ศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมแบตเตอรี่ล้ำสมัย ผลิตจากวัตถุดิบภายในประเทศ ลดพึ่งพาจากต่างประเทศ


แนวโน้มการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ ที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็น ทางด้านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ รถยนต์ไฟฟ้า ไปจนถึงระบบผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่ ล้วนต้องการเทคโนโลยีการกักเก็บพลังงานที่มีประสิทธิภาพสูง และมีอายุ การใช้งานอย่างยาวนาน แบตเตอรี่เป็นเทคโนโลยีการกักเก็บพลังงานประเภทหนึ่งที่เป็นที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายทั่วโลก ซึ่งในปัจจุบันส่วนใหญ่จะเป็น เทคโนโลยีที่อยู่บนฐานของวัสดุประเภทลิเธียม ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่มีอยู่จำกัดและต้องนำเข้าจากต่างประเทศ และเพื่อลดการนำเข้าจากต่างประเทศ จึงนำมาซึ่งการลงนามความร่วมมือโครงการจัดตั้งและดำเนินการ “ศูนย์ความเป็นเลิศ ด้านนวัตกรรมแบตเตอรี่ล้ำสมัย ที่ผลิตจากวัตถุดิบภายในประเทศเพื่อความ มั่นคง” โดยมี รศ. นพ.สรนิต ศิลธรรม ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานในการลงนาม พร้อมด้วย พล.อ.นภนต์ สร้างสมวงษ์ รองปลัดกระทรวงกลาโหม พล.ท.คงชีพ ตันตระวาณิชย์ ผู้แทนเจ้ากรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม กระทรวงกลาโหม ศ. ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

การจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านวัตกรรมแบตเตอรี่ล้ำสมัย ที่ผลิตจากวัตถุดิบภายในประเทศไทยเพื่อความมั่นคง มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์กลาง ในเครือข่ายงานวิจัยนวัตกรรมแบตเตอรี่ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน ซึ่งจะส่งผลให้การดำเนินงานด้านการวิจัยและพัฒนา วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้สามารถสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งเน้นการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรม เป็นกลไกสำคัญในการพัฒนา ประเทศ โดยเฉพาะการสนับสนุนอุตสาหกรรมความมั่นคงของประเทศให้สามารถ ผลิตได้เองเพื่อลดการพึ่งพาจากต่างประเทศ และสามารถพัฒนาต่อยอดเป็นอุตสาหกรรมส่งออกได้ต่อไป

นวัตกรรมแบตเตอรี่ล้ำสมัย

สำหรับศูนย์ดังกล่าวนี้จะเป็นหน่วยงานหลักในการวิจัยนวัตกรรม แบตเตอรี่ที่ผลิตจากวัตถุดิบภายในประเทศที่มีความปลอดภัยสูง ไม่เกิดการระเบิด ด้วยความเชี่ยวชาญของบุคลากรของทั้ง 3 หน่วยงาน ประกอบด้วย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สำนักงานพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม กระทรวงกลาโหม เพื่อร่วมกัน ทำงานวิจัยและพัฒนาทางด้านนวัตกรรมแบตเตอรี่กักเก็บพลังงานไฟฟ้า อีกทั้งการสร้างองค์ความรู้พื้นฐานและเชิงประยุกต์แบบสหสาขาวิชา (Multidisciplinary Basic/Applied Research) พร้อมผลักดันองค์ความรู้ เทคโนโลยี และผลงานวิจัยสู่ผู้ใช้ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมด้านนวัตกรรมแบตเตอรี่ที่ผลิตจากวัตถุดิบภายในประเทศ

นวัตกรรมแบตเตอรี่ล้ำสมัย

ทั้งนี้ จะมุ่งไปที่การบูรณาการองค์ความรู้ระหว่างหน่วยงานและร่วมกัน พัฒนาแบตเตอรี่ประเภทใหม่ แต่มีกระบวนการผลิตที่ใกล้เคียงกับการผลิต แบตเตอรี่ชนิดไอออนลิเธียมเดิม เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถนำเทคโนโลยี ที่พัฒนาขึ้นไปต่อยอดการผลิตในเชิงพาณิชย์ได้โดยง่าย ขณะเดียวกัน ยังสามารถ ใช้วัตถุดิบที่มีอยู่ในประเทศไทยได้ ซึ่งการลงนามครั้งนี้จะสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐด้านวิทยาศาสตร์และการวิจัย ภาคการศึกษา และภาคความมั่นคงภายในประเทศ ที่จะร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ และสามารถนำไปใช้พัฒนาประเทศในมิติต่างๆ ทางด้านระบบกักเก็บพลังงานเพื่อความมั่นคงของประเทศต่อไป


Source: นิตยสาร Green Network ฉบับที่ 98 มีนาคม-เมษายน 2563 คอลัมน์ ENERGY Saving โดย กองบรรณาธิการ


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save