โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่ผิดปกติทางด้านจิตใจ เกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย ตั้งแต่วัยเด็ก วัยรุ่น จนถึงผู้ใหญ่ที่อยู่ในวัยทำงาน จนถึงผู้สูงอายุ มีโอกาสเกิดโรคซึมเศร้าได้ ยิ่งภาวะการปัจจุบัน ทั้งสภาพแวดล้อม ความผิดปกติทางสังคม เศรษฐกิจ การงาน ความเป็นอยู่และสภาพแวดล้อมรอบตัว ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทั้งหนักและเบา ล้วนเป็นสาเหตุก่อให้เกิดโรคซึมเศร้าได้
พื้นฐานของมนุษย์ทุกคนที่กำเนิดขึ้นในโลกใบนี้ การเรียนรู้และพัฒนาการด้านจิตใจ มีเหตุปัจจัยหลักอยู่ 3 ประการ คือ
1.) ทางกรรมพันธุ์ จากการถ่ายทอดพื้นฐานจิตใจและร่างกายจากคุณพ่อคุณแม่ที่ให้กำเนิดเรามา เป็นเหตุปัจจัยที่ชีวิตดำเนินไปและแก้ไขได้ค่อนข้างยาก
2.) พื้นฐานการอบรมและเลี้ยงดูของคุณพ่อคุณแม่ หรือผู้ปกครองมีหลักการและใส่ใจกับการดูแลเด็กน้อยตั้งแต่เป็นทารกจนเป็นเด็กโต วัยรุ่น และเป็นผู้ใหญ่ ได้รับการเลี้ยงดูและพัฒนาการไปอย่างไร ความอบอุ่น ความรัก ความเมตตา การเลี้ยงดูและสภาพแวดล้อมที่ดีหรือไม่ ทั้งความอบอุ่นในครอบครัว ความอบอุ่นในวัยเรียน ความพร้อมของครอบครัว สภาพแวดล้อมทางการเงินของพ่อแม่หรือผู้ปกครองดูแลได้ครอบคลุมและให้ความรัก ความอบอุ่น ความเข้าใจ และสั่งสอนการคิดดี พูดจาดี และทำดีมากน้อยเพียงใด รวมถึงคุณครู อาจารย์ที่ให้ความรู้ ได้มีการอบรมและบ่มนิสัยให้เป็นคนดีและจิตใจที่เข้มแข็ง พอที่จะรับรู้ถึงความสำเร็จและความผิดหวังมากน้อยเพียงใด
3.) พื้นฐานจิตใจของแต่ละบุคคล ได้รับรู้และนำแนวปฏิบัติไปใช้ได้ถูกต้อง ถูกทางและแก้ไขปัญหาชีวิตอย่างไร มีจิตสำนึกไปในทางที่ดีหรือไม่ดี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพื้นนิสัยของแต่ละบุคคล เข้มแข็ง อดทนหรืออ่อนแอ ขึ้นอยู่กับการเรียนรู้ การรับรู้ถึงประสบการณ์ และประสบการณ์ของชีวิต
รวมความทั้ง 3 สถานะ เป็นตัวชี้และนำทางไปสู่สภาพของจิตใจที่เข้มแข็ง ไม่สร้างปัญหา ทางจิตใจหรือจิตใจที่อ่อนไหวและมักจะสับสนกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ปัญหาต่าง ๆ ก่อให้เกิดความรุนแรง ก้าวร้าว และรุนแรง จนเป็นปัญหาสังคม มักจะถูกโต้ตอบด้วยวิธีรุนแรงเช่นกัน ในขณะเดียวกัน ผู้ที่จิตใจอ่อนไหวและอ่อนแอทางจิตใจ มักจะสับสนกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ลังเล ไม่สามารถตัดสินใจกับปัญหา และแก้ไขปัญหาไม่ได้ บุคคลเหล่านี้จะเป็นที่มาของโรคซึมเศร้า
ที่มาของโรคซึมเศร้า มักเกิดกับบุคคลที่มีจิตใจอ่อนแอ ไม่มั่นคง ขาดความเชื่อมั่นในเรื่องต่าง ๆ และไม่เข้มแข็งพอที่จะรับหรือสู้กับปัญหาชีวิตต่าง ๆ ได้ ผู้ที่มีอาการของโรคซึมเศร้ามักจะโทษผู้อื่นรอบข้างว่าเป็นผู้ก่อปัญหาให้กับตัว โทษพรหมลิขิต โทษสิ่งศักดิ์สิทธ์ มักมีอาการเก็บตัว ไม่เข้าสังคม ชอบอยู่เงียบ ๆ คนเดียว ไม่คบเพื่อน อยู่ในโลกตัวเอง มีความสุขกับโลกส่วนตัวของตัวเอง และมีความกังวลเกินเหตุ อาจจะลงเอยด้วยการฆ่าตัวตาย ดังนั้นผู้ที่รู้ตัวว่าเป็นโรคซึมเศร้าต้องตั้งสติและให้กำลังใจตัวเอง “ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน” จึงจะมีทางออกให้เลือกได้ และคนใกล้ชิด อาจจะเป็นเพื่อน คนรัก หรือญาติ ต้องให้กำลังใจ ให้ความรัก ความเมตตา และรอยยิ้มมากขึ้น ชี้แนะให้คนที่เป็นโรคซึมเศร้าได้มีสติกลับคืนมาว่าทุกเหตุการณ์ยังไม่ได้เลวร้าย ยังมีทางออกที่ดีรออยู่ข้างหน้า มุ่งทำกิจกรรมเพื่อฟื้นสภาพร่างกายและฝึกสภาพจิตใจให้เข้มแข็ง เห็นความหวังที่ดีรออยู่ข้างหน้า ดังนั้นจึงบอกได้ว่าโรคซึมเศร้าต้องแก้ด้วยความเป็นเพื่อน การพูดให้กำลังใจเป็นหลัก ปฏิบัติที่สำคัญมากกว่ายา ผู้มีปัญหาต้องฝึกสติและความเข้มแข็งของจิตใจด้วย จึงจะหลุดพ้นจากโรคซึมเศร้าได้
ที่มา: หมอโฆษิต