โรคท้องเสีย (Diarrhea) อาการ สาเหตุ และการป้องกัน


อาการท้องเสีย เชื่อว่าทุกท่านคงจะเจอและพบมาแล้ว มีประสบการณ์มากมายเกี่ยวกับท้องเสียปัจจุบันอาการท้องเสียยังคงพบบ่อยและสร้างปัญหา จากโรคภัยเล็กๆ จนกลายเป็นโรคภัยใหญ่ๆ ได้ คงจะทบทวนและวิเคราะห์ปัญหาเป็นอย่างไร เพื่อหลีกเลี่ยงหรือป้องกันมิให้เกิดอาการท้องเสียย่อมเป็นผลดีต่อสุขภาพร่างกายของตัวเอง

ท้องเสีย เป็นอาการที่เกิดการถ่ายอุจจาระเหลว อาจเป็นเล็กน้อย ถ่ายไม่บ่อยครั้ง หรืออาจจะเป็นรุนแรง ถ่ายบ่อยครั้งมาก ในช่วงเวลาที่ใกล้เคียงกัน อาจจะถี่หรือไม่ถี่ ถือว่าเป็นอาการท้องเสีย

อาการร่วมที่มักพบบ่อย นอกจากมีท้องเสียแล้ว ยังมีอาการปวดท้องหรือไม่ปวดท้อง การปวดท้องมีทั้งที่ปวดรุนแรงและปวดไม่รุนแรง รวมถึงการมีท้องอืด ท้องเฟ้อ พะอืดพะอมจะคลื่นไส้หรืออาเจียน หรือมีคลื่นไส้และอาเจียนร่วมด้วย นอกจากนี้ อุจจาระเหลวที่ออกมาส่วนใหญ่เป็นน้ำ เนื้ออุจจาระไม่ค่อยมี ให้สังเกตด้วยว่ามีเลือดปนออกมาหรือไม่ เลือดปนออกมามากหรือน้อย อาการต่างๆ เหล่านี้ที่ยกตัวอย่างมา ย่อมมีผลต่อการวินิจฉัยโรคได้อย่างถูกต้อง สาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดอาการท้องเสีย มีดังนี้

1.) อาหารเป็นพิษ ส่วนใหญ่ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยด้วยอาการท้องเสียมักมาจากสาเหตุนี้   เนื่องจากอาหารและเครื่องดื่มต่างๆ ในปัจจุบัน มีสารปนเปื้อนมากมาย มีผลแสลงกับระบบย่อยอาหารของร่างกาย เช่น อาหารที่ไม่สด ปรุงไม่สุกเต็มที่ อาหารค้างคืน มีสารกันบูดเกินปริมาณสารตกค้างของเคมีเพื่อการถนอมอาหาร เช่น สารตกค้างของปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลงในผักและผลไม้ อาหารหมักดอง ปิ้งย่าง อาหารรสจัด สารฟอกขาว อาหารแปรรูปต่างๆ ฯลฯ การแพ้สารอาหารบางอย่าง เช่น แพ้โปรตีนในนมวัว แพ้โปรตีนในอาหารทะเล เป็นต้น รวมถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ นม ชา กาแฟ ที่มากเกินไป น้ำผลไม้ และน้ำอัดลม เป็นต้น

การเกิดท้องเสียจากอาหารเป็นพิษอาการมักไม่รุนแรง อาจมีปวดท้องหรือไม่มีปวดท้อง อาจมีคลื่นไส้อาเจียนหรือไม่มี ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะฟื้นตัวเร็วและหายเป็นปกติเร็ว

2.) ลำไส้ใหญ่อักเสบ มักมีอาการปวดท้องรุนแรง การถ่ายอุจจาระรุนแรงและถี่ ร่างกายอ่อนเพลียอาจมีอาการอาเจียนร่วมด้วย

3.) มะเร็งลำไส้ใหญ่ การถ่ายอุจจาระมักมีเลือดปนออกมาด้วย มากหรือน้อยแล้วแต่ระยะของมะเร็งในลำไส้ใหญ่ มักมีท้องอืด แน่นท้อง และปวดท้องรุนแรงร่วมด้วย รวมถึงท้องเสียบ่อย น้ำหนักตัวลด อ่อนเพลีย ซีด

อาการต่างๆ เหล่านี้ ถ้าเป็นครั้งคราวอาจแก้ไขด้วยการปรึกษาเภสัชกรร้านขายยาเพื่อรับประทานยาแก้อาการท้องเสียให้กลับสู่สภาพปกติได้ หากท้องเสียบ่อย เรื้อรัง ปวดท้องรุนแรง และหรือมีอาเจียนร่วมด้วยกับการถ่ายอุจจาระ มีเลือดปน ควรพบแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยให้ถูกต้อง ว่าท้องเสียจากสาเหตุอะไร เพื่อการรักษาที่ถูกต้องต่อไป

การป้องกัน ระมัดระวังอาหารและเครื่องดื่มทุกชนิด ทานให้พอเหมาะ ไม่อิ่มเกินไป ดื่มน้ำเปล่าที่สะอาดวันละ 6-8 แก้ว (1 ½ – 2 ลิตร) ไม่ปล่อยให้ท้องผูก ควรรับประทานผักและผลไม้เป็นประจำ ดื่มนมเปรี้ยวบ้าง เพื่อเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อลำไส้ใหญ่ช่วยป้องกันและแก้ไขปัญหา ออกกำลังกาย จิตใจแจ่มใส ไม่เครียดทั้งกายและใจเกินไป


ที่มา: หมอโฆษิต


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save