ว่าด้วยเรื่องของ “Flexibility Options of Power Systems”


“ความยืดหยุ่นของระบบโครงข่ายไฟฟ้า”

การส่งเสริมระบบไฟฟ้าให้มีเสถียรภาพสามารถรองรับการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์และลมได้มากที่สุดและมีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งในปัจจุบันพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์กำลังเปลี่ยนสัดส่วนพลังงานทั่วโลกอย่างรวดเร็ว ดังนั้นจึงต้องการความยืดหยุ่นของระบบเพื่อที่จะบูรณาการในแบบที่ปลอดภัยและคุ้มค่าต่อราคา รวมทั้งเพื่อมุ่งเน้นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เป็นสาเหตุของปัญหาโลกร้อน การนำ 2 ประเด็นหลักมาบูรณาการกันจึงถือว่าเป็นการเปลี่ยนจาก “ความท้าทาย” มาเป็น “โอกาส”

การไฟฟ้าทั้ง 3 แห่งมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาและสร้างความยืดหยุ่นให้สามารถตอบสนองได้รวดเร็ว เพื่อรองรับการเข้ามาของพลังงานหมุนเวียนกับเชื้อเพลิงหลัก เพื่อเสริมความมั่นคงให้กับระบบไฟฟ้า ซึ่งระบบไฟฟ้าไทยในปัจจุบันเป็นระบบแบบรวมศูนย์ แต่ในอนาคตจะมีกระจายแหล่งผลิตไฟฟ้าและศูนย์ควบคุมระบบไฟฟ้าไปสู่ชุมชน รวมถึงมีสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) เพิ่มมากขึ้นด้วย ดังนั้นการเดินหน้าของอุตสาหกรรมไฟฟ้าในยุคเทคโนโลยีเปลี่ยนโลกต้องรองรับการเข้ามาของพลังงานหมุนเวียน คือการสร้างความยืดหยุ่นของระบบไฟฟ้า โดยโรงไฟฟ้าต้องมีความยืดหยุ่นสามารถเริ่มเดินเครื่องได้รวดเร็วส่วนในระบบส่งและจำหน่ายไฟฟ้าจะต้องพัฒนาสู่ระบบสมาร์ทกริด ทำงานผ่านรีโมตมอนิเตอร์สามารถเรียกดูข้อมูลและสั่งการจากศูนย์ควบคุม และพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าในอนาคตได้ ส่วนพลังงานหมุนเวียนที่ยังมีข้อจำกัดเรื่องความไม่เสถียรควรถูกพัฒนาในรูปแบบของการผสมผสานระหว่างพลังงานหมุนเวียนกับเชื้อเพลิงหลัก (RE Hybrid Firm) เพื่อลดความผันผวน สามารถผลิตไฟฟ้าได้อย่างมีเสถียรภาพมากขึ้น เช่น โซลาร์เซลล์กับโรงไฟฟ้าพลังน้ำ พลังงานลมกับเซลล์เชื้อเพลิง เชื้อเพลิงชีวมวลกับโซลาร์เซลล์ ซึ่งจะกลายเป็นทางเลือกสำคัญสำหรับการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนในอนาคต ควบคู่กับการพัฒนาระบบกักเก็บพลังงานเพื่อช่วยให้การจ่ายไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนมีเสถียรภาพ

VRE Share Globally

1. หลักการ 4 ด้าน เพื่อความยืดหยุ่นของระบบโครงข่ายไฟฟ้า

1.1 การเชื่อมโยงไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (Grid) เพื่อให้เกิดความมั่นคงและเสถียรภาพ
1.2 ด้านประสิทธิภาพและการอนุรักษ์พลังงาน (Demand Side Integration) เช่น การปรับพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้า การบริหารจัดการการใช้ไฟฟ้า การเปลี่ยนมาใช้อุปกรณ์ประสิทธิภาพสูง
1.3 ระบบกักเก็บพลังงาน (Storage) เช่น แบตเตอรี่กักเก็บพลังงาน
1.4 การสั่งเดินเครื่องโรงไฟฟ้า (Dispatchable Generation) การสร้างสมดุลของโรงไฟฟ้าพลังความร้อนที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล โรงไฟฟ้าพลังน้ำ

Power Systems

2. สาระสำคัญของการประชุม 37th SOME (ASEAN Senior Officials Meeting on Energy Meeting) และนโยบายรัฐบาล

2.1 “โครงการซื้อขายไฟฟ้า สปป.ลาว-ไทย-มาเลเซีย (LTM on Power Integration Project)” 300 เมกะวัตต์ เนื่องจากประเทศมาเลเซียมีความต้องการไฟฟ้าจาก สปป.ลาว มากขึ้น โดยไทยจะเป็นจุดเชื่อมต่อการซื้อขายไฟฟ้าระหว่าง 2 ประเทศ
2.2 การเพิ่มการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพของอาเซียนเพิ่มขึ้นให้ถึง 30% ในปี พ.ศ. 2573
2.3 การเชื่อมโยงไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนระหว่างประเทศอาเซียนให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยการเชื่อมโยงไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนให้เกิดการใช้อย่างมีประสิทธิภาพและการซื้อขายไฟฟ้าระหว่างกันมากขึ้นในอนาคต
2.4 มติ กพช. เห็นชอบนโยบายพลังงานเพื่อเศรษฐกิจฐานราก สนับสนุนให้เกิดการจัดตั้งโรงไฟฟ้าชุมชนทั่วประเทศในพื้นที่ที่มีศักยภาพด้านพืชพลังงานและพลังงานหมุนเวียนจากแสงอาทิตย์

โดยโครงการดังกล่าวที่เป็นผลจากการประชุม SOME และนโยบายของรัฐบาลจะเป็นสิ่งที่ช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดความยืดหยุ่นของระบบโครงข่ายไฟฟ้ารวมถึงทำให้นโยบายการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเกิดได้เร็วขึ้นและมากขึ้น จากเดิมที่มีนโยบายหยุดรับซื้อไฟฟ้าเนื่องจากปริมาณการผลิตไฟฟ้ามีเพิ่มขึ้นในอัตรามากกว่าความต้องการใช้ไฟฟ้า ทำให้สถานการณ์ไฟฟ้าในปัจจุบันอยู่ในภาวะ Oversupply โดยมีปริมาณสำรองไฟฟ้าอยู่สูงกว่า 30% (เทียบกบั ระดบั ปกติ 15%) แต่จะค่อยๆ ลดลงมาอยู่ที่ 15% ซึ่งเป็นระดับปกติภายหลังปี พ.ศ. 2569 เป็นต้นไป

3. โรงไฟฟ้าชุมชนของไทย

โครงสร้างการจัดตั้งโรงไฟฟ้าชุมชนจะมาจากความร่วมมือทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ เอกชน และชุมชน ตั้งบนพื้นที่ที่มีศักยภาพพลังงานหมุนเวียน ระบบไฟฟ้ารองรับได้ ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและกองทุนพัฒนาไฟฟ้า โดยราคารับซื้อไฟฟ้าจะกระทบต่อราคาค่าไฟฟ้าน้อยที่สุด ก่อให้เกิดการหมุนเวียนของเศรษฐกิจในชุมชน ซึ่งจะมีรูปแบบใกล้เคียงกับ Feldheim : Germany’s Renewable Village จะแตกต่างกันที่ค่าไฟฟ้าของที่นั่นจะเกิดขึ้นจากการตกลงร่วมกันระหว่างผู้ใช้พลังงานในท้องถิ่น เทศบาล และผู้ให้บริการสาธารณูปโภคท้องถิ่น

Demand-Side Integration - DSI

4. ปัจจัยสู่ความสำเร็จของการสร้างความยืดหยุ่นของระบบโครงข่ายไฟฟ้า

ความชัดเจนของนโยบายรัฐบาลที่จะส่งเสริมให้เกิดการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่กระจายแหล่งผลิตไฟฟ้าและศูนย์ควบคุมระบบไฟฟ้าไปสู่ชุมชน ทำให้การบริหารจัดการระบบไฟฟ้าและการจัดวางระบบโครงสร้างไฟฟ้าที่สามารถบริหารจัดการตามพื้นที่แบบแบ่งเป็น NODE ที่จะพัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้าไปสู่ระบบไมโครกริดและระบบสมาร์ทกริดของประเทศไทยต่อไป


Source: นิตยสาร Green Network ฉบับที่ 95 กันยายน-ตุลาคม 2562 คอลัมน์ GREEN Focus
โดย นรินพร มาลาศรี รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายบริหารบริษัท เอสพีซีจี จำกัด (มหาชน)


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save