ค่าไฟฟ้าแพง : นานาทัศนะ ผลกระทบ และแนวทางแก้ปัญหา


ก่อนที่ปัญหาค่าไฟฟ้าเมืองไทยที่สูงเกินจริงจะเงียบหายไป กลายเป็นปัจจัยเงียบที่คอยกัดกร่อนเศรษฐกิจไทยให้ขาดความสามารถ ในการแข่งขัน และประชำชนอาจจะยากจนลงไปกว่านี้ หลายๆ คนอาจเห็นด้วยกับแนวคิดของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานคนปัจจุบัน เรื่อง “การรื้อโครงสร้างค่าไฟฟ้าใหม่” ซึ่งมีหลากหลายข้อเสนอ อาทิ ปริมาณไฟฟ้าสำรองที่สูงกว่าที่ควรจะเป็น การที่ประเทศไทยพึ่งพาการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติมากเกินไป สัญญาซื้อขายไฟฟ้าระหว่างรัฐกับเอกชนที่อาจไม่เป็นธรรม เช่น ค่าความพร้อมจ่ายไฟฟ้า (Availability Payment) หรือแม้แต่แนวความคิดในการรวม 3 การไฟฟ้าเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการบริหารลง การบังคับใช้กฎหมายป้องกัน การผูกขาดและปฏิบัติทางการค้าไม่เป็นธรรม และที่สำคัญ ทั้ง 3 การไฟฟ้าควรเปิดโอกาสให้เอกชนผลิตไฟฟ้า หรือซื้อขายไฟฟ้ากันเอ ได้อย่างสะดวก และลดค่าผ่านสายไฟฟ้า (Wheeling Charge) ซึ่งสร้างด้วยงบประมาณของประชาชน เป็นต้น บทความ Green Network ฉบับนี้จึงได้รวบรวมความคิดเห็นส่วนตัวจากตัวแทนหลากหลายองค์กรมาให้ท่านพิจารณา ลองอ่านทัศนะจากผู้เกี่ยวข้องกับพลังงาน ในด้านต่างๆ ระหว่างรอรัฐบาลใหม่ที่ใกล้จะเลือกตั้งเข้ามาทุกที

ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์

ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI)

เหตุผลที่ทำให้ค่าไฟฟ้าในประเทศไทยสูงมากไม่ได้เกิดจากปัจจัยภายนอก ที่ราคาพลังงานในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้น และการที่เศรษฐกิจไทยเติบโตช้าจากการระบาดของโควิด-19 อย่างที่มีการพูดกันเท่านั้น แต่ยังเกิดจากการที่การคาดการณ์ ปริมาณไฟฟ้าโดยภาครัฐที่คาดการณ์เกินจริง (Over Forecast) เป็นอย่างมาก ซึ่งดูได้จากปริมาณไฟฟ้าสำรอง (Reserve Margin) ที่สูงกว่าร้อยละ 30 และทำให้ ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าของประเทศอยู่ในระดับสูง

องค์การพลังงานระหว่างประเทศ (International Energy Agency : IEA) ได้ตั้งข้อสังเกตไว้เมื่อ ค.ศ. 2021 ว่า ประเทศไทยมีสำรองการผลิตไฟฟ้า (Capacity Margin) อยู่ในระดับสูงมากกว่ามาตรฐานทั่วไปที่หลายประเทศใช้กันที่ระดับร้อยละ 10-15 หากแม้การผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นตามแผน PDP2018 แล้ว ประเทศไทยจะยังคงมีอัตราปริมาณไฟฟ้าสำรองสูงถึงร้อยละ 25 ในปี ค.ศ. 2037 (พ.ศ. 2580)(แม้ว่าจะไม่มีการต่อสัญญารับซื้อไฟฟ้าจากโรงปัจจุบันที่ทยอยหมดอายุแล้วก็ตาม) ดังภาพประกอบ

ปริมาณสำรองการผลิตไฟฟ้า

รศ. ดร.นิพนธ์ เกตุจ้อย
ผู้อำนวยการวิทยาลัยพลังงานทดแทน และสมาร์ตกริดเทคโนโลยี (SGtech) มหาวิทยาลัยนเรศวร

รศ. ดร.นิพนธ์ เกตุจ้อย

ประเด็นเรื่องค่าไฟฟ้าแพง ไม่ได้เป็นประเด็นที่ถูกกล่าวถึงในสังคมไทยมานานพอสมควรจากเสียงบ่นของผู้ใช้ไฟฟ้า โดยเฉพาะจากภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรม ดังสนั่นขึ้น เนื่องจากค่า Ft มีค่าเป็นลบมานานกว่า 6 ปี คือตั้งแต่ช่วงปลาย พ.ศ. 2558 จนถึงสิ้น พ.ศ. 2564 ซึ่งหลังจากต้น พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา ค่า Ft ทยอยปรับขึ้นเป็นบวก จาก 1 สตางค์กว่า มาจนถึง ณ สิ้น พ.ศ. 2565 เป็นเกือบ 1 บาท สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านพักอาศัย ซึ่งจะคงอัตราค่า Ft นี้ต่อไปอีก 4 เดือนข้างหน้า (มกราคม-เมษายน 2566) เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายในครัวเรือน หากในส่วนของผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทอื่นๆ แน่นอน หมายถึงผู้ใช้ไฟฟ้าจากภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรม จะต้องจ่ายค่าไฟที่แพงสุดเป็นประวัติการณ์ ประมาณ 1.50 บาท ในสภาวะที่ประเทศกำลังเริ่มฟื้นตัวจากสถานการณ์โควิด-19 สภาพเศรษฐกิจที่ยังเปราะบางและมีความไม่แน่นอนสูง การที่ราคาค่าไฟฟ้าขยับสูงขึ้นในช่วงเวลานี้ หลายภาคส่วนจึงเห็นว่าไม่น่าจะเหมาะสม

ในมุมมองของผม ภาครัฐอาจพิจารณาใช้เครื่องมืออื่นๆ มาบริหารจัดการค่า Ft ให้ ต่ำลงได้ เช่น การส่งเสริมให้ผลิตไฟฟ้าด้วยโซลาร์รูฟท็อปประเภทบ้านพักอาศัย ที่หลายฝ่าย พยายามเรียกร้องให้ตั้งแต่ขั้นตอนการขออนุญาตจนกระทั่งได้รับใบอนุญาตสะดวกและ ง่ายที่สุด ลดเงื่อนไขที่ไม่จำเป็นหรือเงื่อนไขที่อาจกลายเป็นต้นทุนทั้งทางตรงและทางอ้อม จนทำให้ผู้ใช้ไฟฟ้ามองการติดตั้งระบบดังกล่าวเพิ่มเป็นค่าใช้จ่ายมากกว่าผลประหยัดพลังงาน อีกทั้งการขอให้คิดค่าไฟฟ้าแบบหักลบกลบหน่วยตามจริง (Net Metering) และการอนุญาต ให้จ่ายไฟไหลย้อนเข้าระบบโครงข่ายไฟฟ้าได้ โดยไม่ต้องรับซื้อไฟฟ้าส่วนดังกล่าว ก็น่าจะ นำมาพิจารณาเพื่อภาคประชาชนสามารถมีส่วนร่วมในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด ได้ดีกว่าการที่จำกัดโอกาสในการผลิตไฟฟ้าจากระบบเซลล์แสงอาทิตย์ แม้ว่าจะมีข้อห่วงใย ด้านความมั่นคงในระบบไฟฟ้าจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่ผมเชื่อว่าเทคโนโลยีปัจจุบัน สามารถช่วยในการบริหารจัดการเรื่องนี้ได้แน่นอน เพียงแต่หากเราเปลี่ยนแนวคิดและมุมมอง ในการลงทุนในโครงข่ายไฟฟ้าให้รองรับการเพิ่มขึ้นของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด และพยายามใช้ประโยชน์จากแหล่งพลังงานสะอาดที่มีอยู่ในประเทศให้เกิดประโยชน์ สูงที่สุด มากกว่าการมองเป็นสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในระบบดังเช่นที่ผ่านมา ด้วยเกรงว่า หน่วยงานการไฟฟ้าจะถูกลดความสำคัญลง แต่แท้ที่จริงแล้วยังคงเป็นแกนหลักสำคัญใน อุตสาหกรรมไฟฟ้าอยู่เช่นเดิม เมื่อมีรูปแบบการทำธุรกิจท่ีหลากหลายเพ่ิมข้ึน ผู้ใช้ไฟฟ้า ทุกกลุ่มมีทางเลือกมากขึ้นบนพื้นฐานของเศรษฐกิจแบบแบ่งปัน (Sharing Economy) เพื่อ ความยั่งยืนของพลังงานไทยในระยะยาว

สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทอื่นๆ รัฐควรส่งเสริมและเปิดโอกาสให้มีการผลิตไฟฟ้าจาก แหล่งพลังงานสะอาดอื่นๆ ที่มีต้นทุนต่ำ ซื้อขายผ่านโครงข่ายไฟฟ้าของการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง โดยกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมผ่านสาย (Wheeling Charge) ที่เหมาะสมให้ภาคเอกชน พร้อมดำเนินการ

วิกฤตด้านพลังงานเป็นส่ิงที่ทุกฝ่ายต้องร่วมกันหาทางออกและมองหาตัวเลือกอื่นๆ อาจถึงเวลาแล้วที่ต้องยอมรับว่า โครงสร้างในอุตสาหกรรมไฟฟ้าแบบเดิมไม่ยืดหยุ่นเพียงพอ ในการรองรับวิกฤติและชีวิตวิถีใหม่ของผู้บริโภคไฟฟ้า … ที่ไม่มีทางเลือกให้ผู้ใช้ไฟฟ้า

ดร.สุวิทย์ ธรณินทร์พานิช
ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (F.T.I.)

สาเหตุค่าไฟฟ้าแพงมาจากหลายปัจจัย ดังต่อไปนี้

  1. การวางแผนในระดับนโยบายที่ผิดพลาด มององค์ประกอบไม่ครบถ้วน ขาดความรู้ความเข้าใจ และไม่ได้ดูสถานการณ์ โลกให้ถ่องแท้ ผู้บริหารพลังงานในระดับ นโยบายซึ่งมาจากการแต่งตั้งของรัฐบาลใน แต่ละชุดมีความรู้ด้านเดียวคือ ความรู้พลังงาน แต่ข้อเท็จจริง “พลังงาน” นั้นอยู่ในทุกอณู ของเศรษฐกิจไทยและของโลก ดังนั้นผู้บริหาร พลังงานต้องมีความรู้ที่หลากหลายจึงจะได้ องค์ประกอบที่ครบถ้วนมาใช้ในการตัดสินใจ การกำหนดนโยบายใดนโยบายหนึ่งจะส่งผล กระทบต่อภาคกำกับและภาคปฏิบัติ โดยเฉพาะ นโยบายที่มีการแทรกแซงความคิดการกำกับ และการทำงาน ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลาการ บริหารงานของรัฐบาลทุกชุดที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงระยะเวลา 5 ปีนี
  2. การเลือกวัตถุดิบเพื่อผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้า อาทิ ก๊าซธรรมชาติ (Liquid Natural Gas : LNG) ด้วยประเมินว่าราคา LNG จะถูกและราคานิ่งยาวตลอด 20 ปี! จึงมุ่งเป้าไปที่ต้นทุน พลังงานเดียว เหมือนกับการซื้อลอตเตอรี่รางวัลที่ 1 หากไม่ได้ คือล้มเลย หรือนี่อาจเป็นดัชนีชี้วัด ผลงาน (Key Performance Indicator : KPI) ของการบริหารความเสี่ยง (Risks Management) ณ ขณะนั้น การที่ผู้บริหารระดับสูงของประเทศกล่าวว่า ราคาพลังงาน โดยเฉพาะก๊าซ LNG จะมี ราคาถูกและไม่ผันผวน อาจเป็นเหตุผลใหญ่ในการต่ออายุสัมปทานของบริษัทขุดเจาะก๊าซในทะเล อ่าวไทย และกำหนดนโยบายในการซื้อ Long Term Gas เมื่อผู้ปฏิบัติเกิดข้อสงสัย ไม่กล้าปฏิบัติโดย ทันที ซึ่งเกรงว่าการตัดสินใจต่อสัญญาโดยเร็วอาจจะทำให้ก่อผลเสีย เนื่องจากเชื่อว่าราคา LNG ท่ี ผู้บริหารระดับสูงบอกจะมีราคาต่ำลงไปเรื่อยๆ หากไม่รีบดำเนินการอาจส่งผลต่อหน้าที่การงานได้
  3. สถานการณ์ภาวะโลกร้อน Climate Change และการประกาศเจตนารมณ์ของประเทศไทย ใน COP26 และ COP27 ที่ทำให้ประเทศไทยต้องประกาศความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี ค.ศ. 2050 แต่นโยบายที่ออกมาดูเหมือนไม่สามารถจะเป็นไปตามที่ ประกาศได้
  4. ปริมาณไฟฟ้าสำรองของประเทศที่เกินความต้องการ อันเนื่องมาจากการพยากรณ์ความ ต้องการใช้ไฟฟ้าจาก GDP ของประเทศ ณ ขณะนั้น เมื่อเกิดภาวะโรคระบาดโควิด-19 ทำให้ปริมาณไฟฟ้าสำรองส่วนเกินมีจำนวนมากยิ่งขึ้น ซึ่งสวนทางกับความต้องการการใช้ไฟฟ้าท่ี ลดลง
  5. สถานการณ์สงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครนที่เข้ามากระทบ ยิ่งทำให้เหมือนการวางแผน พลังงานของประเทศผิดพลาดหลายจุดจนเกินจะรักษาเสถียรภาพของราคาพลังงานต่อไปได้
  6. สถานการณ์ค่าเงินบาทที่อ่อนตัวในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา ซึ่งเคยอ่อนตัวถึง 38 บาทต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น การกำหนดนโยบายที่ผิดพลาดเหล่านี้เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ประเทศกลับหาผู้รับผิดชอบไม่ได้ เนื่องจากเสถียรภาพทางการเมืองไทยไม่เอื้ออำนวย และผู้บริหารของ ประเทศอาจชะลอดูความเปลี่ยนแปลงก่อนตัดสินใจครั้งใหม่

ข้อเสนอแนวทางการแก้ไขราคาค่าไฟฟ้าแพง สามารถวางแผน 3 ระดับ ดังต่อไปนี้

  1. ระยะส้ัน (1-3 ปี) แก้ปัญหาค่าไฟฟ้าแพงเฉพาะหน้าด้วยมาตรการการเงินการคลัง เข้ามาช่วย
  2. ระยะกลาง (4-10 ปี) ลดสัดส่วนโรงไฟฟ้าที่มาจากเชื้อเพลิงฟอสซิล เพิ่มการสนับสนุน พลังงานสะอาดที่ทั่วโลกให้ความสนใจให้มากขึ้น โดยมีเป้าหมายอาจแล้วเสร็จไม่น้อยกว่าที่ประเทศ ต่างๆ กำหนด ท้ังน้ี ควรคำนึงถึงองค์กรต่างๆ ท่ีมาใช้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิต มีความต้องการ พลังงานสะอาด ซึ่งมีความเร็วกว่านโยบายในระดับประเทศ
  3. ระยะยาว (1-10 ปีขึ้นไป) มุ่งสู่การเปิดการซื้อขายไฟฟ้าเสรี (ซึ่งควรเริ่มการเปิดตลาด ไฟฟ้าเสรีตั้งแต่วันนี้ เพื่อนำไปสู่เป้าหมายในอีก 10 ปีข้างหน้า) เพื่อให้เกิดการแข่งขันทางด้านราคา ที่เป็นธรรมกับทุกฝ่าย ทั้งในระดับรากหญ้าจนถึงผู้ผลิตขนาดใหญ่
    ดังนั้นแล้วประเทศไทยจึงน่าห่วง และผมห่วงประเทศไทยมาก ขอโอกาสให้ข้อมูลรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงพลังงานคนใหม่ และหากเป็นไปได้ ขอมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อนโยบายที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศต่อไป

สรุป

เวลานี้ไม่ใช่เวลาหาสาเหตุ ถามหาความผิดว่าเหตุใดค่าไฟฟ้าประเทศไทยมีราคาแพง เกินความสมควร หากสิ่งที่สามารถเห็นได้อย่างเป็นรูปธรรมก็คือ ประสิทธิภาพการทำงานของ ภาครัฐที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เคยส่งเสริมให้มีการใช้ก๊าซธรรมชาติผลิต ไฟฟ้าในสัดส่วนที่สูงเกือบร้อยละ 70 การซื้อไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิลที่มีต้นทุนสูงและต้อง นำเข้า การส่งเสริมการซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนในปัจจุบันมีราคาเฉลี่ยต่ำกว่าเชื้อเพลิง ฟอสซิล และสามารถขายไฟฟ้าได้อย่างเสถียรให้ภาครัฐได้ในระบบ Semi Firm และขยับเป็น Firm ในอนาคต ความหวังความฝันของการใช้ไฟฟ้าในราคา “Low Cost” ดังเช่นสายการบิน อาจอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม

วิศิษฐ์ ลิ้มลือชา

  • นายกกิตติมศักดิ์ สมาคมผู้ผลิตอาหาร สำเร็จรูป

  • ประธานคณะกรรมการธุรกิจอาหาร แปรรูปและอาหารแห่งอนาคต

วิกฤตพลังงานส่งผลกระทบต่อต้นทุน การผลิตในอุตสาหกรรมทุกประเภท เริ่มตั้งแต่ ภาคการเกษตรที่มีการเปลี่ยนมาใช้ไฟฟ้า มากขึ้น เช่น การเพิ่มระบบห้องเย็น เพื่อให้ เก็บผลผลิตทางการเกษตรที่เก็บเกี่ยวแล้วให้นานขึ้น การใช้ไฟฟ้าในการควบคุมอุณหภูมิในกระบวนการแปรรูปอุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมอาหารแช่เย็นแช่แข็ง ซึ่งจะมีการใช้กำลังไฟฟ้าสูง รวมทั้งอุตสาหกรรมน้ำแข็ง นอกจากนี้ ในกระบวนการผลิต อาทิ เครื่องจักร สมัยใหม่ รวมถึงคลังสินค้ายุคใหม่ที่ปรับมาใช้ระบบอัตโนมัติ (Automation) เพิ่มมากขึ้น

กลุ่มอุตสาหกรรมอาหารมีการใช้ไฟฟ้าคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 12 โดยการผลิตสินค้าอาหารกระป๋องมีโครงสร้างต้นทุนด้านพลังงานคิดเป็นร้อยละ 5-10 ส่งผลกระทบต่อต้นทุนในการผลิตอาหารกระป๋องเพิ่มขึ้นราวร้อยละ 10 ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ขนาดของกิจการ แรงม้าของ เครื่องจักร ระบบจัดการการผลิต ผังการผลิต ชนิดของวัตถุดิบ การบริหารจัดการด้านพลังงาน และปัจจัยอื่นๆ โดยหากเป็นโรงงานขนาดเล็กจะใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 30 KVA โรงงานขนาดกลางจะใช้พลังไฟฟ้าสูงสุด 30-1,999 KVA และโรงงานขนาดใหญ่จะใช้ไฟฟ้าตั้งแต่ 2 MVA

สำหรับอุตสาหกรรมที่มีกระบวนการผลิตต่อเนื่อง อาทิ อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมเคมี โรงกลั่น เป็นต้น คุณภาพของไฟฟ้ามีผลกระทบต่อผลผลิตของโรงงานสูง หากระบบไฟฟ้าขัดข้อง อาจทำให้สินค้าระหว่างการผลิตทั้งหมดเสียหาย อุตสาหกรรมที่มีกระบวนการผลิตแบบ Batch Flow อาทิ โรงงานทอผ้า อุตสาหกรรมอาหารแปรรูปบางประเภท โรงถลุงเหล็ก เป็นต้น การขัดข้องของ ระบบไฟฟ้าอาจทำให้สินค้า Lot นั้นไม่ได้คุณภาพตามมาตรฐาน และอุตสาหกรรมที่มีกระบวนการ ผลิตที่ไม่ต่อเนื่อง การหยุดผลิตไม่ได้ทำให้สินค้าหรือวัตถุดิบที่อยู่ในสายการผลิตเสียหาย แต่กระทบ ต่อเศรษฐกิจหากไม่สามารถดำเนินการได้ เช่น อุตสาหกรรมประกอบรถยนต์ โรงงานผลิตชิ้นส่วน อะไหล่ โรงโม่หิน เป็นต้น

ภาคเอกชนจึงมีความกังวลต่อการปรับขึ้นค่าไฟฟ้างวดใหม่ในรอบเดือนมกราคม-เมษายน 2566 ที่จะปรับขึ้นมากกว่า 5 บาทต่อหน่วย จะส่งผลกระทบซ้ำเติมต่อภาคธุรกิจและภาคครัวเรือน ในภาวะที่เงินเฟ้ออยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานเข้มข้น ซึ่งอาจต้องปรับเพิ่มขึ้น ร้อยละ 5-12 โดยคำนวณจากต้นทุนค่าไฟฟ้าที่เคยปรับขึ้นก่อนหน้านี้ นี่อาจเป็นแรงผลักดันให้ ต่างประเทศหันไปลงทุนในประเทศคู่แข่งที่มีการผลิตสินค้าคล้ายกับไทยแทน

ช่วงเวลาที่ผ่านมาภาคเอกชนได้เสนอแนวทางบรรเทาผลกระทบจากการปรับค่า Ft ด้วยการ ตรึงราคาค่าไฟฟ้าบางกลุ่ม โดยไม่ผลักภาระต้นทุนส่วนเพ่ิมให้ผู้ใช้ไฟฟ้าส่วนที่เหลือ จัดสรรวงเงินให้ยืมและชะลอส่งเงินรายได้เข้าคลัง ตลอดจนปรับโครงสร้างค่าไฟฟ้าแบบขั้นบันไดสำหรับผู้ใช้ ไฟฟ้าน้อยให้จ่ายในอัตราที่ถูกกว่า เพื่อลดผลกระทบต่อผู้ประกอบการและนำค่าไฟฟ้าในส่วนที่เพิ่ม นั้นมาหักค่าใช้จ่ายหรือลดหย่อนภาษีได้ รวมถึงลดการพึ่งพาก๊าซธรรมชาติ ส่งเสริมให้ใช้พลังงาน ทางเลือกมากขึ้น และเสนอแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนด้านพลังงาน

จากการหารือกับกระทรวงพลังงานล่าสุด ภาคเอกชนได้เสนอขอให้พิจารณาขยายระยะเวลา การส่งคืนเงินต้นสำหรับลูกค้าที่เป็นผู้ผลิตไฟฟ้าภาคเอกชนออกไปอีก 1 ปี อัตราดอกเบ้ียในราคาถูก ขอความร่วมมือผู้ประกอบการที่ใช้เชื้อเพลิงจากก๊าซธรรมชาติ 100% ให้ลดการใช้ลงเหลือร้อยละ 80 โดยเพิ่มสัดส่วนการใช้น้ำมันดีเซลที่มีราคาถูกกว่าร้อยละ 20 หรือใช้พลังงานทดแทนอื่นที่เหมาะสม เพื่อให้ก๊าซธรรมชาติของไทยกลับเข้าสู่ระบบมากขึ้นในกลางปี พ.ศ. 2566 เพื่อให้การคำนวณค่า Ft ในรอบถัดไปมีอัตราลดลง รวมถึงการแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนด้านพลังงาน เพื่อร่วมกันหารือแก้ไขปัญหาและสร้างความเข้าใจในด้านพลังงานที่มีผลกระทบต่อทุกภาคส่วน

อย่างไรก็ตาม ด้วยสภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอตัวลง อาจส่งผลให้การฟื้นตัว หลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 ไม่เป็นไปตามคาดการณ์ไว้ อุตสาหกรรมต่างๆ ในโลกมีแนวโน้ม ใช้พลังงานน้อยลง ส่งผลให้ระดับราคาพลังงานเปลี่ยนทิศทาง รวมถึงอัตราแลกเปลี่ยนที่มีความ ผันผวนสูง สถานการณ์ค่าเงินบาทที่กลับมาแข็งค่า ซึ่งหากมีการบริหารจัดการด้านต้นทุนการนำเข้าพลังงานได้ดี ก็จะมีส่วนที่ช่วยให้ต้นทุนภาพรวมของพลังงานและไฟฟ้าในประเทศไทยจะได้รับผลกระทบน้อยลงต่อไป

The sky rocket electricity price becomes the spotlight to Thailand after the COVID-19 economic recovery. In this article, we brought various personal opinions from different angles to share their thoughts, recommendations and suggestions regarding to this hot issue. Starting from Dr.Somkiat Tangkitvanich, TDRI, has shown the figure from IEA 2021 that Thailand has 30% reserve margin energy while others have 10-15%. Associate Professor Nipon Ketjoy, Ph.D., SGtech, suggests that the government should sincere welcome the solar rooftop household program by lessen the obstructed regulations, encourages the use of local (renewable) energy and gives the rights to choose and use source of power to the users. Suvit Toraninpanich Ph.D., F.T.I. gives numerous concerns regarding to the power price soar. He also recommends 3 plans solving this concern. Especially, he also signs up to support the new elected cabinet if possible.

Lastly, Mr.Visit Limlurcha, TFPA, has overviewed the energy intensity in various industries, given recommendations under The Joint Standing Committee on Commerce, Industry and Banking (JSCCIB). With all good thoughts and strong support, we look forward to the better economy, better investment and maybe better power price. Just like the “Low Cost” airlines.


Source: นิตยสาร Green Network ฉบับที่ 115 มกราคม – กุมภาพันธ์ 2566 คอลัมน์ บทความ โดย พิชัย ถิ่นสันติสุข


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save