ไบโอพลาสติก ที่ (อาจ) ไม่ย่อยสลาย

“ขยะพลาสติก” เป็นเรื่องที่ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงเป็นอย่างมากโดยเฉพาะในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากกระแสด้านสิ่งแวดล้อมกำลังถูกยกให้เป็นประเด็นสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ ปัญหาขยะพลาสติกในปัจจุบันเกิดจากพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดการใช้พลาสติกในปริมาณมากขึ้น อีกทั้งพลาสติกส่วนมากมักเป็นรูปแบบของพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single-Used Plastic) จึงเป็นสาเหตุให้เกิดขยะพลาสติกปริมาณมหาศาล และจากการที่พลาสติกสามารถเก็บรวบรวมได้ยากเนื่องจากมีนํ้าหนักเบา สามารถถูกลมพัดปลิวและกระจายไปยังพื้นที่ต่างๆ ได้ง่ายจึงทำให้เป็นปัญหาโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อทรัพยากรนํ้าที่มักเป็นแหล่งรองรับสุดท้ายของขยะพลาสติกเหล่านี้

ดราม่า เรื่อง PM2.5 ตอน 4 : รู้ให้ไว ไหวให้ทัน

ขอย้ำอีกครั้งว่า แม้จะเขียนจั่วหัวเรื่องไว้ในตอนที่ 1 ว่าเป็นเรื่องดราม่า อันเนื่องมาจากคุณภาพอากาศในกรุงเทพมหานครที่เลวมากในช่วงปลายมกราคมต่อต้นกุมภาพันธ์เมื่อต้นปี 2561 โดยดูหรือวัดเอาจากค่าสารมลพิษอากาศหรือ PM2.5 แต่เมื่อเวลาผ่านไปสภาพลมฟ้าดีขึ้น ลมร้อนเริ่มมาและพัดแรงขึ้น มลพิษทั้งหลายซึ่งจริงๆไม่ได้มีแค่เพียง PM2.5 ก็ถูกพัดพาให้กระจายออกไป ปัญหามลพิษอากาศจึงน้อยลง และดราม่าเรื่องนี้ก็คล้ายๆกับเรื่องอื่นๆ คือจางหายไปกับสายลม…

ดราม่า เรื่อง PM 2.5 ตอน 3 : สถานการณ์ของ กทม.

โดยปกติแล้วฝุ่นโดยเฉพาะฝุ่นขนาดใหญ่ เดิมไม่ค่อยได้รับความสนใจจากนักวิทยาศาสตร์และเจ้าหน้าที่รัฐเท่ากับสารมลพิษอากาศตัวอื่นๆ แต่เมื่อเวลาผ่านไปวิทยาการก้าวหน้ามากขึ้น ทำให้เราเริ่มมีความเข้าใจมากขึ้นว่าฝุ่น หากมีขนาดเล็กมากๆ ก็สามารถมีอันตรายไม่น้อยกว่าสารมลพิษอากาศตัวอื่นๆ จนถึงขนาดองค์การอนามัยโลกต้องเข้ามามีบทบาทชี้นำในระดับนานาชาติ

ขยะไม่มีที่อยู่

ในทุกวันนี้ที่เศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีพัฒนาไปเป็นอย่างมาก ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์มีพัฒนาการอย่างก้าวกระโดด โดยจะเห็นได้จากจำนวนประชากรที่มากยิ่งขึ้น รวมไปถึงคุณภาพชีวิตที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ในแต่ละพื้นที่รอบโลก แต่อย่างไรก็ตาม การก้าวกระโดดอย่างรวดเร็วนี้กลับทิ้งหลายสิ่งหลายอย่างไว้ในรูปของ “ขยะ” โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างสหรัฐอเมริกาที่มีค่าเฉลี่ยการผลิตขยะต่อคนสูงที่สุดในโลก ซึ่งสร้างปริมาณขยะเป็น 12% ของปริมาณขยะทั่วโลก ทั้งๆ ที่อเมริกามีประชากรเพียง…

Green Technology & Innovation Electric Vehicle Technology

วันนี้ ผมใคร่ขอนำเสนอเกี่ยวกับเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า และระบบกักเก็บพลังงานไฟฟ้าที่กำลังเป็นที่สนใจและเป็นประเด็นถกเถียงกันในสังคมในหลายประเด็น เช่น จะต้องใช้เวลาอีกนานเพียงไรยานยนต์ไฟฟ้าจึงมีการใช้กันอย่างแพร่หลาย และจะมีผลกระทบกับประเทศและประชาชนทั่วไปอย่างไร และเราควรมีการเตรียมการอย่างไรเพื่อรับมือกับแนวโน้มดังกล่าว เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบด้านลบและก่อให้เกิดผลดีต่อประเทศมากที่สุด

“ตุ๊กตุ๊ก” รถเครื่องสามล้อไทย พัฒนาสู่รถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้าดัดแปลงสำหรับธุรกิจไทย SME

ในปัจจุบันรัฐบาลไทยมีแนวทางในการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ (S-curve) โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ในประเภทกลุ่มรถยนต์ไฟฟ้า (EV) รถตุ๊กตุ๊กเป็นพาหนะโดยสารสาธารณะที่นำมาใช้ในประเทศไทยกว่า 50-60 ปี โดยรถตุ๊กตุ๊กผลิตจากอุตสาหกรรมขนาด SME ในประเทศไทยทั้งอะไหล่ กระจังหน้า แชสซี กระบะ และตัวถังทั้งหมด แต่เครื่องยนต์เกียร์และเฟืองท้าย ส่วนใหญ่ใช้ชิ้นส่วนมือสองขนาดเล็กของญี่ปุ่น…

ดราม่า เรื่อง PM2.5 ตอน 2 : มาตรฐานที่ต่างกัน

อย่างที่เกริ่นไว้ในตอน 1 ว่า “แม้จะเขียนจั่วหัวเรื่องว่าเป็นเรื่องดราม่า อันเนื่องมาจากคุณภาพอากาศในกรุงเทพมหานครที่เลวมากในช่วงปลายมกราคมต่อต้นกุมภาพันธ์เมื่อต้นปี 2561 โดยดูหรือวัดเอาจากค่าสารมลพิษอากาศหรือ PM2.5 แต่เมื่อเวลาผ่านไปสภาพลมฟ้าดีขึ้น ลมร้อนเริ่มมาและพัดแรงขึ้น มลพิษทั้งหลาย ซึ่งจริงๆไม่ได้มีแค่เพียง PM2.5 ก็ถูกพัดพาให้กระจายออกไป ปัญหามลพิษอากาศจึงน้อยลง และดราม่าเรื่องนี้ก็คล้ายๆกับเรื่องอื่นๆ…

การใช้พลังงานรังสีอาทิตย์ ทำความเย็น และลดความชื้น ในอากาศ

ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนชื้น อาคารธุรกิจจึงจำเป็นต้องใช้ระบบปรับอากาศ โดยสัดส่วนการใช้ไฟฟ้าที่ใช้ปรับอากาศในภาคอาคารอยู่ที่ 15% ของไฟฟ้าที่ใช้ทั้งประเทศ และสัดส่วนการใช้พลังงานไฟฟ้าทั้งหมดในอาคาร ร้อยละ 60 มาจากภาระการปรับอากาศ โดยภาระของระบบปรับอากาศประกอบไปด้วย ภาระจากความร้อนสัมผัส (Sensible Load) และ ภาระจากการลดความชื้นของอากาศ (Latent…

PM 2.5 กับ วิศวฯ จุฬาฯ

ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2561 จนถึงต้นปี พ.ศ. 2562 นับว่าเป็นวิกฤตการณ์ครั้งสำคัญของคนไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตกรุงเทพมหานครและพื้นที่ภาคเหนือที่เผชิญกับปัญหาฝุ่น PM 2.5 มีปริมาณสูงเกินกว่ามาตรฐานเป็นเวลาหลายสัปดาห์ ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบหายใจและระบบหมุนเวียนเลือด โดยจากฐานข้อมูลของ Google…

ชุมชนที่ใช้พลังงานสุทธิเป็นศูนย์ (Net-Zero Energy Settlement)

การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกเป็นภัยคุกคามที่นานาประเทศต่างต้องมีส่วนร่วมรับผิดชอบด้วยการลดการใช้พลังงานอันเป็นต้นเหตุหลักของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อให้การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิบรรยากาศไม่สูงเกินกว่า 2oC

โครงการ Envi Mission : ตอนที่ 1 Boot Camp วัฒนธรรมรักษ์น้ำ

วันอนุรักษ์น้ำโลก (World Water Day 2019) Theme : Leaving No One Behind น้ำเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญต่อการใช้ชีวิตประจำวัน สังคมและวัฒนธรรม รวมไปถึงการเติบโตด้านเศรษฐกิจของมนุษย์ ถึงแม้ว่าน้ำจะเป็นทรัพยากรหมุนเวียน แต่ร้อยละ…

ดราม่า เรื่อง PM 2.5 ตอน 1 : ความเข้าใจพื้นฐาน

แม้จะเขียนจั่วหัวเรื่องว่าเป็นเรื่องดราม่า อันเนื่องมาจากคุณภาพอากาศในกรุงเทพมหานครที่เลวมากในช่วงปลายมกราคมต่อต้นกุมภาพันธ์ เมื่อต้นปี 2561 โดยดูหรือวัดเอาจากค่าสารมลพิษอากาศหรือ PM 2.5 แต่เมื่อเวลาผ่านไป สภาพลมฟ้าดีขึ้น ลมร้อนเริ่มมาและพัดแรงขึ้น มลพิษทั้งหลายซึ่งจริงๆ ไม่ได้มีแค่เพียง PM 2.5 ก็ถูกพัดพาให้กระจายออกไป ปัญหามลพิษอากาศจึงน้อยลง…

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save