สรรพสามิตจี้ ผู้รับสิทธิ์มาตรการภาษีสรรพสามิตรถยนต์ไฟฟ้า ต้องตั้งโรงงานแบตฯ ภายใน 5 ปี พร้อมออกมาตรการลดภาษีรถยนต์ลดฝุ่น PM 2.5


กรมสรรพสามิตเปิดเผยว่า ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่ได้รับการสนับสนุนด้านมาตรการภาษีสรรพสามิต จะต้องตั้งโรงงานผลิตแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศภายใน 5 ปี แต่หากไม่มีการตั้งโรงงานผลิตแบตเตอรี่ตามระยะเวลาที่กำหนด จะต้องจ่ายค่าปรับและเงินเพิ่มให้แก่รัฐตามที่กำหนดไว้

นายณัฐกร อุเทนสุต ผู้อำนวยการสำนักแผนภาษี กรมสรรพสามิต เผยว่าภายใน 5 ปีหลังจากผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่ได้รับการสนับสนุนมาตรการภาษีสรรพสามิตในการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าจากภาครัฐ จะต้องตั้งโรงงานผลิตแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศ หากไม่มีการตั้งโรงงานผลิตแบตเตอรี่ตามระยะเวลาที่กำหนด จะต้องจ่ายค่าปรับและเงินเพิ่มให้แก่รัฐตามที่กำหนดไว้

ทั้งนี้มาตรการภาษีสรรพสามิตที่ออกมาเป็นกรณีพิเศษที่ได้รับทั้งมาตรการส่งเสริมจากบีโอไอและมาตรการภาษีสรรพสามิตพิเศษที่ยังเว้นภาษีสรรพสามิตรถยนต์ไฟฟ้าจากเดิม 2% เหลือที่ 0% ตั้งแต่ปี 2563 ถึง 2565 เป็นระยะเวลา 3 ปี ซึ่งคณะกรรมการได้อนุมัติไปเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา มีเพื่อกระตุ้นให้ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าหันมาผลิตรถยนต์ไฟฟ้าให้เร็วขึ้น โดยเฉพาะการตั้งโรงงานผลิตแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศ ซึ่งเป็นหัวใจหลักของรถยนต์พลังงานไฟฟ้า นอกจากนี้ กรมสรรพสามิตจะพิจารณาจัดตั้งกองทุนแบตเตอรี่ที่จะเก็บค่าธรรมเนียมการใช้แบตเตอรี่ เพื่อจัดการกับภาระในการจัดการแบตเตอรี่ที่ใช้แล้ว เพื่อไม่ให้เกิดปัญหามลภาวะในภายหลัง

โดยในปัจจุบันรถยนต์ไฟฟ้าที่ผลิตได้ในประเทศ จะเป็นแบรนด์จากประเทศจีน คือยี่ห้อ FOMM ราคาคันละประมาณ 6-7 แสนบาท และยี่ห้อ BYD ราคาคันละประมาณหนึ่งล้านบาท ส่วนรถยนต์จากค่ายญี่ปุ่น ยี่ห้อ Nissan รุ่น Leaf อยู่ที่ราคาประมาณ 1.9 ล้านบาท

ลดภาษี รถกระบะ B20

นอกจากนี้ เผยถึงมติ ครม. ยังเห็นชอบให้ลดภาษีสรรพสามิตให้กับรถยนต์ที่สามารถช่วยลดฝุ่น PM 2.5 โดยลดภาษีรถยนต์กระบะปิกอัพ และรถยนต์กระบะ 4 ประตู ดับเบิ้ลแค็บ ที่สามารถใช้น้ำมันดีเซล B20 ได้ หรือรถที่มีค่า PM ไม่เกิน 0.005 กรัมต่อกิโลเมตร เป็นมาตรฐานยูโร 5 จะลดภาษีให้อีก 1-2% ซึ่งในปัจจุบันรถกระบะเสียภาษีประมาณ 2.5% หรือ 2% ภาษีจะลดลงประมาณเกือบ 1 หมื่นบาทต่อคัน ในขณะที่กระบะ 4 ประตูเสียภาษีประมาณ 10% เหลือ 9% ทำให้ภาษีลดลงประมาณ 1-2 หมื่นบาทต่อคัน

ปัจจุบันมีผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ 5 ยี่ห้อ ที่มีรถกระบะและรถยนต์กระบะ 4 ประตู ประมาณ 4-5 รุ่น ต่อยี่ห้อ ที่พร้อมจะใช้น้ำมันดีเซล B20 สามารถเปลี่ยนรถยนต์ ระบบฯ และสายต่างๆ ให้รองรับการใช้น้ำมันดีเซล B20 โดยคาดว่าจะเห็นรถยนต์กระบะ 20 คันแรกออกวางจำหน่ายได้ภายในปีนี้

ทั้งนี้จากการที่รัฐบาลกำหนดนโยบายการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 – PM10 ให้เป็นวาระแห่งชาติ และมีเป้าหมายให้รถยนต์ในประเทศใช้มาตรฐานยูโร 5 ซึ่งปล่อย PM ไม่เกิน 0.005 กรัมต่อกิโลเมตร ขณะที่ในปัจจุบันรถยนต์ในประเทศส่วนใหญ่ ยังคงเป็นมาตรฐานยูโร 4 ที่ปล่อย PM ที่ไม่เกิน 0.025 กรัมต่อกิโลเมตร โดยการปรับมาตรฐานเป็น ยูโร 5 จะต้องมีต้นทุนในการปรับเครื่องยนต์ ขณะที่การสนับสนุนการใช้น้ำมันดีเซล B20 นั้นทำได้ง่ายและรวดเร็วกว่า เพียงแค่ปรับระบบท่อให้ทนต่อการเป็นสนิม เนื่องจาก B20 มีความชื้นมากกว่า และปรับระบบคอมพิวเตอร์ของเครื่องยนต์เท่านั้น

มาตรการภาษีดังกล่าวจะจูงใจให้ผู้ผลิตหันมาปรับรถยนต์ เพื่อให้รองรับการใช้น้ำมันดีเซล B20 ทันที ซึ่งถือว่าเป็นมาตรการภาษีที่เพียงพอต่อการกระตุ้นแรงจูงใจ และเป็นภาษีที่ต่ำมาก ต่ำกว่านี้คือภาษีเป็น 0% โดยมาตรการดังกล่าวยังเป็นมาตรการถาวร ไม่ได้กำหนดระยะเวลาสิ้นสุด ซึ่งมาตรการที่ออกมาเป็นประโยชน์ทั้งผู้ผลิต ผู้ใช้รถยนต์ และเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน เพราะน้ำมันดีเซล B20 มีส่วนประกอบของน้ำมันไบโอดีเซล 20% (ผลผลิตจากเกษตรกรในประเทศ) และดีเซล 80% รวมถึงเป็นประโยชน์ต่อประชาชนทั่วไป เพราะช่วยลดปัญหามลภาวะได้ด้วย


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save