ยั่งยืนด้วย Green


องค์กรธุรกิจอุตสาหกรรมในวันนี้ นอกจากต้องให้ความสำคัญกับเรื่องของ “กำไรขาดทุน” แล้ว (โดยเฉพาะ เรื่อง “รายได้และผลประโยชน์ระยะสั้น” แล้ว) “ผู้บริหาร” ยังจะต้องให้ความสำคัญกับเรื่องของ “ความอยู่รอด” และ “ความยั่งยืน” ในระยะยาวอย่างเป็นระบบด้วย

ดังนั้น ผู้บริหารจะต้องเอาใจใส่กับ “ความอยู่รอด” เฉพาะหน้า ด้วยการบริหารจัดการในเรื่องของ “ต้นทุน คุณภาพ การบริการ และความรวดเร็ว” อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล

ในขณะเดียวกัน “ผู้บริหาร” ยังจะต้องให้ความสำคัญกับเรื่องของ “ความปลอดภัย สุขอนามัย และสิ่งแวดล้อม” ด้วยแนวความคิดของ “ความรับผิดชอบต่อสังคม” (Social Responsibility) อย่างจริงจังมากขึ้น เพื่อ “ความยั่งยืนของกิจการ” โดยเฉพาะเรื่องของ “ผลิตภาพสีเขียว” (Green Productivity)
ทุกวันนี้ธุรกิจอุตสาหกรรมได้รับแรงกดดันจากสังคมมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อแสดงให้เห็นถึง “ความรับผิดชอบ” ต่อปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมและอันตรายต่างๆ ที่เกิดจากการประกอบกิจการ องค์กรต่างๆ จึงต้องให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาและการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการประเมินและการจัดการความเสี่ยงในการทำงานและต่อสิ่งแวดล้อมในกระบวนการผลิตและประกอบกิจการด้วย

“ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร” (Corporate Social Responsibility : CSR) จะหมายถึง การที่องค์กร ธุรกิจอุตสาหกรรมดำเนินงานและประกอบกิจการอย่าง มีความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆ ขององค์กร ที่ได้รับผลกระทบจากกระบวนการผลิตและการดำเนินธุรกิจทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ

ผู้มีส่วนได้เสียขององค์กรต่างๆ อาจแตกต่างกันไปตามบริบทของแต่ละธุรกิจอุตสาหกรรม โดยทั่วไปแล้ว “ผู้มีส่วนได้เสีย” ประกอบด้วย พนักงาน ผู้ถือหุ้น ผู้ลงทุน ลูกค้า คู่ค้า คู่ธุรกิจ ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมถึง หน่วยงานกำกับดูแล ภาครัฐ NGOs และสื่อมวลชน เป็นต้น

ปัจจุบัน “ความรับผิดชอบต่อสังคม” สามารถจำแนกตามระดับปฏิบัติการของ องค์กรเป็น 4 ระดับ ดังนี้

  1. การปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมาย (Legislation) หมายถึง ธุรกิจอุตสาหกรรมมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายและกฎเกณฑ์ ที่เกี่ยวข้อง อันมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้คนและสิ่งแวดล้อม เช่น กฎหมาย คุ้มครองผู้บริโภค กฎหมายอุตสาหกรรม กฎหมายแรงงาน กฎหมายสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
  2. การดำเนินกิจการเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ (Economic Prof it) หมายถึง ธุรกิจอุตสาหกรรมต้องคำนึงถึงความสามารถในการแข่งขันเพื่อ ความอยู่รอดและการสร้างผลตอบแทนแก่ผู้ถือหุ้นอย่างเหมาะสม องค์กรจึงควรหมั่นตรวจสอบด้วยว่ารายได้และกำไรที่ได้มานั้น ต้องไม่ได้มาจากการประกอบกิจการที่เบียดเบียนสังคมหรือสร้างปัญหาให้กับชุมชน
  3. การยึดมั่นในจรรยาบรรณทางธุรกิจ (Code of Conduct) หมายถึง ธุรกิจอุตสาหกรรมสามารถสร้างผลกำไรให้แก่ผู้ถือหุ้นได้ในอัตราที่เหมาะสม และผู้ประกอบกิจการได้ใส่ใจในการที่จะสร้างประโยชน์ตอบแทนแก่สังคมมากขึ้นด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสังคมที่อยู่รอบข้างสถานประกอบการ ซึ่งชุมชนมักมีความคาดหวังว่าจะได้รับการดูแลหรือเอาใจใส่จากผู้ประกอบกิจการ
  4. การดำเนินการด้วยความสมัครใจ (Voluntary Action) หมายถึง การประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมควบคู่กับการปฏิบัติตามแนวทาง ความรับผิดชอบต่อสังคมด้วยความสมัครใจ คือ ไม่ได้ทำเพราะถูกเรียกร้องหรือกดดัน จากสังคมแต่อย่างใด การดำเนินธุรกิจจะอยู่บนพื้นฐานของการให้ความสำคัญต่อประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับชุมชน สังคม และประเทศชาติเป็นหลัก

ทั้งหมดทั้งปวงนี้ องค์กรจำเป็นต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมายให้ได้ ระดับที่ (1.) เป็นขั้นต่ำ ส่วนการพัฒนาไปสู่ระดับที่สูงขึ้นนั้น จะเป็นไปตามความพร้อม และการให้ความสำคัญของผู้นำหรือผู้บริหารองค์กร ซึ่งอาจจะมีความแตกต่างกันไป ในแต่ละองค์กร

สังคมโลกในปัจจุบันมีความคาดหวังต่อองค์กรต่างๆ ในระดับที่สูงขึ้น ผู้นำ องค์กรจึงต้องให้ความสำคัญและตอบสนองต่อความต้องการของผู้มีส่วนได้เสีย อย่างมีความรับผิดชอบมากขึ้น ทำให้แนวปฏิบัติด้านความรับผิดชอบต่อสังคมในประเด็นสำคัญเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ อาทิ การผลิตด้วยความรับผิดชอบ การยึดมั่นใน หลักบรรษัทภิบาล การประกอบกิจการด้วยความเป็นธรรม การต่อต้านการทุจริต การเคารพสิทธิมนุษยชน การปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรม ความรับผิดชอบต่อ ผู้บริโภค การร่วมพัฒนาชุมชนและสังคม การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม การยึดมั่น ใน SDGs การพัฒนาที่ยั่งยืน การปฏิบัติตามพันธสัญญา COP26, COP27 เป็นต้น

แต่นี้ไป “ความรับผิดชอบต่อสังคม” ด้วยจิตสำนึกแห่ง “ผลิตภาพสีเขียว” (Green Productivity) จึงเป็นเรื่องที่ผู้นำและผู้บริหารไม่รู้ไม่ได้เลย และไม่ทำ ก็ไม่ได้ด้วย เพราะเป็นความอยู่รอดและยั่งยืนขององค์กร ครับผม!


Source: นิตยสาร Green Network ฉบับที่ 115 มกราคม – กุมภาพันธ์ 2566 คอลัมน์ Productivity โดย ดร. วิฑูรย์ สิมะโชคดี


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save