ครม. รับทราบรายงานการดำเนินโครงการปลูกป่าชายเลน เพื่อประโยชน์จากคาร์บอนเครดิตของ ทช.


การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ.2565 ที่มี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล โดย ครม.รับทราบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอรายงานการดำเนินโครงการปลูกป่าชายเลน เพื่อประโยชน์จากคาร์บอนเครดิต ของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ดังนี้ ทส. รายงานว่า กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ในฐานะเป็นหน่วยงานหลักในการบริหารจัดการทรัพยากรป่าชายเลนให้คงไว้ซึ่งความอุดมสมบูรณ์ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการบูรณาการการทำงานแบบมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน จึงได้จัดทำโครงการปลูกป่าชายเลนเพื่อประโยชน์จากคาร์บอนเครดิต ซึ่งคณะกรรมการนโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ.2565 มีมติเห็นชอบการดำเนินโครงการฯ และมอบ ทส. เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้

  1. วัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมและส่งเสริมการเพิ่มพื้นที่ป่าชายเลนของประเทศ เพิ่มแหล่งสำหรับกักเก็บคาร์บอนและสนับสนุนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศ เสริมสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและบริหารจัดการทรัพยากรป่าชายเลน รวมถึงนำคาร์บอนเครดิตที่ได้จากการปลูกป่าชายเลนไปใช้ในการชดเชยการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับต่าง ๆ ในระบบทะเบียนของ T-VER (โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program: T-VER) คือ กลไกลดก๊าซเรือนกระจกภายในประเทศที่องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (Thailand Greenhouse Gas Management Organization: TGO) พัฒนาขึ้นตั้งแต่ปี 2557 ซึ่งเป็นกลไกที่มีเป้าหมายในการส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ผลิตและใช้พลังงานหมุนเวียน ภาคอุตสาหกรรมที่มีกิจกรรมการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน การจัดการของเสีย ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักที่มีศักยภาพลดก๊าซเรือนกระจก การจัดการในภาคขนส่ง รวมถึงการปลูกต้นไม้และอนุรักษ์ฟื้นฟูป่า ซึ่งเป็นกิจกรรมที่นอกจากจะช่วยกักเก็บก๊าซเรือนกระจกได้แล้วยังสามารถรักษาและสร้างความหลากหลายทางชีวภาพได้อีกด้วย) หรือระบบทะเบียนที่ประเทศไทยจะนำมาใช้ในอนาคต [ผู้พัฒนาโครงการ (บุคคลภายนอก) จะได้รับการแบ่งปันคาร์บอนเครดิตในสัดส่วนร้อยละ 90 หรือตามที่ตกลงกัน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งจะได้รับ 10% และจะจัดสรรให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวนครึ่งหนึ่ง]
  2. เป้าหมายการดำเนินการ กำหนดระยะเวลาการดำเนินการ 10 ปี (พ.ศ. 2565-2574) เนื้อที่ 300,000 ไร่ ในพื้นที่ชายฝั่งทะเล 23 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร จังหวัดระยอง จันทบุรี ตราด ชลบุรี ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา พัทลุง ปัตตานี พังงา กระบี่ ภูเก็ต ระนอง ตรัง และสตูล
  3. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
    3.1 ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี ค.ศ. 2050 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Greenhouse Gas Emission) ภายในปี ค.ศ. 2065
    3.2 พื้นที่ป่าชายเลนเพิ่มขึ้นในระยะเวลาอันสั้น มีการบำรุงรักษาต่อเนื่อง 10-30 ปี เพิ่มพื้นที่สีเขียว ตอบสนองนโยบายรัฐบาล
    3.3 ประหยัดงบประมาณภาครัฐไม่น้อยกว่า 600-700 ล้านบาทต่อปี
    3.4 ระบบนิเวศป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์ เกิดการสร้างรายได้สร้างอาชีพให้กับชุมชนชายฝั่ง ประชาชนสามารถใช้ประโยชน์ในการจับหาสัตว์น้ำ เก็บหาสมุนไพร การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และนิเวศบริการอื่น ๆ ได้ตามวิถีชุมชนปกติ
    3.5 คาร์บอนเครดิตที่ได้จากโครงการปลูกป่าชายเลน สามารถใช้ในการชดเชยการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับต่าง ๆ ในระบบทะเบียนของ T-VER ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
    3.6 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้รับสัดส่วนการแบ่งปันคาร์บอนเครดิต เพื่อนำไปสนับสนุนให้ชุมชนใช้ในการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในพื้นที่
    3.7 เสริมสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนกับหน่วยงานภาครัฐในการจัดการทรัพยากรป่าชายเลนให้เกิดความยั่งยืน
    3.8 ประเทศไทยมีฐานข้อมูลการกักเก็บคาร์บอนภาคป่าชายเลน

 


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save