วว.จับมือ TBIA นำร่องใช้พลาสติกชีวภาพบรรจุขยะอินทรีย์หมักเป็นวัสดุปรับปรุงดินได้ผลสำเร็จตามคาด พร้อมสานต่อเป็นรูปธรรมตามแนวทาง Circular Economy


กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม  (อว.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) โดย ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์  (ศนก.)   นำโดย ดร.รจนา ตั้งกุลบริบูรณ์ ผอ.ศนก. พร้อมทีมงาน ได้แก่ ดร.กนกอร  อัมพรายน์  นักวิจัยอาวุโส ศนก. และคณะทำงานห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ดิน ปุ๋ย และพืช (SFP Lab) นำเสนอผลงาน “การใช้พลาสติกชีวภาพบรรจุขยะอินทรีย์หมักเป็นวัสดุปรับปรุงดินและวิจารณ์โครงการกับชุมชนนำร่อง” ภายใต้การดำเนินโครงการชุมชนนำร่องใช้พลาสติกชีวภาพบรรจุขยะอินทรีย์หมักเป็นวัสดุปรับปรุงดิน ในตำบลท่าข้าม อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา ร่วมกับ นายวิบูลย์ พึงประเสริฐ นายกสมาคมอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพไทย (TBIA) ดร.วันทนีย์ จองคำ ที่ปรึกษาสมาคม บริษัท ไทยวา และบริษัท SMS Corporation โดยมีผู้เข้าร่วมรับฟังและให้ความคิดเห็นจากหลายภาคส่วน อาทิ เทศบาลตำบลท่าข้าม โรงไฟฟ้าบางปะกง อำเภอบางปะกง ตัวแทนชุมชนหมู่ 3 ตัวแทนชุมชนหมู่ 4 และหมู่ 7 ตำบลท่าข้าม เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2566

ทั้งนี้ วว. ดำเนินโครงการชุมชนนำร่องใช้พลาสติกชีวภาพบรรจุขยะอินทรีย์หมักเป็นวัสดุปรับปรุงดินร่วมกับสมาคมอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพไทย โดยนำถุงพลาสติกชีวภาพมาใช้ในการคัดแยกขยะอินทรีย์ แล้วจัดเก็บเพื่อนำมาหมักรวมกับมูลสัตว์พัฒนาเป็นสารปรับปรุงดินที่สามารถเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุภายในดิน ทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์สูงขึ้นและช่วยลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างชุมชนต้นแบบในการจัดการขยะอินทรีย์ร่วมกับการใช้ถุงพลาสติกชีวภาพ สร้างความรู้ความเข้าใจในการผลิตวัสดุปรับปรุงดินจากขยะอินทรีย์ วิเคราะห์และทดสอบคุณสมบัติของวัสดุปรับปรุงดิน เพื่อกระตุ้นให้เกิดความตระหนักในการหมุนเวียนใช้เศษอาหาร ขยะอินทรีย์ และพลาสติกชีวภาพ ในการรักษาสภาวะแวดล้อมของประเทศไทย อันจะก่อให้เกิดการใช้ผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการหมุนเวียนในประเทศต่อไป

จากการดำเนินโครงการได้ผลผลิต (Output) คือ การย่อยสลายของพลาสติกชีวภาพในสภาวะการหมักร่วมกับขยะอินทรีย์ในชุมชนภายในระยะเวลา 2 เดือน ได้วัสดุปรับปรุงดินที่มีส่วนผสมของพลาสติกชีวภาพที่มีคุณภาพดี สามารถใช้เพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุภายในดิน เกิดชุมชนต้นแบบในการผลิตวัสดุปรับปรุงดินจากขยะอินทรีย์ชุมชนที่มีส่วนผสมของพลาสติกชีวภาพ จำนวน 3 ชุมชน และได้ผลลัพธ์ (Outcome) คือกระตุ้นให้เกิดความรู้ความเข้าใจและการตื่นตัวด้านระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน สร้างความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดินที่มีสภาพเสื่อมโทรมด้วยการใช้วัสดุอินทรีย์และสร้างความตระหนักถึงปัญหาขยะพลาสติกและใช้พลาสติกชีวภาพเป็นทางเลือกในการแก้ไขปัญหาการจัดการขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะนำไปสู่การจัดการขยะให้เหลือศูนย์ (Zero Waste) ตามแนวทาง Circular Economy โดยผลสำเร็จของโครงการฯ จะนำไปใช้อย่างเป็นรูปธรรม ณ ตำบลท่าข้าม พร้อมขยายผลไปยังชุมชนอื่นที่สนใจในอำเภอบางปะกง และขยายผลไปสู่พื้นที่อื่นๆ ของประเทศต่อไป

 


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save