“แผนพลังงานชาติ” กับการขับเคลื่อนอนาคตพลังงานไทยที่ยั่งยืน


ปัจจุบันเป็นยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และเทคโนโลยีสารสนเทศ อีกทั้ง ในหลาย ๆ ประเทศทั่วโลก ได้ให้ความสำคัญต่อประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่จะก่อให้เกิดผลกระทบในระยะยาวและต่อเนื่อง ซึ่งตามข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) ที่ต้องเร่งปรับเป้าหมายการลดการปล่อยคาร์บอนให้เป็นศูนย์เร็วขึ้น และจากกระแสการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ของโลกที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วนี้ ได้ส่งผลกระทบต่อการวางแผนด้านนโยบายพลังงานของประเทศไทย เนื่องจากพฤติกรรมของประชาชนทั้งผู้ผลิตและผู้ใช้พลังงานมีการเปลี่ยนแปลงไป ทั้งนี้ สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน ซึ่งเป็นหน่วยงานรับผิดชอบโดยตรง จึงได้วางแนวทางจัดทำ “แผนพลังงานชาติ (National Energy Plan) เพื่อการพัฒนาด้านพลังงานของประเทศไทยในอนาคต

“แผนพลังงานชาติ (National Energy Plan 2022)” จะมีอะไรบ้าง?

นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท

นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2563 มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) มอบหมายให้กระทรวงพลังงาน จัดทำแผนพลังงานชาติ (National Energy Plan) ให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลา 6 เดือน ซึ่งแผนฯ นี้จะเป็นการรวบรวมทั้ง 5 แผนพลังงานไว้ด้วยกัน ประกอบด้วย แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP) แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP) แผนอนุรักษ์พลังงาน (EEP) แผนบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ (Gas Plan) และแผนบริหารจัดการน้ำมันเชื้อเพลิง (Oil Plan) มาบูรณาการและรวมกันไว้ภายใต้แผนเดียว โดยมีแนวทางการมุ่งสู่เป้าหมาย “ลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ (Carbon Neutrality) ภายในปี ค.ศ. 2065 – 2070” ซึ่งจะมีผลต่อทิศทางการพัฒนาพลังงานที่สำคัญประกอบด้วย

  • ด้านไฟฟ้า เพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าใหม่ โดยมีสัดส่วน RE ไม่น้อยกว่า 50% ให้สอดคล้องกับแนวโน้มต้นทุน RE ที่ต่ำลงโดยพิจารณาต้นทุน ESS ร่วมด้วย และไม่ทำให้ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าในระยะยาวสูงขึ้น
  • ด้านก๊าซธรรมชาติ ซึ่งจะเน้นการเปิดเสรีและการจัดหาเพื่อสร้างความมั่นคงให้กับระบบพลังงานประเทศ และการนำเข้า LNG มุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางการซื้อขาย หรือ LNG Hub
  • ด้านน้ำมัน จะต้องมีการปรับแผนพลังงานภาคขนส่ง และพิจารณาการบริหารการเปลี่ยนผ่าน สร้างความสมดุลระหว่างผู้ใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ (Bio Fuel) และ EV
  • ด้านพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน จะมีการส่งเสริมการผลิตและการใช้พลังงานทดแทน ในทุกภาคส่วนให้มากขึ้น ตลอดจนการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานจากทุกภาคส่วนให้เข้มข้นมากขึ้น

“แผนพลังงานชาติ” กับการขับเคลื่อนอนาคตพลังงานไทยที่ยั่งยืน…?

นายวัฒนพงษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้ สนพ. ได้เริ่มเปิดรับฟังความคิดเห็น “กรอบแผนพลังงานชาติ” จากทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาชน และสื่อมวลชน หลังจากนั้นจะนำมาปรับปรุงแผนฯ และมอบหมายให้แต่ละหน่วยงานนำแผนฯ ไปจัดทำแผนย่อยต่อไป ทั้งนี้ คาดว่าแผนพลังงานชาติฉบับนี้จะเริ่มใช้ได้จริงปี 2566 ซึ่งการเปิดรับฟังความคิดเห็นกรอบแผนพลังงานแห่งชาติ จะเป็นกรอบและทิศทางของแผนฯ ที่จะมุ่งสู่พลังงานสะอาด และเพื่อแสดงถึงจุดยืนและเตรียมรับแนวโน้มการเปลี่ยนผ่านระบบเศรษฐกิจสู่เศรษฐกิจแบบคาร์บอนต่ำ (Neutral-carbon economy) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย โอกาสในการดึงดูดการลงทุนจากนักลงทุนต่างประเทศที่มีนโยบายมุ่งเน้นการใช้พลังงานสะอาด และคำนึงถึงความมั่นคงของระบบไฟฟ้า โดยเฉพาะภายในช่วงเวลา 1-10 ปี ข้างหน้า และจะเป็นแผนพลังงานชาติที่มีประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนอนาคตพลังงานไทยตั้งแต่ขั้นเริ่มต้น ที่จะสามารถช่วยกำหนดทิศทางให้นโยบายด้านพลังงานอย่างมีเป้าหมาย และเกิดการพัฒนาพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป ……


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save