การส่งเสริมให้มีการติดตั้งโซลาร์รูฟ กับก้าวต่อไปของประเทศ


แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2561-2580 (เออีดีพี 2018) ภายใต้แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (พีดีพี 2018) มีการส่งเสริมพลังงานทดแทน โดยสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนต่อการใช้พลังงานขั้นสุดท้าย ในปลายแผน พ.ศ. 2580 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ตามแผนพีดีพี 2018 ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนในภาคการผลิตไฟฟ้า และภาคการผลิตความร้อน โดยมีโรงไฟฟ้าตามแผนเออีดีพี 2018 สำหรับพลังงานแสงอาทิตย์ (On-Grid) กำลังผลิตตามสัญญา 10,000 เมกะวัตต์ และโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์แบบทุ่นลอย 2,725 เมกะวัตต์ ทำให้แผนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่จะดำเนินการระหว่างปี พ.ศ. 2560-2580 ที่กำลังผลิตตามสัญญา (Contract Capacity) 12,725 เมกะวัตต์

ภาพการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศไทย

การส่งเสริมผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ (โซลาร์เซลล์) ในสัดส่วนมากที่สุด หรือเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 12,725 เมกะวัตต์ แบ่งเป็นโครงการโซลาร์รูฟท็อปภาคประชาชนที่เปิดรับซื้อปีละ 100 เมกะวัตต์ ต่อเนื่อง 10 ปี รวม 1,000 เมกะวัตต์ โครงการโซลาร์ฟาร์มแบบทุ่นลอยนํ้าร่วมกับพลังนํ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) อยู่ที่ 2,725 เมกะวัตต์ ส่วนที่เหลืออีก 9,000 เมกะวัตต์ ภายใต้โครงการโซลาร์ (On Grid) จะเปิดกว้างสำหรับโซลาร์เซลล์ในหลายรูปแบบ ซึ่งขึ้นอยู่กับนโยบายและพัฒนาการของเทคโนโลยีในอนาคตด้วย

ตัวแปรสำคัญที่นำมาใช้กับโครงการการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศไทยในระยะเวลา 10 ปี

วันนี้ หากจะพูดถึงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับบ้านอยู่อาศัย ก็หนีไม่พ้นที่ต้องคุยกันเรื่องของมิเตอร์ไฟฟ้าหรือเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าที่จะทำหน้าที่บันทึกข้อมูลไฟฟ้าที่เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าจ่ายกำลังไฟฟ้าที่ผลิตได้ออกมาเป็น kWh ซึ่งจะทำให้เราทราบว่าใน 1 วัน หรือ 1 เดือน สามารถผลิตไฟฟ้ารวมได้เท่าไร มิเตอร์ไฟฟ้านี้จะติดตั้งไว้ที่กล่องแสดงสภาวะของระบบ มิเตอร์ไฟฟ้าจะทำหน้าที่บันทึกข้อมูลที่ได้จากปริมาณการใช้ไฟฟ้าที่เหลือใช้ภายในบ้าน และที่ส่งขายผ่านระบบจำหน่ายของการไฟฟ้า ซึ่งข้อมูลที่มิเตอร์ไฟฟ้าจัดเก็บจะใช้ในการติดตาม ตรวจสอบ บันทึกข้อมูลไฟฟ้าที่ไหลเข้าและออก เพื่อการจัดการบัญชีการจ่ายเงินระหว่างการไฟฟ้าและลูกค้า

นอกจากนี้ ข้อมูลที่บันทึกไว้ยังสามารถนำมาวิเคราะห์และใช้ในการบริหารจัดการพลังงานได้อีกด้วย จากรูปแบบมาตรการสนับสนุนที่แตกต่างกัน อาทิ Net Metering, Net Billing, Self-Consumption Support Schemes มาตรการสนับสนุนการผลิตเองใช้เอง เป็นต้น จึงมีรูปแบบการติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้ากับระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่แตกต่างกันตามลักษณะรูปแบบมาตรการสนับสนุน รายละเอียดสามารถสรุปได้ ดังนี้

 

Single Phase Grid-Tied PV System - 2 Meters (1)
Single Phase Grid-Tied PV System – 2 Meters (1)

รูปแบบที่ 1 มิเตอร์หมายเลข 1 จะบันทึกหน่วยไฟฟ้า (kWh) ที่รับจากกริดหรือระบบการไฟฟ้า และมิเตอร์หมายเลข 2 จะบันทึกหน่วยไฟฟ้าที่จ่ายเข้าสู่ระบบการไฟฟ้า ซึ่งปริมาณไฟฟ้าที่สามารถผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ทั้งหมดจะจ่ายเข้าสู่ระบบการไฟฟ้า โดยนำไปใช้กับอัตรารับซื้อไฟฟ้า (Feed-in-Tariff : FiT)

 

Single Phase Grid-Tied PV System - Single Meter
Single Phase Grid-Tied PV System – Single Meter

รูปแบบที่ 2 เป็นลักษณะของ Net Metering โดยมิเตอร์สามารถเก็บข้อมูลหน่วยไฟฟ้าที่จ่ายเข้าสู่ระบบการไฟฟ้า และรับจากระบบการไฟฟ้า (Import-Export (Bi-Directional) Meter) โดยหักลบกลบหน่วยไฟฟ้าภายในหรือข้ามรอบบิล

 

Single Phase Grid-Tied PV System - 2 Meters (2)
Single Phase Grid-Tied PV System – 2 Meters (2)

รูปแบบที่ 3 คล้ายกับรูปแบบที่ 2 เป็นลักษณะของ Net Metering โดยมิเตอร์หมายเลข 2 สามารถเก็บข้อมูลหน่วยไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานแสงอาทิตย์ และมิเตอร์หมายเลข 1 เก็บข้อมูลหน่วยไฟฟ้าที่จ่ายเข้าสู่ระบบการไฟฟ้าและรับจากระบบการไฟฟ้า (Import-Export Meter)

 

Single Phase Grid-Tied PV Conf iguration for Large Systems
Single Phase Grid-Tied PV Conf iguration for Large Systems

รูปแบบที่ 4 เป็นลักษณะของ Metering สำหรับ 3 เฟส มิเตอร์หมายเลข 1 จะบันทึกหน่วยไฟฟ้า (kWh) ที่รับจากกริดหรือระบบการไฟฟ้า และมิเตอร์หมายเลข 2 จะบันทึกหน่วยไฟฟ้าที่จ่ายเข้าสู่ระบบการไฟฟ้า โดยนำไปใช้กับอัตรารับซื้อไฟฟ้า (Feed-in-Tariff : FiT)

พลังงานทดแทน พลังงานทางเลือก

ปัจจัยสู่ความสำเร็จ

ด้วยนโยบายรัฐบาลสนับสนุนให้ประชาชนเข้ามามีบทบาทและร่วมในการผลิตไฟฟ้าใช้เองและหากมีส่วนเกินสามารถจำหน่ายให้กับการไฟฟ้า ในรูปแบบของการผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา (Solar PV Rooftop) ซึ่งเชื่อมต่อกับระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย ในระบบจำหน่ายด้านแรงตํ่า 380/220 โวลต์ ผลจากการเชื่อมต่อระบบไฟฟ้าด้วยเซลล์พลังงานแสงอาทิตย์เข้ากับระบบจำหน่ายของการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายมีส่วนทำให้อุปกรณ์ในระบบจำหน่ายและคุณภาพไฟฟ้ากำลัง (Power Quality) ในระบบมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงไปทั้งในทิศทางที่ดีขึ้นหรือแย่ลงกว่าเดิม หากการไฟฟ้ามีการปรับปรุง พัฒนา หรือนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ร่วมกับการวางแผนพัฒนาระบบไฟฟ้าของตนเอง เพื่อลดผลกระทบทางเทคนิคต่อระบบไฟฟ้าและทางการเงิน (รายได้) ของการไฟฟ้า อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นสิ่งที่ภาคนโยบายควรนำไปบริหารจัดการทั้งทางเทคนิคและการกำหนดโครงสร้างค่าไฟฟ้าที่เหมาะสม ตามบริบทของการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมพลังงานที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลกก็ต้องรับมือกับการเปลี่ยนแปลงนี้เช่นกัน

ดังนั้นระบบข้อมูล Data Monitoring System จากมิเตอร์ไฟฟ้าหรือเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าจะเป็นกลไกสำคัญที่จะช่วยเก็บข้อมูลการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์จากทุกระบบที่เชื่อมต่อกับการไฟฟ้า ควบคู่ไปกับการออกนโยบายส่งเสริม เพื่อให้ กฟน. และ กฟภ. สามารถวางแผนปรับปรุงระบบจำหน่าย และเพื่อให้ สนพ. และ กฟผ. สามารถคาดการณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าและบริหารจัดการ System Load Curve ซึ่งจะนำไปสู่การวางแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า (Power Development Plan) ของประเทศไทย และการพัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid) ที่เหมาะสมต่อไปในอนาคตได้ โดยสามารถบูรณาการระหว่างการส่งเสริมพลังงานหมุนเวียนและการลงทุนปรับปรุงระบบไฟฟ้า จะทำให้การเพิ่มขึ้นของโซลาร์รูฟท็อปไม่เป็นภาระต่อระบบไฟฟ้าทั้งในด้านทรัพยากรบุคคลและเงินลงทุน และเป็นโครงข่ายไฟฟ้าที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสารมาบริหารจัดการควบคุม การผลิต ส่ง และจ่ายพลังงานไฟฟ้า สามารถรองรับการเชื่อมต่อระบบผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานทางเลือกสะอาด ที่กระจายอยู่ทั่วไปและระบบบริหารการใช้สินทรัพย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด


Source: นิตยสาร Green Network ฉบับที่ 94 กรกฎาคม-สิงหาคม 2562 คอลัมน์ GREEN Focus
โดย นรินพร มาลาศรี ผู้ชำนาญการพิเศษ ฝ่ายแผนและกำกับการจัดหาพลังงาน สำนักงาน กกพ.


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save