สวทช.พัฒนา “ปทุมมาห้วยสำราญ” สายพันธุ์ใหม่ พร้อมจับมือ จ.อุดรฯ สร้างมิติใหม่การท่องเที่ยวเชิงเกษตรบนฐานความรู้ด้าน ว.&ท.


จ.อุดรธานี : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับจังหวัดอุดรธานี และเครือข่ายพันธมิตร พัฒนาพื้นที่ชุมชนแปลงใหญ่ไม้ดอกไม้ประดับบ้านห้วยสำราญเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรแห่งใหม่ ชมความงามไม้ดอกได้ตลอดปี สร้างงานสร้างอาชีพให้ชุมชน พร้อมเปิดตัว “ปทุมมาห้วยสำราญ” ไม้ดอกหน้าฝนสายพันธุ์ใหม่ ภายในงาน “ปทุมมาเบ่งบาน เที่ยวห้วยสำราญสุขใจ” ซึ่งรวบรวมปทุมมาหลากสายพันธุ์ตั้งแต่ 11 กันยายนถึง 31 ตุลาคม ศกนี้

เปิดตัว “ปทุมมาห้วยสำราญ” ไม้ดอกหน้าฝนสายพันธุ์ใหม่

ภายในงาน ได้รับเกียรติจาก นิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี เป็นประธานในพิธีเปิดงาน โดยมี วิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) อาจารย์ลิขิต มณีสินธุ์ ห้างหุ้นส่วนจำกัดลัคกี้ซีดส์อโกร และ บุญแถม ยอดแก้ว ประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปลงใหญ่ไม้ดอกไม้ประดับบ้านห้วยสำราญ-ห้วยเจริญ ให้การต้อนรับ

วิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์

วิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า จากความร่วมมือระหว่าง สวทช. และจังหวัดอุดรธานี ในการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) ยกระดับประสิทธิภาพการผลิตสินค้าทางการเกษตรของจังหวัดอุดรธานี สอดคล้องกับแผน นโยบายและยุทธศาสตร์พัฒนาของจังหวัดที่จะยกระดับความเป็นเมืองท่องเที่ยวของจังหวัด สวทช. โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) จึงได้ร่วมกับจังหวัดอุดรธานี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ไม้ดอกไม้ประดับบ้านห้วยสำราญ-ห้วยเจริญ ต.หนองไฮ อ.เมืองอุดรธานี พัฒนาพื้นที่ของชุมชนให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตรแห่งใหม่ของจังหวัดอุดรธานี โดยนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาสนับสนุน

“กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ไม้ดอกไม้ประดับบ้านห้วยสำราญ-ห้วยเจริญ เป็นกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตไม้ดอกไม้ประดับกลุ่มใหญ่ของจังหวัดอุดรธานี และยังพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรในช่วงฤดูไม้ดอกผลิบาน เว้นแต่ในช่วงฤดูฝนที่ยังขาดพันธุ์ไม้ดอกที่หลากหลาย เพื่อส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวต่อเนื่องได้ตลอดทั้งปี สท. จึงได้ร่วมกับนักวิจัย สวทช. และผู้เชี่ยวชาญจากภาคเอกชนถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตปทุมมาให้กับกลุ่มฯ ทำให้สมาชิกกลุ่มฯ รู้จักไม้ดอกชนิดนี้มากขึ้น ทั้งสายพันธุ์ วิธีการปลูก การเก็บหัวพันธุ์จำหน่าย ตลอดจนการใช้ประโยชน์จากดอกปทุมมา” รองผู้อำนวยการ สวทช. กล่าว

ที่สำคัญ นักวิจัยจากศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) และห้างหุ้นส่วนจำกัด ลัคกี้ซีดส์ อโกร ยังได้ร่วมกันพัฒนาปรับปรุงพันธุ์ปทุมมาหลายสายพันธุ์ด้วยเทคโนโลยีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ภายใต้ “โครงการพัฒนาไม้ดอกสกุลขมิ้นเพื่อการค้าพันธุ์ใหม่” โดยหนึ่งในสายพันธุ์ที่พัฒนาขึ้นใหม่ได้มอบให้กลุ่มวิสาหกิจฯ แห่งนี้ พร้อมตั้งชื่อว่า “พันธุ์ห้วยสำราญ

ปทุมมาห้วยสำราญ

โดยปทุมมาเป็นไม้ดอกที่ผลิบานในช่วงฤดูฝน มีความเหมาะสมที่จะใช้ปลูกในพื้นที่ท่องเที่ยวได้ อีกทั้งยังเป็นไม้ดอกเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ สามารถปลูกเป็นไม้กระถาง ไม้ตัดดอกขายหรือจำหน่ายหัวพันธุ์ได้ ประเทศไทยมีมูลค่าการส่งออกหัวพันธุ์ไม่ต่ำกว่า 2 ล้านหัวต่อปี คิดเป็นมูลค่าประมาณ 8 ล้านบาทต่อปี (ข้อมูลเฉลี่ยปีพ.ศ.2559 – 2561)

สำหรับการพัฒนาพื้นที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตรแห่งใหม่นี้ยังได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ในการออกแบบพื้นที่ (Landscape) ให้มีรูปแบบที่เหมาะสมต่อการเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่สมบูรณ์แบบอีกด้วย

วิราภรณ์ กล่าวว่า จากการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีการผลิตปทุมมาให้กับกลุ่มเกษตรกร ซึ่งนอกจากจะได้รับความรู้และความเข้าใจการผลิตไม้ดอกชนิดนี้ที่สามารถปลูกจำหน่ายทั้งในรูปแบบตัดดอก ไม้กระถาง หรือจำหน่ายหัวพันธุ์แล้ว ยังเกิดกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงเกษตรในพื้นที่ในช่วงฤดูฝน สร้างรายได้ให้ชุมชน ซึ่งการจัดงาน “ปทุมมาเบ่งบาน เที่ยวห้วยสำราญสุขใจ” ระหว่างวันที่ 11 กันยายน-31 ตุลาคม 2563 จะเป็นมิติใหม่การท่องเที่ยวเชิงเกษตรบนฐานความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยผู้เข้าชมงานจะได้รับทั้งความรู้และชมความสวยงามของไม้ดอกปทุมมา

นิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร
นิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี กับปทุมมาสายพันธุ์ห้วยสำราญ

นิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี กล่าวว่า กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ไม้ดอกไม้ประดับบ้านห้วยสำราญ-ห้วยเจริญ เป็นกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตไม้ดอกไม้ประดับกลุ่มใหญ่ของจังหวัดอุดรธานี มีสมาชิก 104 ราย ปลูกไม้ดอกไม้ประดับหลากหลายพันธุ์ เช่น มะลิร้อยมาลัย เบญจมาศ ดาวเรือง ดอกพุด คัตเตอร์ กุหลาบร้อยมาลัย เป็นต้น โดย เกษตรกรมีทักษะการผลิตไม้ตัดดอกและต้องการไม้ดอกพันธุ์ใหม่ๆ ที่ปลูกในหน้าฝนได้และสามารถต่อยอดเพิ่มมูลค่าไม้ดอกไม้ประดับในรูปแบบอื่น

“การที่สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร สวทช. เข้ามาให้คำแนะนำ ทำให้เกษตรกรได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตปทุมมา ซึ่งเป็นไม้ดอกหน้าฝนที่คุ้นเคย แต่ยังขาดความรู้และความเข้าใจทั้งเรื่องสายพันธุ์ การปลูก การใช้ประโยชน์ ที่สำคัญช่วยเพิ่มชนิดไม้ดอกที่จะสร้างรายได้ให้สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจฯ และยังเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรของจังหวัด โดยที่ผ่านมากลุ่มฯ ได้เปิดให้ท่องเที่ยวชมแปลงไม้ดอกไม้ประดับฤดูหนาวในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ สร้างรายได้ให้ชุมชนได้กว่า 2 แสนบาท ซึ่งสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรเป็นอันดับรองจากมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง และกล้วยหอมสีทอง ทั้งนี้เกษตรกรต้องเรียนรู้ว่าบนพื้นที่กว่า 600 ไร่ ซึ่งถือว่ามีขนาดใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หลังจากปลูกพืขหน้าหนาวแล้ว จะสามารถปลูกดอกปทุมมาได้ทั้งหมดหรือไม่ เพื่อสร้างรายได้ให้ชุมชนเพิ่มขึ้นจากหลักแสนเป็นหลักล้านบาท

“การพัฒนาพื้นที่บ้านห้วยสำราญให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรได้ตลอดทั้งปี ยังได้รับความร่วมมือจากกรมชลประทานในการปรับปรุงและใช้พื้นที่โดยรอบ โดยปีนี้ทางจังหวัดได้ให้งบกรมชลประทาน 13 ล้านบาท และปีหน้า 15 บ้านบาท ซึ่งไม่เพียงจะช่วยเพิ่มช่องทางสร้างรายได้ให้เกษตรกรนอกเหนือจากปลูกไม้ดอกส่งขายอย่างเดียว หากยังยกระดับการผลิตสินค้าทางการเกษตรและความเป็นเมืองท่องเที่ยวของจังหวัดอีกด้วย” ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี กล่าว

ดร.ธราธร ทีรฆฐิติ
ดร.ธราธร ทีรฆฐิติ (ที่2จากขวา) นักวิจัยไบโอเทค สวทช.

ดร.ธราธร ทีรฆฐิติ นักวิจัยศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สวทช. กล่าวว่า ปทุมมาสายพันธุ์ห้วยสำราญ ซึ่งได้รับการพัฒนานี้โดยวิผธีการเพาะเลี่ยงเนื่อเยื่อและผสมพันธุ์ มีลักษณะเด่นของสายพันธุ์นี้คือ สีสดใส แตกกอดี เหมาะสำหรับเป็นทั้งไม้ตัดดอกไม้กระถางและไม้ประดับแปลง

ปัจจุบันตลาดไม้ดอกไม้ประดับแหล่งใหญ่ของโลกอยู่ที่ยุโรป โดยมีเนเธอร์แลนด์เป็นศูนย์กลางตลาดที่สำคัญ ปทุมมาของไทยเป็นที่รู้จักและได้รับความสนใจอย่างมาก ซึ่งที่ผ่านมาไทยได้พัฒนาและปรับปรุงสายพันธุ์ปทุมมาให้มีสีสัน รูปทรง และการใช้ประโยชน์ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด

ดร.ธราธร กล่าวว่า การใช้เทคโนโลยีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกับไม้ดอกปทุมมามีความสำคัญมากขึ้น เนื่องจากแนวโน้มตลาดยุโรปต้องการปทุมมาพันธุ์ใหม่ที่มีขนาดต้นเล็กลง เป็นทรงพุ่ม กอ และสามารถขยายพันธุ์ด้วยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ซึ่งทำได้โดยง่ายอาจจะทำในรูปแบบห้อง.Lab หรือในคอนโดมิเนียม โดยมีแสงแดด ซึ่งเป็นจุดแข็งของไทย ทำให้ได้ต้นพันธุ์สะอาด ตรงตามสายพันธุ์ และเพิ่มปริมาณต้นพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ไบโอเทคมีแนวคิดที่จดทะเบียนรับรองพันธุ์ดอกปทุมมาที่กระจัดกระจาย เพื่อบ่งชี้ถึงคุณลักษณะเด่นของแต่ละสายพันธุ์ และทราบถึงที่มาของผู้ที่ได้ปรับปรุงและพัฒนาแต่ละสายพันธุ์ โดยที่ทุกคนสามารถอ้างอิงและนำไปใช้ได้

ในปีนี้ไบโอเทคพัฒนาดอกปทุมมาพันธุ์ห้วยสำราญได้ 150 ต้น ส่วนปีหน้าคาดว่าจะขยายให้ได้ 5,000 ต้น นอกจากนี้ทีมวิจัยได้อยู่ในระหว่างพัฒนาดอกปทุมมา “พันธุ์ห้วยเจริญ” ซึ่งค่อนข้างจะอวบอิ่มกว่าพันธุ์ห้วยสำราญจึงขยายช้า คาดว่าน่าจะพัฒนาเสร็จสมบูรณ์และเปิดตัวได้ในปีหน้า

อาจารย์บรรจง สมบูรณ์ชัย

อาจารย์บรรจง สมบูรณ์ชัย อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวถึงการพัฒนาพื้นที่ห้วยสำราญ-ห้วยเจริญ ต.หนองไฮ อ.เมืองอุดรธานีให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรแห่งใหม่ว่าในพื้นที่ห้วยสำราญ-ห้วยเจริญมีต้นทุนทางทรัพยากรที่ดีมาก จึงได้จัดทำแผนแม่บท เพื่อรวบรวมพื้นที่ทางกายภาพ ต้นทุนแปลงไม้ดอก ขุมชนที่สำคัญมายาวนาน สิ่งอำนวยความสะดวก และการจัดพื้นที่ใช้สอย เพื่อให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรแห่งใหม่ของจังหวัดอุดรธานี

“หลักของการวางภูมิทัศน์ จะพิจารณาว่ามีดินและน้ำ ซึ่งพื้นที่ห้วยสำราญ-ห้วยเจริญมีทัศนียภาพดีมาก จึงมีแนวคิดที่จะทำเส้นทางดูไม้ดอกรอบบริเวณอ่างเก็บน้ำ รวมทั้งทำทางจักรยานแทนการเดินชม ซึ่งได้ไปดูภายในชุมชนมีล้อเกวียน และสร้าง Mascot น้องปทุมมา เพื่อสร้างเอกลักษณ์และการจดจำให้พื้นที่” อาจารย์บรรจง กล่าว

พื้นที่ชุมชนแปลงใหญ่ไม้ดอกไม้ประดับบ้านห้วยสำราญ


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save