โรคตาต้อกระจก


โรคตาต้อกระจกมักเกิดขึ้นกับผู้สูงวัยทั้งชายและหญิง ส่วนใหญ่เกิดกับผู้มีอายุเกิน 45 ปีขึ้น ไป แต่ในความเป็นจริงสามารถเกิดได้กับทุกวัย มาทำความเข้าใจกับโครงสร้างลูกนัยน์ตากันก่อน ที่เป็นโครงสร้างหลักสำคัญมี 4 โครงสร้าง

  1. แก้วตาดำหรือกระจกตาดำ ส่วนของตาดำที่รับภาพจากที่มองเห็นทั่วไป
  2. เลนส์ตา อยู่หลังกระจกตาดำ ทำหน้าที่ปรับการมองเห็นภาพให้มีความคมชัดทั้งในที่มืดและที่สว่าง
  3. จอประสาทตา อยู่หลังเลนส์ตา ปรับการเห็นภาพในเชิงกว้างทั้งด้านบนและด้านข้าง จากซ้ายมาขวา จากขวามาซ้าย และบนมาล่าง ล่างไปบน
  4. เส้นประสาทตา รับการเห็นภาพทั้งหมด ส่งผ่านไปยังสมองบริเวณด้านหลังของศีรษะเพื่อแปลค่าภาพที่เห็นทั้งหมด ทั้งสิ่งที่มีชีวิตและสิ่งที่ไม่มีชีวิต

การเกิดปัญหาที่ดวงตา ในเรื่องของ ต้อกระจก ปกติเลนส์ตาเป็นส่วนที่อยู่ถัดจากแก้วตาดำ มีลักษณะเป็นเลนส์ใสและมีน้ำใสๆ ภายในเลนส์ตาหล่อเลี้ยงเพื่อให้เห็นภาพคมชัด เรื่องวัยที่มากขึ้นเฉลี่ยเกิน 45 ปีขึ้นไป เลนส์ตาจะเริ่มเสื่อม และน้ำที่มาหล่อเลี้ยงเลนส์ตาจะเริ่มขุ่น ดังนั้นการมองเห็นภาพเริ่มไม่ชัด มีอาการพร่ามัว และเป็นหมอกขาว อาการนี้เป็นมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความรุนแรงความผิดปกติและมักจะสู้แสงสว่างไม่ได้ อาการที่เกิดขึ้นนี้เรียกว่า ต้อกระจก อาจเกิดขึ้นกับตาข้างเดียวหรือเกิดพร้อมกันทั้งสองข้างได้ อาการดังกล่าวค่อยๆ ดำเนินไปอย่างช้าๆ การเห็นภาพจะพร่ามัว เป็นหมอกขาวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในที่สว่างการเห็นภาพลำบากมาก ในที่มืดหรือช่วงกลางคืนกลับมองเห็นภาพได้สบายตากว่าช่วงกลางวัน ส่วนใหญ่เกิดกับผู้สูงอายุดังกล่าวข้างต้นแล้ว ขณะเดียวกันสามารถเกิดกับผู้ที่อายุยังน้อยเป็นภาวะแทรกซ้อน จากการเป็นโรคเบาหวาน (ชาวบ้านส่วนใหญ่จะเรียกว่า เบาหวานขึ้นตา) โรคความดันโลหิตสูง นอกจากนี้ยังเกิดขึ้นกับเด็กเล็กแต่กำเนิด มีเลนส์ตาผิดปกติหรือเสื่อมโดยไม่ทราบสาเหตุ การเกิดอุบัติเหตุกระทบกระเทือนต่อลูกนัยน์ตา เกิดการบาดเจ็บต่อแก้วตาดำ เลนส์ตา จอประสาทตาเส้นประสาทตา ล้วนแต่เป็นสาเหตุก่อให้เกิดภาวะเลนส์ตาเสื่อมด้วย เกิดโรคต้อกระจกมีปัญหาต่อการมองเห็นภาพด้วยและอาจเป็นสาเหตุของตาบอดได้

การรักษา ผู้ป่วยมักพบแพทย์ทางจักษุแพทย์ ด้วยอาการที่เห็นภาพพร่ามัวและเป็นหมอกขาว การตรวจวินิจฉัยไม่ยุ่งยาก พบว่าเป็นต้อกระจกจักษุแพทย์ทำการรักษา ระยะเริ่มแรกอาจให้ยาหยอดตาหากอาการไม่ดีขึ้น เปลี่ยนการรักษาเป็นใช้เลเซอร์หรือผ่าตัด ปัจจุบันนิยมทำการผ่าตัดเปลี่ยน ใส่เลนส์ตาเทียม โดยการผ่าตัดเอาเลนส์ที่เสื่อมหรือมีปัญหาออกแล้วใส่เลนส์เทียมเข้าแทนที่ การผ่าตัดใช้เวลารวดเร็วมาก ผ่าตัดเสร็จสามารถกลับบ้านได้ แล้ววันรุ่งขึ้นแพทย์นัดมาเปิดตา ถ้าทุกอย่างเรียบร้อยดี ผู้ป่วยสามารถมองเห็นภาพได้ปกติ ใช้ชีวิตตามปกติ หากเป็นผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ฯลฯ คงต้องติดตามการรักษาโรคประจำตัวเหล่านี้ให้อยู่ในระดับปกติ เพื่อไม่ให้เป็นปัญหาที่ก่อให้เกิดความผิดปกติของโครงสร้างภายในดวงตา คุณภาพชีวิตดีขึ้น

จากรายละเอียดดังกล่าว คงต้องใส่ใจดูแลนัยน์ตาทั้งสองข้างมิให้มีความผิดปกติ และความเสื่อมที่จะเกิดขึ้น พบจักษุแพทย์โดยเร็วเมื่อมีปัญหา เพื่อคุณภาพชีวิตของการมองเห็นที่ดีต่อไป


ที่มา: หมอโฆษิต


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save