สภาวิศวกร จับมือ หน่วยงานภาคอสังหาริมทรัพย์ คมนาคม ก่อสร้าง ขนส่งทางราง และสิ่งแวดล้อม ร่วมมือแก้ภัยมลภาวะฝุ่นละอองขนาดเล็กในระยะยาว


สถานการณ์ฝุ่นละอองพิษขนาดเล็ก PM 2.5 กลายเป็นวิกฤติมลพิษทางอากาศที่ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของผู้คนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร นับตั้งแต่เมื่อปี 2562 กระทั่งในปัจจุบันนี้ และจากการรายงานขององค์การอนามัยโลก (WHO) ให้ข้อมูลว่า การได้รับฝุ่น PM 2.5 เข้าสู่ร่างกาย จะเป็นอันตรายต่อปอด และมีโอกาสเสี่ยงต่อการเสียชีวิต โดยเฉพาะกลุ่มเด็กเล็ก และผู้สูงอายุ

ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์
ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์

สภาวิศวกร ในฐานะเสาหลักของชาติด้านวิศวกรรม อีกทั้งเป็นองค์กรที่ทุ่มเททางด้านวิศวกรรมเพื่อทำให้คุณภาพชีวิตของคนไทยดีขึ้น ได้จัดงานแถลงข่าวเรื่อง “แนวทางการรับมือฝุ่น PM2.5 มหันตภัยร้ายปกคลุมน่านฟ้า กทม.” พร้อมจับมือทุกภาคส่วน อาทิ หน่วยงานภาคอสังหาริมทรัพย์ คมนาคม ก่อสร้าง ขนส่งทางราง และหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อม โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ นายกสภาวิศวกร รวมทั้ง ดร. ประเสริฐ ตปนียางกูร คณะอนุกรรมการประสานงานด้านภัยพิบัติ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ยุทธนา มหัจฉริยวงศ์ ประธานคณะทำงานศึกษาหาแนวทางป้องกัน/แก้ไขไฟป่าและฝุ่น PM 2.5 โดยได้ร่วมกันเสนอทางออกเพื่อรับมือฝุ่น PM 2.5 หลังพบสถานการณ์ฝุ่นรุนแรงต่อเนื่อง มีมาตรการ 8 ด้าน ดังนี้

  1. ติดตั้งระบบการแจ้งเตือนมลพิษในเมือง สถานการณ์ ฝุ่นละอองพิษขนาดเล็ก PM 2.5 ในกรุงเทพ แต่ละพื้นที่มีความหนาแน่นของฝุ่นที่แตกต่างกัน ในบางพื้นที่จะมีปริมาณความหนาแน่นของฝุ่นทะลุตั้งแต่ 20 – 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร สาเหตุหลักไม่ได้เกิดจากสภาพอากาศปิด แต่เกิดจากมลพิษอากาศที่ปล่อยควันเสียของเครื่องยนต์ดีเซล การก่อสร้าง และจากโรงงานอุตสาหกรรม ดังนั้น จึงควรติดตั้งระบบการแจ้งเตือนมลพิษในกรุงเทพ เพื่อแจ้งเตือนประชาชนที่ต้องเดินทางหรือต้องอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีปริมาณฝุ่นละอองพิษขนาดเล็ก PM 2.5 เกินเกณฑ์มาตราฐาน ซึ่งขณะนี้ มีการนำร่องติดตั้งสถานีตรวจวัดฝุ่น ณ สถานีพระจอมเกล้าลาดกระบัง และในอนาคตเตรียมขยายจุดติดตั้งเพิ่มขึ้น โดยสามารถต่อยอดผ่านการทำแผนที่ตรวจสอบบริเวณที่มีฝุ่นหนาแน่น เพื่อแจ้งเตือนประชาชนได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ เช่น ระบบการแจ้งเตือนมลพิษในประเทศเกาหลีใต้ จีน และสหรัฐอเมริกา
  2. ผลักดันแนวคิดในการพัฒนาภาษีฝุ่น หากประเทศไทยต้องการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 ในระยะยาว แนวทางหนึ่งคือ การจัดทำมาตรการทางภาษีบังคับใช้กับผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ โดยหากองค์กรใดมีการบริหารจัดการการก่อสร้างที่มีมาตรฐาน ลดปริมาณการเกิดฝุ่น จะสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ ขณะที่ผู้ประกอบการที่ไม่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม จะต้องเผชิญกับการเสียภาษีฝุ่น นอกจากนี้ ประเทศไทยควรมีการจัดเก็บภาษีสำหรับยานพาหนะที่ปล่อยควันดำสร้างปัญหามลพิษทางอากาศ โดยหากยานพาหนะมีสภาพเก่าจะต้องจ่ายภาษีเพิ่มขึ้น เพื่อนำภาษีเหล่านี้มาดูแลทางด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับสุขภาพของคนไทย
  3. พัฒนาแอพพลิเคชั่นแจ้งเตือนปริมาณฝุ่น (Smart Mobility) เมื่อโลกก้าวเข้าสู่ยุคดิทิจัล โดยเฉลี่ยแล้วประชากรไทยจะมีโทรศัพท์มือถือ 2 เครื่อง ถึงเวลาที่ประเทศไทยต้องใช้เทคโนโลยีมาบริหารจัดการ เมื่อเข้าบริเวณฝุ่น PM 2.5 การพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อแจ้งเตือนประชาชน เพื่อให้เข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลาและแบบเรียลไทม์ ตลอดจนเป็นแนวทางป้องกันให้ประชาชนสามารถเตรียมสวมหน้ากาก เมื่อจำเป็นต้องเข้าไปยังพื้นที่ที่มีปริมาณฝุ่นหนาแน่น และลดความเสี่ยงต่อสุขภาพของคนไทย
  4. กำหนดพื้นที่เสี่ยง (Risk Area) ซึ่งการเกิดฝุ่น PM2.5 ของประเทศไทยยังจะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในระยะยาวอย่างแน่นอน หากทุกภาคส่วนไม่มีแนวทางการแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งการกำหนดพื้นที่เสี่ยง ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งยวด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณป้ายรถเมล์ นับเป็นบริเวณที่มีปริมาณฝุ่นหนาแน่น แต่กลับไม่มีการให้ข้อมูลที่ถูกต้องกับประชาชน ซึ่งในปัจจุบันพื้นที่กรุงเทพฯ มีป้ายรถเมล์จำนวนถึง 5,000 ป้าย และมีป้ายรถเมล์ที่เสี่ยงต่ออันตรายสุขภาพถึง 1,000 ป้าย ดังนั้น ภาครัฐจึงควรลงทุนติดตั้งพัดลมบริเวณดังกล่าว เพื่อลดปริมาณฝุ่นสำหรับผู้ที่ต้องเดินทางโดยรถโดยสารสาธารณะ
  5. ชี้ฉีดน้ำจากที่สูงแก้ไม่ตรงจุด ทั้งนี้จากมาตรการการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ของกรุงเทพฯ ด้วยการฉีดน้ำล้างถนนและการติดสปิงเกอร์บนตึกสูงเพื่อพ่นละอองน้ำ ถือเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ตรงจุดและไม่เกิดประสิทธิภาพ เนื่องจากเมื่อละอองที่จับตัวกับฝุ่น PM 2.5 แห้งตัว ฝุ่นก็จะกลับมาฟุ้งกระจายเหมือนเดิม ดังนั้น ภาครัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงควรวิเคราะห์ถึงต้นเหตุของปัญหาและแนวทางแก้ไขที่เป็นรูปธรรมและยั่งยืน โดยที่ผ่านมา ต้นเหตุของการก่อฝุ่นโดยส่วนใหญ่ จะพบในบริเวณพื้นที่ก่อสร้าง ถนนที่มีการจราจรหนาแน่น ป้ายรถเมล์ ใต้สถานีรถไฟฟ้า เป็นต้น
  6. พัฒนาระบบ Big Data ประเทศไทยต้องพัฒนาระบบ Big Data เพื่อจัดเก็บข้อมูลและนำมาวิเคราะห์ รวมทั้งบริหารความเสี่ยงของพื้นที่ที่เป็นอันตราย เพื่อคาดการณ์และแจ้งเตือนความหนาแน่นของปริมาณฝุ่นที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น การแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 1 สัปดาห์ เพื่อเอื้อต่อประโยชน์ในการบริหารจัดการ การแจ้งปิดโรงเรียนเฉพาะแห่งที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงได้ดียิ่งขึ้น เพราะจากเหตุการณ์เมื่อปี 2562 ที่ผ่านมา ภาครัฐได้ดำเนินการสั่งให้โรงเรียนทั้งหมดในพื้นกรุงเทพฯ ปิดทำการเรียนการสอน ซึ่งแท้จริงแล้วในโรงเรียนในบางพื้นที่ไม่ได้ประสบปัญหาดังกล่าว
  7. เตือนภัยกลุ่มเสี่ยง (ฝุ่น PM 2.5) ภัยเงียบทำลายทรัพยากรมนุษย์ จากภาวะฝุ่น PM 2.5 ในปัจจุบันที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น ดังนั้น จึงควรมีมาตรการในการแจ้งเตือนภัยสำหรับกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเป็นอันตรายจากฝุ่น PM 2.5โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเด็กเล็ก กลุ่มผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ และผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคระบบทางเดินหายใจ โรคปอด โรคทางสมอง และโรคมะเร็ง ซึ่งนับเป็นการทำลายทรัพยากรมนุษย์ที่เป็นกำลังสำคัญของชาติในอนาคต
  8. ชงนโยบายแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน สภาวิศวกร ร่วมกับวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) ได้ผสานความร่วมมือในการลงพื้นที่ตรวจสอบและวัดปริมาณฝุ่น รวมทั้งจัดอบรมให้ความรู้ประชาชนให้มีองค์ความรู้เรื่องฝุ่นและการดูแลตัวเองในเบื้องต้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังมีการจัดประชุมระดมความคิดเห็นร่วมกับนักวิชาการ จากหน่วยงานภาครัฐ และภาคการศึกษา เพื่อวิเคราะห์และเสนอทางออกการแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ทั้งในระยะสั้น กลาง และระยะยาว ต่อรัฐบาล เพื่อนำไปพิจารณาและออกเป็นข้อบังคับใช้ในอนาคต ทั้งนี้ สภาวิศวกร พร้อมเป็นหน่วยงานในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม แก่หน่วยงานรัฐ เอกชน ภาคการศึกษา ตลอดจนประชาชนทั่วไปที่สนใจ

สภาวิศวกรจัดงานแถลงข่าวเรื่อง “แนวทางการรับมือฝุ่น PM 2.5 มหันตภัยร้ายปกคลุมน่านฟ้า กทม.”

ด้าน ดร.ประเสริฐ ตปนียางกูร เลขานุการสภาวิศกร กล่าวว่า ปัญหาฝุ่น PM 2.5 เกิดขึ้นมานานแล้วและไม่เพียงแค่ในประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นในทุกประเทศทั่วโลก เช่น ประเทศจีน อินเดีย สหรัฐอเมริกา ซึ่งฝุ่นดังกล่าวเป็นอันตรายสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี และผู้สูงอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป โดยเกณฑ์มาตรความปลอดภัยของประเทศไทย ปริมาณฝุ่น PM 2.5 อยู่ในระดับ 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งคุณภาพอากาศอยู่ในระดับปานกลาง แต่หากต้องการให้คุณภาพดีหรือดีมากนั้น จะต้องปรับค่าปริมาณฝุ่นให้เหลือ 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งจะสามารถลดอัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรของคนไทย 18,000 คน และกรณีที่สามารถลดปริมาณฝุ่นได้ถึงระดับ 12 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร จะช่วยลดอัตราการเสียชีวิตได้ถึง 15,000 คน

งานแถลงข่าวเรื่อง “แนวทางการรับมือฝุ่น PM2.5 มหันตภัยร้ายปกคลุมน่านฟ้า กทม.”

อย่างไรก็ตาม ปัญหาค่าฝุ่น PM 2.5 ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นวงกว้าง ดังนั้น หน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องให้ความสำคัญและถือเป็นมาตรการเร่งด่วนที่ควรเร่งดำเนินการปรับมาตรการระยะกลาง ผ่านการปรับมาตรฐานค่าฝุ่น PM 2.5 ให้ดีขึ้น โดยเฉลี่ยที่ 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก เพื่อยกระดับคุณภาพอากาศให้ดีขึ้นและปลอดภัย รวมทั้งจัดทำมาตรการควบคุมแหล่งกำเนิดมลพิษ โดยเริ่มต้นที่รถบรรทุก รถโดยสารสาธารณะเครื่องยนต์ดีเซล ที่มีอายุการใช้งาน 5 ปีขึ้นไป เพื่อปรับปรุงเครื่องยนต์ดีเซลให้ปล่อยมลพิษไม่เกินค่ามาตรฐาน และลดการปล่อยควันดำ เนื่องจากรถเหล่านี้เป็นสาเหตุหลักกว่าร้อยละ 70 ของการปล่อยฝุ่น PM 2.5 เพื่อเตรียมวางแผนสร้างมาตรการรองรับภัยฝุ่นละอองขนาดเล็กในระยะยาว ก็จะสามารถสร้างเกราะป้องกันสุขภาพของคนไทยหให้ยั่งยืนได้


Source: กองบรรณาธิการ


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save