เอบีม คอนซัลติ้ง เผยเทรนด์ตลาด EV ในไทยเติบโตสูงขึ้น แนะผู้ผลิตปรับตัว รับมือวัตถุดิบขาดแคลนจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน


เอบีม คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด หนึ่งในบริษัทที่ปรึกษาชั้นนำระดับโลกที่มีความเชี่ยวชาญด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันแบบครบวงจร ระบุนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าฉบับล่าสุดที่ภาครัฐได้มีมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพิ่มมาตรการช่วยเงินอุดหนุนรถยนต์ไฟฟ้า ตลอดจนการเข้ามาของผู้ผลิตรถยนต์รายใหม่ในตลาด ช่วยเพิ่มทางเลือกมากขึ้นให้แก่ผู้บริโภค สิ่งต่างๆ เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญในการเร่งให้เกิด Market Adoption ในการใช้รถยนต์ไฟฟ้า (EV) ในไทยมากขึ้น

สุปรีดา จิรวงศ์ศรี ผู้บริหารระดับสูงและหัวหน้ากลุ่มที่ปรึกษาด้าน Digital Competency Group เอบีม คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า จากนโยบายของทางภาครัฐ ประเทศไทยได้มุ่งเน้นไปที่ 2 ประเด็นด้วยกัน คือการผลิตและการจำหน่ายรถยนต์ภายในประเทศโดยภาครัฐตั้งเป้าไปที่การบรรลุเป้าหมายด้านการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ Zero-Emission จากการใช้รถยนต์ในประเทศให้ได้ 100% ตลอดจนการลด Zero-Emission จากการผลิตรถยนต์ลงให้ถึง 50% ภายในปีพ.ศ. 2578 และภายในปี พ.ศ. 2573 รัฐบาลได้มีเป้าหมายการลด Zero-Emission จากการผลิตรถยนต์ลง 30% ซึ่งเรียกกันว่า “EV2030” ทั้งนี้ประเทศไทยมียอดการจำหน่ายรถยนต์เฉลี่ยปีละ 1 ล้านคัน และความสามารถในการผลิตต่อปีอยู่ที่ปีละ 2 ล้านคันในช่วงก่อนการระบาดของโรคติดเชื้อ COVID- 19 นโยบายดังกล่าวถือเป็นงานที่ท้าทายสำหรับผู้ผลิตยานยนต์ของไทย

ด้วยมติคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (บอร์ดอีวี) ฉบับล่าสุดที่ประกาศเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา ที่เห็นชอบลดภาษีอากรนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าและเพิ่มมาตรการช่วยเงินอุดหนุนรถยนต์ไฟฟ้า ส่งผลให้ยอดจองรถยนต์ไฟฟ้าในงานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ 2022 สูงถึง 3,084 คัน ซึ่งเติบโตจากปี 2021 ที่มียอดขายประมาณ 2,000 คัน คาดว่าทั้งปรี 2565 น่าอยู่ที่ 3,000 คัน อีกทั้งการลงนามข้อตกลงร่วมกันของกลุ่มผู้ผลิตรถยนต์หลายราย ทั้ง MG, GWM และ Toyota ที่จะผลิตรถยนต์ไฟฟ้าภายในประเทศ สิ่งเหล่านี้จะช่วยสนับสนุนประเทศไทยในการมุ่งหน้าสู่การเป็นประเทศที่ใช้รถยนต์ไฟฟ้าอย่างเต็มรูปแบบและส่งเสริมกลุ่มผู้ผลิตยานยนต์สู่การเริ่มต้นผลิตยานยนต์พลังงานไฟฟ้าในอนาคตอันใกล้ และยังช่วยให้ประเทศไทยสามารถลดช่องว่างความแตกต่างกับหลายๆ ประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศจีนและยุโรปที่มีความก้าวไปไกลมากกว่า ในการมุ่งสู่การใช้รถยนต์ไฟฟ้า (EV) อย่างเต็มรูปแบบในอนาคต

สุปรีดา กล่าวว่า ปัจจุบันต้องยอมรับว่าอุตสาหกรรมรถยนต์ถึงจุดของการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัย 2 สำคัญ คือ นวัตกรรมและความรับผิดชอบต่อสังคม ทำให้รถยนต์ไฟฟ้าเติบโต ในส่วนของประเทศไทย การที่รัฐบาลเริ่มมีการออกมาตรการต่างๆ เพื่อช่วยให้ทั้งกลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วน กลุ่มผู้ผลิตรถยนต์ และผู้บริโภคก้าวสู่การใช้รถยนต์ไฟฟ้าอย่างเต็มรูปแบบได้อย่างรวดเร็วและง่ายขึ้น ถือว่ารัฐบาลเดินมาทุกทางแล้ว ซึ่งโดยภาพรวมแล้วแนวโน้มการเติบโตของตลาดรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ในประเทศไทยกำลังเป็นไปด้วยดี แม้ว่าจะต้องเผชิญกับปัญหาโรคระบาด COVID-19 และปัญหาสงครามรัสเซีย-ยูเครน ซึ่งทำให้โรงงาน Volkswagen ที่เยอรมนีต้องปิดตัวลงชั่วคราว รวมทั้งปัญหาการล็อกดาวน์ของประเทศจีน ส่งผลให้เกิดปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบทั่วโลก ทำให้ราคาวัตถุดิบอย่างแร่ลิเทียม ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้าปรับราคาสูงขึ้นถึง 10 เท่า

คริสตอฟ โทคาซ ผู้จัดการฝ่ายกลยุทธ์ด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ประจำภูมิภาคอาเซียน เอบีม คอนซัลติ้ง

“เป็นเรื่องยากที่จะคาดเดาว่าปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบมีระยะเวลายาวนานเท่าใด แต่ในแง่ของผู้ผลิตรถยนต์ สามารถปรับตัวโดยค่ายรถยนต์จะต้องปรับการผลิตให้ Flexible มากขึ้น โดยผลิตรถหลายรุ่นในสายการผลิตเดียวกัน และในส่วนของ Supply Chain ทั้งระบบจะต้องแลกเปลี่ยนข้อมูลกับซัพพลายเออร์เพื่อจะได้ทราบว่าชิ้นส่วนใดขาดแคลน เมื่อผู้ผลิตรถยนต์ทราบอาจจะลดสเปคในบางส่วน เพื่อผลิตรถออกมา ต่อเมื่อมีชิ้นส่วน Available เข้ามาก็สามารถเพิ่มได้ ซึ่งในส่วนนี้ผู้ผลิตรถยนต์สามารถทำได้” คริสตอฟ โทคาซ ผู้จัดการฝ่ายกลยุทธ์ด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ประจำภูมิภาคอาเซียน เอบีม คอนซัลติ้ง กล่าว

จากข้อมูลของ เอบีม คอนซัลติ้ง แม้ว่าแนวโน้มการเติบโตของตลาดรถยนต์ไฟฟ้า จะมีทิศทางที่ดี แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมยานยนต์ยังต้องปรับกลยุทธ์และการดำเนินงานเพื่อรองรับโอกาสใหม่ๆ ที่กำลังจะเข้ามาและผลักดันการเปลี่ยนผ่านของอุตสาหกรรมให้เกิดขึ้นโดยเร็วยกตัวอย่างเช่น ในการผลิต กลุ่มผู้ผลิตรถยนต์และกลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนควรร่วมกันสร้างระบบ Supply Chain อัจฉริยะโดยใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ อย่าง Internet of Thing (IoT), Big Data, AI และ Blockchain เพื่อให้การทำงานมีความสอดคล้องหรือสัมพันธ์กันตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน และสามารถคาดการณ์ถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต

ขณะเดียวกันกลุ่มผู้ผลิตรถยนต์ที่ยังคงทำการผลิตรถยนต์แบบเครื่องยนต์สันดาปภายใน หรือ Internal Combustion Engine (‘ICE’) เป็นหลัก ก็สามารถใช้ระบบการผลิตที่ยืดหยุ่นโดยการปรับใช้ทรัพยากรที่มีอยู่แล้วให้สามารถปรับเปลี่ยนไปเป็นการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าได้ด้วยวิธีที่เหมาะสมที่สุด ซึ่งต้องคำนึงถึงต้นทุนที่เป็นปัจจัยร่วม โดยใช้ประโยชน์จากเครื่องจักรและเครื่องมือที่มีอยู่ เพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนไปเป็นการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่มีความเสี่ยงและค่าใช้จ่ายน้อยลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนที่ยังใช้เครื่องจักรและเครื่องมือในกระบวนการผลิตรถยนต์แบบเครื่องยนต์สันดาปภายใน จำเป็นต้องปรับตัวอย่างเร่งด่วนในการเตรียมกลยุทธ์ที่เหมาะสมในการนำเสนอสินค้า บริการ และพันธมิตรใหม่ๆ ให้รองรับความต้องการของตลาดที่เปลี่ยนไปโดยเร็ว

สุปรีดา กล่าวว่า ด้านผู้จำหน่ายรถยนต์ ก็ควรปรับบทบาทเป็นผู้ให้ความรู้เพื่อช่วยให้ลูกค้าเข้าใจถึงประโยชน์ของรถยนต์ไฟฟ้า พร้อมไขข้อกังวลใจต่างๆ รวมทั้งตั้งเป้าหมายในการมอบประสบการณ์ในแบบ Omnichannel ที่เชื่อมโยงช่องทางต่างๆ ให้เป็นหนึ่งเดียว โดยผสมผสานช่องทางการสื่อสารทั้งออนไลน์ (Online) และการขายผ่านโชว์รูมและพนักงานขาย (Offline) และเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการขายและการดำเนินงานเพื่อลดต้นทุน

ในส่วนของผู้ให้บริการสถานีหรือจุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ก็ควรมองหาโอกาสความร่วมมือกับกลุ่มผู้ผลิตรถยนต์ ผู้ให้บริการขนส่ง หรือผู้ผลิตที่ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้ารายอื่นๆ ที่จะสามารถร่วมกันพัฒนาออกมาได้ เพื่อเพิ่มจำนวนผู้ขับขี่ที่ต้องใช้บริการสถานีชาร์จ นอกจากนั้นผู้ให้บริการสถานีหรือจุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ยังมีโอกาสสร้างแหล่งรายได้หลักช่องทางใหม่เพิ่มเติม เช่น การขายป้ายโฆษณาบนจุดชาร์จ หรือการรวบรวมค่าคอมมิชชั่นจากการขายผลิตภัณฑ์ให้กับผู้ขับขี่รถยนต์ไฟฟ้า ในขณะที่รอทำการชาร์จรถ เป็นต้น

ทั้งนี้ เอบีม คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) ในฐานะพันธมิตรด้านความรู้ (Knowledge Partner) จะเข้าร่วมงานฟิวเจอร์ โมบิลิตี้ เอเชีย 2020 (Future Mobility Asia 2022) งานนิทรรศการและการประชุมเกี่ยวกับการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงานระดับภูมิภาคเอเชีย ซึ่งจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 20-22 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค (BITEC) โดยการสนับสนุนจากกระทรวงพลังงาน ซึ่งบริษัทฯ จะร่วมบรรยายให้ความรู้และออกบูธในงาน


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save