มาตรฐาน BEC เกณฑ์มาตรฐานอาคารด้านพลังงาน ช่วยประหยัดไฟในภาคอาคารได้มากกว่า 10 %


BEC คือ มาตรฐานหลักเกณฑ์สำหรับการออกแบบบอาคารที่ก่อสร้างใหม่ หรือปรับปรุงดัดแปลงอาคาร เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน (Building Energy Code : BEC) หรือกฏกระทรวงกำหนดประเภท หรือขนาดของอาคาร และมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการในการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษณ์พลังงาน พ.ศ. 2563 และมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาไปเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2566 โดยเริ่มใช้กับอาคารขนาดใหญ่ตั้งแต่ขนาด 5,000 ตร.ม. และบังคับใช้สำหรับอาคาร 2,000 ตร.ม. ขึ้นไป ตั้งแต่วันที่ 13 มีนาคม 2566 เป็นต้นไป

BEC (Building Energy Code) เป็นเกณฑ์มาตรฐานการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอาคาร โดยเริ่มต้นตั้งแต่การออกแบบอาคารให้สามารถลดความร้อนเข้าสู่อาคาร พร้อมเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

มาตราฐาน BEC เริ่มบังคับใช้กับอาคารขนาดใหญ่ใน 9 ประเภท ได้แก่ (1) สถานศึกษา (2) สำนักงาน (3) อาคารโรงมหรสพ (4) อาคารห้างสรรพสินค้าหรือศูนย์การค้า (5) อาคารสถานบริการ (6) อาคารชุมนุมคน (7) อาคารโรงแรม (8) สถานพยาบาล และ (9) อาคารชุด ที่ใช้พื้นที่ใช้สอยในอาคารรวมกันในหลักเดียวกัน ตั้งแต่ 2,000 ตร.ม. ขึ้นไป ต้องออกแบบให้มีการใช้พลังงานในแต่ละส่วนที่กำหนด ให้เป็นไปตามเกณฑ์การใช้พลังงานตามมาตรฐานขั้นต่ำ โดยให้มีผู้รับรองผลการประเมินด้านพลังงาน ที่ได้รับการรับรองจากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) เป็นผู้รับรองข้อมูลเพื่อประกอบการยื่นตามขั้นตอนปกติในการขออนุญาตก่อสร้างอาคารตามกฏหมายควบคุมอาคาร

6 มาตรฐานและหลักเกณฑ์

  1. ระบบเปลือกอาคาร (Envelope system) ค่าการถ่ายเทความร้อน ผนังอาคาร (OTTV) หลังคาอาคาร (RTTV)
  2. ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง (Electric lighting system) ค่ากำลังไฟฟ้าส่องสว่าง (LPD)
  3. ระบบปรับอากาศ (Air-conditioning system) ค่าประสิทธิภาพระบบ
  4. พลังงานหมุนเวียน (Renewable energy system) Solar PV / อุปกรณ์อื่นๆ
  5. อุปกรณ์ผลิตน้ำร้อน (Water heating appliance) ค่าประสิทธิภาพอุปกรณ์
  6. การใช้พลังงานรวม (Whole building energy) เปรียบเทียบค่าพลังงานที่ใช้ อาคารที่ออกแบบ VS อาคารอ้างอิง

ข้อดีของมาตรฐาน BEC

  • ช่วยประหยัดพลังงานได้ 10 – 20 %
  • คืนทุนเร็ว คุ้มค่าระยะยาว
  • ช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อม
  • ส่งเสริมภาพลักษณ์องค์กรหรือธุรกิจ
  • สร้างธุรกิจผู้ผลิตวัสดุอุปกรณ์ประหยัดพลังงานในอาคารเพิ่มขึ้น
  • สร้างโอกาสในการจ้างงานเพิ่มขึ้น
  • ยกระดับมาตรฐานวัสดุอุปกรณ์ประหยัดพลังงานในประเทศ

อาคารที่ออกแบบตามมาตรฐาน BEC แม้จะมีต้นทุนในขั้นตอนการก่อสร้างเพิ่มขึ้น เฉลี่ย 3 – 5 % แต่ก็เป็นค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย และการออกแบบที่ช่วยประหยัดพลังงาน จะสามารถทำให้คืนทุนในส่วนนี้ได้ในระยะเวลาประมาณ 3 ปี เนื่องจากสามารถประหยัดพลังงานได้ไม่น้อยกว่า 10% ต่อปี นับว่าสร้างความคุ้มค่าได้ในระยะยาว เนื่องจากอาคารมีอายุการใช้งานนานตั้งแต่ 20 – 30 ปี โดยประหยัดพลังงานคิดเป็นค่าพลังงานรวมประมาณ 13,700 ล้านหน่วย หรือมูลค่ากว่า 47,000 ล้านบาท และยังช่วยลดปัญหาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 6,850 ตัน

ข้อมูลการอนุญาตก่อสร้างอาคารเพื่ออนุรักษ์พลังงาน

ทั้งนี้ ตัวเลขล่าสุดจากระบบฐานข้อมูลการอนุญาตก่อสร้างอาคารเพื่ออนุรักษ์พลังงาน จากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ปัจจุบันมีจำนวนอาคารกว่า 5,097 อาคาร โดย Top 3 ของประเภทอาคารได้แก่ อาคารชุด (Condominium) คิดเป็น 54.09 % สำนักงาน (Office) 12.79 % และโรงแรม (Hotel) 11.58%

ประเภทอาคารที่ขออนุญาตก่อสร้างอาคารเพื่ออนุรักษ์พลังงาน


ที่มา: ฐานข้อมูล Building Energy Code (BEC) กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.)


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save