ดาว เคมิคอล เปิดศูนย์การวิเคราะห์เพื่อการพัฒนาเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ สนับสนุนงานด้านการผลิตแห่งแรกในเอเซียแปซิฟิก


บริษัท เคมิคอล ประเทศไทย ซึ่งเป็นฐานการผลิตเคมีภัณฑ์ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเซียแปซิฟิก ได้เปิด “ศูนย์การวิเคราะห์เพื่อการพัฒนาเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ (Center for Advanced Analytical Technology )” นับเป็นศูนย์ฯใหม่ล่าสุดของ ดาว หน่วยที่ให้บริการด้านการวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูง ที่ช่วยส่งเสริมโซลูชั่นเพื่อการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการผลิต ด้วยเทคโนโลยีการวัดค่าและการวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัย และทีมนักวิเคราะห์ที่มีความเชี่ยวชาญตั้งศูนย์วิเคราะห์ด้านวิทยาศาตร์ หนุนกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพสูงสุด 

เคย์ เบิร์นส

เคย์ เบิร์นส ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการด้านการวิเคราะห์เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ ณ เมืองเพลคมิน รัฐหลุยเซียน่า ประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า ดาว เคมิคอล เป็นผู้เชี่ยวชาญทั้งเทคโนโลยีและโซลูชั่น ที่ช่วยสนับสนุนนโยบาย Thailand 4.0 รวมไปถึงส่งเสริมอุตสาหกรรมไทยสู่อุตสาหกรรม 4.0 ด้วยเทคโนโลยีด้านการวิจัยและพัฒนา และศูนย์ฯ แห่งนี้ ยังเป็นหน่วยงานการวิเคราะห์ด้านวิทยาศาสตร์ 1 ใน 4 ของหน่วยวิเคราะห์ทั่วโลก ที่มีอยู่ในบริษัท ดาว เคมิคอล โดยมีมูลค่าใช้เงินลงทุนในการก่อสร้างและพัฒนาเทคโนโลยีรวมทั้งสิ้นมากกว่า 340 ล้านบาท หรือประมาณกว่า 10 ล้านเหรียญสหรัฐ และยังเป็นศูนย์แห่งแรกในประเทศไทยและภูมิภาคเอเซียแปซิฟิก โดยจัดตั้งขึ้นมาเพื่อสนับสนุนหน่วยงานการผลิต สนับสนุนงานที่เกี่ยวข้องกับลูกค้า เพิ่มความพึงพอใจให้กับลูกค้า รวมไปถึงการวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆก่อนออกสู่ตลาด เพื่อให้ตรงตามที่ลูกค้าต้องการ และช่วยวิเคราะห์ให้กระบวนการมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพิ่มจำนวนผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดได้มากขึ้น

“ในแง่ของการบริการของศูนย์ฯ จะเป็นการวิเคราะห์ขั้นสูง (Advanced Analysis) เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ตรงตามความต้องการของลูกค้า (Product Applications) รวมไปถึงการให้บริการในเชิงความรู้ความสามารถ โดยการใช้มันสมองของผู้เชี่ยวชาญร่วมแก้ปัญหากับฝ่ายการผลิต เพื่อให้กระบวนการผลิตมีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น และช่วยลดต้นทุนกระบวนการผลิต”

บริการของศูนย์เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วย การวิเคราะห์ขั้นสูงสำหรับปัญหาที่ซับซ้อน เช่น การวิเคราะห์เพื่อระบุสารเคมีที่ไม่ทราบชัด การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ การตอบคำถามด้านคุณภาพและตอบปัญหาเพื่อความพึงพอใจของลูกค้า รวมไปถึงการวิเคราะห์ด้านชีวอนามัย โดยห้องปฏิบัติการวิเคราะห์เชิงปฏิกิริยาเคมี รองรับการระบุถึงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นของปฏิกิริยาเคมี รวมไปถึงการให้คำปรึกษาด้านการวิเคราะห์โดยผู้เชี่ยวชาญเพื่อปรับปรุงหรือแก้ปัญหาในกระบวนการผลิต

ผลงานสู่ ความสำเร็จของการวิเคราะห์เพื่อการพัฒนาเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์

เคย์ กล่าวว่า ศูนย์การวิเคราะห์เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ ได้ก่อตั้งและเริ่มดำเนินการเมื่อปี 2555 และได้เปิดตัวดำเนินการอย่างเต็มรูปแบบในปี 2560 ขึ้นในนิคมอุตสาหกรรมเอเซีย จังหวัดระยอง โดยเริ่มตั้งแต่เตรียมความพร้อมในด้านเทคโนโลยีและองค์ความรู้ต่างๆ การพัฒนาบุคลากรให้ทำงานควบคู่ไปกับผู้เชี่ยวชาญ ที่ผ่านมาการวิเคราะห์ของศูนย์ฯ ช่วยเพิ่มมูลค่าให้แก่ธุรกิจของบริษัทฯ เป็นเงินกว่า 800 ล้านบาท หรือประมาณ 24 ล้านเหรียญสหรัฐ ผ่านการดำเนินงานและบริการต่างๆ โดยลักษณะงานที่เกี่ยวกับความปลอดภัยและความยั่งยืน (save and Sustainable) อย่างเช่น ผลการวิเคราะห์ของศูนย์ฯช่วยลดสารเคมีและของเสีย แก้ไขปัญหาในโรงงานได้อย่างทันท่วงที ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุร้ายแรง ปรับปรุงจากระบบแรงงานเป็นระบบอัตโนมัติ ที่มีความแม่นยำและความน่าเชื่อถือ ลดการปรับผังโรงงาน เพิ่มผลผลิต และสร้างความปลอดภัยให้คนงาน รวมไปถึงช่วยสนับสนุนการเติบโตของภาคธุรกิจ และในแง่ของความยั่งยืน ดาวให้ความสำคัญในเรื่องของการทำงานอย่างยั่งยืนด้วยความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบลดการใช้ของเสียลง ลดการใช้พลังงาน และลดการใช้ทรัพยากร

 ถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ภาครัฐและภาคการศึกษา สร้างผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านในประเทศไทย

ศูนย์การวิเคราะห์เพื่อการพัฒนาเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์

พันธกิจของศูนย์การวิเคราะห์เพื่อการพัฒนาเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ คือ การขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการผลิตสู่ความสำเร็จ ด้วยการคิดค้นโซลูชั่นที่ดีที่สุดผ่านการวิเคราะห์ขั้นสูงทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีการวัดค่า และทีมนักวิเคราะห์ที่มีความเชี่ยวชาญ

เคย์ เบิร์นส กล่าวว่า การดำเนินงานของศูนย์ฯแห่งนี้ยังช่วยคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ปรับปรุง และพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อให้การผลิตมีความน่าเชื่อถือ มีประสิทธิภาพ และเป็นที่พอใจของลูกค้า นอกจากนี้ ยังช่วยสนับสนุนการเติบโตของ ดาว ในภูมิภาคเอเซียแปซิฟิก รวมถึงส่งเสริมอุตสาหกรรมไทยสู่อุตสาหกรรม 4.0 ด้วยเทคโนโลยีด้านการวิจัยและพัฒนา การถ่ายทอดเทคโนโลยีการวิเคราะห์ขั้นสูงทางวิทยาศาสตร์ให้กับบุคลากรของไทย รวมทั้งการสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ให้กับประเทศไทย ด้วยการสนับสนุนจากรัฐบาลไทย นอกจากนี้ ศูนย์การวิเคราะห์เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ยินที่จะแบ่งปันและถ่ายทอดเทคโนโลยีและความรู้ โดยได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำ ในการพัฒนานิสิตนักศึกษาให้มีองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญด้านการแก้ไขปัญหาและเทคโนโลยีการวิเคราะห์ เพื่อส่งเสริมให้เกิดนักวิจัยที่มีศักยภาพและสร้างผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านในประเทศไทยให้เพิ่มมากขึ้น

“ศูนย์การวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์แห่งนี้ มีการคิดและคำนวณสูตรขึ้นมาเพื่อช่วยวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาหรือปรับปรุงกระบวนการทำงาน สิ่งจะไม่ได้ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ที่จับต้องได้ แต่จะออกมาเป็นวิธีการหรือสูตร เพื่อนำไปใช้ในการแก้ปัญหานั้นๆ ดาวจึงอยากให้เกิดการถ่ายเทคโนโลยีทางด้านวิทยาศาสต์ในเมืองไทยมากที่สุด”

เทคโนโลยีสำหรับการวิเคราะห์ขั้นสูงทางด้านวิทยาศาสตร์

มาเธีนส พัวร์ช ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายงานวิจัย ด้านวิทยาศาสตร์การวิเคราะห์ ณ เมืองสเตด ประเทศเยอรมนี กล่าวว่า เทคโนโลยีสำหรับการวิเคราะห์ขั้นสูงที่มีอยู่ในศูนย์ฯ จะประกอบไปด้วย 5 ด้าน ได้แก่ 1.การวิเคราะห์สารอนินทรีย์ ครอบคลุมการวิเคราะห์สารอินทรีย์ที่มีความเข้มข้นสูงจนถึงต่ำ (sub-ppb) ทั้งในตัวอย่างของแข็ง ของเหลว และก๊าซ เพื่อระบุชนิดของสาร และทำการวิเคราะห์การหาปริมาณ 2. การวิเคราะห์สารอนินทรีย์และเคมีทั่วไป จะเป็นการระบุและหาปริมาณของธาตุ โดยใช้คุณสมบัติเฉพาะทางเคมีและการวัดช่วงความเข้มข้นที่กว้าง ทดสอบธาตุได้เกือบทุกตัวในตารางธาตุ เช่น การวิเคราะห์โลหะในตัวอย่างต่างๆ ในรูปแบบของเหลว ของแข็ง ผง สารตกค้าง หรือเจล 3. การวิเคราะห์เชิงแสง เป็นการศึกษาสารอินทรีย์ในตัวอย่างที่ไม่สามารถระบุชนิดได้ และให้ข้อมูลเกี่ยวกับองค์ประกอบทางเคมีได้อย่างรวดเร็ว 4. การวิเคราะห์เชิงจุลทรรศน์ เป็นการวิเคราะห์อนุภาค เจล หรือวัสดุที่มีความละเอียดสูง ด้วยภาพจากกล้องจุลทรรศน์ สามารถใช้สำหรับการศึกษาอนุภาค ฟิลม์ หรือการแก้ปัญหาทั่วไป และในอนาคตจะมี Electron Microscope เพื่อช่วยวิเคราะห์ในเชิงลึกให้เห็นถึงลักษณะของโครงสร้างของสารที่ละเอียดยิ่งขึ้น  5. การวิเคราะห์เชิงปฏิกิริยาเคมี เพื่อประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากปฏิกิริยาเคมี รองรับการวิเคราะห์เพื่อตอบสนองต่อเหตุฉุกเฉินภายใน 24 ชั่วโมง ข้อมูลที่ได้สามารถนำไปใช้ในการป้องกันที่จะไม่ให้เกิดอุบัติเหตุขั้นร้ายแรงได้

ในส่วนศักยภาพการทำงานของศูนย์ฯ แบ่งออกเป็นสองส่วน คือ ในส่วนปัจจุบันที่ดำเนินการเป็นผลสำเร็จแล้ว และส่วนในอนาคตที่จะเพิ่มเติมขึ้นมา เนื่องจากศูนย์ฯยังมีพื้นที่ว่างที่จะรองรับบุคลากรและอุปกรณ์สำหรับใช้ในห้องแลป โดยศักยภาพปัจจุบันจะเป็นการวิเคราะห์สารระเหยโดยการแยก การวิเคราะห์สารตกค้างหรือสารปนเปื้อน การวิเคราะห์กลิ่นและสี การวิเคราะห์สิ่งปนเปื้อนในเจล การวิเคราะห์โลกหะหนักปริมาณต่ำ การทดสอบและตรวจสอบคุณสมบัติการติดไฟ คุณสมบัติเชิงเคมี และคุณสมบัติเชิงอุณหภูมิ เป็นต้น ส่วนในปี 2561-2563 จะเป็นพันธกิจในอนาคต คือ การวิเคราะห์โครงสร้างเพื่อระบุชนิดของสารที่ไม่ระเหย การตรวจสอบพื้นผิวขั้นสูงรวมถึงการวิเคราะห์เพื่อระบุชนิดของธาตุ การวิเคราะห์เพื่อหาปริมาณไออนบวกและลบ การพัฒนาวิธีการและเทคโนโลยีใหม่ การวัดความร้อนและการวิเคราะห์เชิงอุณหภูมิขั้นสูงผ่านการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์สำหรับปริมาณวิเคาราะห์ เป็นต้น ทั้งหมดนี้เพื่อส่งเสริมการเติบโตด้านวิทยาศาตร์ในประเทศไทย

ศูนย์การวิเคราะห์เพื่อการพัฒนาเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์แห่งนี้ นอกจากจะเป็นเทคโนโลยีการวิเคราะห์ขั้นสูงทางด้านวิทยาศาสตร์ เพื่อนำมาใช้เหลืองานด้านการผลิตและบริการกลุ่มธุรกิจลูกค้าของดาวแล้ว ศูนย์ฯแห่งนี้ยังรองรับนักศึกษาที่จบสายวิทยาศาสตร์เพื่อได้เข้ามาทำงานตรงตามสายงาน นับเป็นการเปิดโอกาสและส่งเสริมให้เกิดนักวิจัยเพิ่มมากขึ้น อันจะนำไปสู่การเติบโตด้านวิทยาศาสตร์ในประเทศไทยต่อไปในอนาคต


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save