในจังหวัดชุมพรเป็นพื้นที่แรกจำนวน 10 ไร่ ภายในเดือนพฤศจิกายนนี้ ควบคู่กับการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของชุมชนร่วมกันดูแลป่าต่อเนื่องอีก 9 ปี คาดว่าจะสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้เฉลี่ย 1.2 ล้านตันต่อปี หรือประมาณ 23-24 ล้านตันตลอดโครงการ

ด้าน นายจีระศักดิ์ ชูความดี รองอธิบดีกรมป่าไม้ กล่าวถึงความพร้อมว่า กรมป่าไม้ได้จัดเตรียมพื้นที่สำหรับโครงการปลูกป่าล้านไร่ไว้พร้อมแล้ว รวมถึงการออกระเบียบสำหรับหน่วยงานที่ต้องการยื่นเรื่องขอพัฒนาโครงการปลูกป่าเพื่อรับคาร์บอนเครดิต โครงการปลูกป่าล้านไร่จึงไม่เพียงช่วยสนับสนุนการปลูกป่า แต่ยังเพิ่มช่องทางสร้างรายได้ให้กับคนในพื้นที่ เช่น การเพาะกล้าไม้ขาย การจ้างแรงงานในพื้นที่

เช่นเดียวกับ นายอภิชัย เอกวนากุล รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ที่ระบุว่า ทาง ทช. มีความพร้อมทั้งในส่วนของพื้นที่สำหรับองค์กรต่าง ๆ ที่สนใจปลูกป่าชายเลน เนื่องจากป่าชายเลนมีประโยชน์สามารถช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากกว่าป่าบกถึง 3 เท่า รวมถึงการออกระเบียบรองรับโครงการปลูกป่าเพื่อรับคาร์บอนเครดิตเรียบร้อยแล้วเช่นกัน พร้อมเสนอแนวทางเพิ่มเติมเกี่ยวกับการส่งเสริมอาชีพให้กับชุมชนเพื่อให้คนสามารถอยู่ร่วมกับป่าได้อย่างยั่งยืน โดยไม่กระทบกับสภาพป่าและอยู่ในกรอบของกฎหมาย

ส่วน นายประกิต วงศ์ศรีวัฒนกุล รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมอุทยานฯ มีเป้าหมายเพิ่มพื้นที่ป่าอนุรักษ์ให้ได้ร้อยละ 25 ของพื้นที่ประเทศภายในปี พ.ศ.2569 ซึ่งความร่วมมือในโครงการปลูกป่าล้านไร่อย่างมีส่วนร่วม จะเป็นอีกแรงขับเคลื่อนในการเพิ่มพื้นที่ป่าให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น สร้างความสมดุลให้กับระบบนิเวศและนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

วันนี้ความพยายามในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มิใช่เพื่อการสร้างภาพลักษณ์ แต่เป็นห้วงเวลาสำคัญที่ทุกคนต้องช่วยกันทุกวิถีทางเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้ได้อย่างจริงจัง เพื่อลดความสูญเสียและผลกระทบที่มิอาจประเมินค่าได้ในอนาคต โดยขอเชิญคนไทยทุกคนร่วมกันปลูกป่าเพียงคนละ 1 ต้นให้ครบล้านไร่ เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยสู่เป้าหมายสังคมปลอดคาร์บอนได้อย่างยั่งยืนตามเป้าหมายที่วางไว้


ที่มา: การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save