เมื่อ “ดิจิทัล” เป็นเครื่องมือสำคัญในการฟื้นฟูโลกสีเขียว


วิกฤติ COVID-19 ในขณะนี้ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม และวิถีชีวิตของประชาชนทั่วโลกในวงกว้าง ทำให้เราต้อง ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การดำเนินการให้สอดรับกับวิถีที่มีความคล่องตัวและยั่งยืนมากขึ้น เพื่อให้ทุกฝ่ายสามารถฟื้นตัว กลับมาได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งป้องกันวิกฤติจากประวัติศาสตร์ซ้ำรอย ในอนาคต ทั้งนี้ บรรดาผู้เชี่ยวชาญจากทั่วโลกต่างมองว่า หนึ่งในเครื่องมือที่จะช่วยให้การฟื้นฟูอย่างยั่งยืนเป็นจริงขึ้นมาได้ก็คือ “เทคโนโลยีดิจิทัล” ซึ่งจะเป็นองค์ประกอบสำคัญของการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ในยุคหลัง COVID-19 ภายในงานสัมมนาออนไลน์หัวข้อ “A green recovery in Asia: Opportunities for concerted action” ซึ่งจัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้

แคทเธอรีน เฉิน รองประธานอาวุโสและ ผู้อำนวยการคณะผู้บริหาร บริษัท หัวเว่ย ได้กล่าวว่า เราเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่า การนำเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้เพื่อช่วยอนุรักษ์โลกของเราเป็นสิ่งจำเป็น เราได้เห็นภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคประชาชน หันมาให้ความสำคัญกับปัญหาด้านธรรมชาติและภาวะโลกร้อนมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหัวเว่ยเชื่อมั่นว่าศักยภาพของเราไม่ได้จำกัดอยู่แค่การผลักดันเทคโนโลยีให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการผลักดันศักยภาพของสังคมโลก และมุ่งมั่น อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืนด้วยเช่นกัน

แคทเธอรีน เฉิน
แคทเธอรีน เฉิน รองประธานอาวุโสและ ผู้อำนวยการคณะผู้บริหาร บริษัท หัวเว่ย

ที่ผ่านมา บริษัทเทคโนโลยีบางรายได้ริเริ่มโครงการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมไปบ้างแล้ว โดยหัวเว่ยได้ปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินการของ องค์กรไปแล้วหลายโครงการในปัจจุบัน เพื่อให้ตอบโจทย์การพัฒนาอย่างยั่งยืน อาทิ ลดจำนวนการใช้กระดาษกว่า 350 ตัน ลดการใช้พลังงาน กว่า 60% ในระบบหลังบ้านของโซลูชันต่างๆ รวมถึงใช้แผงโซลาร์เซลล์ ผลิตพลังงานมากกว่า 6 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง ในเขตปกครองตนเอง หนิงเซี่ยหุย เป็นต้น

“ในปี ค.ศ. 2021 นี้ หัวเว่ยจะยังคงมุ่งหน้าลดการ ปล่อยก๊าซเรือนกระจกและหันมาใช้พลังงานทดแทน เพื่อรองรับเศรษฐกิจที่ยั่งยืนต่อไป ต่อยอดไปถึงการพัฒนา ผลิตภัณฑ์ 5G ให้ใช้พื้นที่น้อยลง ใช้ไฟน้อยลง รวมถึงพัฒนาระบบคลาวด์และปัญญาประดิษฐ์ (AI) ให้ใช้งานง่ายขึ้น สำหรับคู่ค้าและภาคอุตสาหกรรมทุกฝ่าย เพื่อให้ สามารถสร้างผลิตภัณฑ์หรือโซลูชันที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มากขึ้น เพราะวิถีการฟื้นฟูที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องของทุกประเทศ ทุกองค์กร และประชาชนทุกคน เราจึงจำเป็นต้องจับมือเพื่อร่วมกันสร้างโลกที่สวยงาม ล้ำสมัย และเท่าเทียมให้เกิดขึ้นต่อจากนี้” แคทเธอรีน เฉิน กล่าว

เทคโนโลยี

ในบรรดาผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานนานาชาติต่างมีความเห็น ไปในทิศทางเดียวกันว่า เทคโนโลยีดิจิทัลคือคำตอบของปัญหาสิ่งแวดล้อม ในปัจจุบัน โดย ยอน ชุล ยู ทูตภาวะโลกร้อนจากกระทรวงการต่างประเทศ สาธารณรัฐเกาหลีใต้ มองว่าการพัฒนาของเทคโนโลยีจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตมนุษย์ในแบบที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในเวลา 20 ปีต่อจากนี้ ซึ่งการเปลี่ยนผ่านเชิงดิจิทัลจะนำไปสู่การลดการใช้พลังงานที่ก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ลงทุนด้านเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง เพื่อวางอนาคตที่สดใสให้แก่เยาวชนรุ่นถัดไป

“ทุกภาคส่วนต้องทำความเข้าใจและมองหาโอกาสจากสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนั้นไม่สามารถเกิดขึ้นได้จากภาครัฐ ภาคธุรกิจ หรือภาคสังคม เพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง แต่ต้องเกิดจาก ความร่วมมือกันของทุกฝ่ายเพื่อให้การเปลี่ยนแปลงเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ” ยอน ชุล ยู กล่าว

การนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย

อาซาด นาควี หัวหน้าฝ่ายเลขานุการ โครงการ The Partnership for Action on Green Economy (PAGE) สหประชาชาติ กล่าวถึงบทบาทของเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีผลต่อการฟื้นฟูสู่โลกสีเขียวว่า โครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีถือเป็นสิ่งสำคัญมากในขณะนี้ เพราะทุกอย่างจะ ปรับเปลี่ยนสู่การเป็นดิจิทัลทั้งหมด ข้อมูลจะเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ และการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืนจำเป็นต้องพึ่งเทคโนโลยีดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์ (AI : Artificial Intelligence)

“ปัจจุบันเราจะเห็นได้ว่าภาครัฐในหลายประเทศให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมากขึ้น ซึ่งประเทศไทยเองเป็นหนึ่งในประเทศที่อนุมัติแผนการพลิกฟื้นและพัฒนาเศรษฐกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม “Green Recovery” ตอนนี้เรามีโอกาสตัดสินใจว่าจะให้อนาคตต่อจากนี้ เป็นอย่างไร และเราสามารถใช้โอกาสนี้เพื่อรีเซ็ตโมเดลธุรกิจหรือวิถีชีวิตของเราใหม่ เพื่อให้เป็นไปอย่างยั่งยืน” อาซาด กล่าว

เมิง หลิว หัวหน้าโครงการ UNGC สาขาภูมิภาคเอเชียและ โอเชียเนีย กล่าวว่า ความต้องการใช้งานโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี และข้อมูลจะเป็นสิ่งสำคัญมากในโลกยุคหลัง COVID-19 สังเกตได้จากในปัจจุบันที่เราหันมาใช้โปรแกรมประชุมออนไลน์ เช่น Zoom มากขึ้น ผลการศึกษาจากสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศระบุว่า เราต้องใช้เงินทุนประมาณ 428,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อให้คนจำนวน 3,000 ล้านคนที่เหลือทั่วโลกเชื่อมต่อถึงกันได้ภายในปี ค.ศ. 2030 งบประมาณการลงทุนก้อนนี้จะมาจากภาคเอกชนถึง 70% ซึ่งควรให้ความสำคัญในการทำให้โครงสร้างพื้นฐานทั้งโครงข่ายและดิจิทัลเป็นไปอย่างยั่งยืน


Source: นิตยสาร Green Network ฉบับที่ 103 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2564 คอลัมน์ Technology โดย กองบรรณาธิการ


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save