โรคกระจกตาดำเสื่อม หรือ แก้วตาดำเสื่อม


โรคกระจกตาดำเสื่อมหรือแก้วตาดำเสื่อม เป็นโรคที่เกิดความผิดปกติของตัวกระจกตาดำหรือแก้วตาดำ เกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย อายุ

โครงสร้างกระจกตาดำนี้  (CORNEA) เป็นเยื่อบางๆ อยู่ด้านหน้าของตาดำขอบลูกตาของเรา ทำหน้าที่รับภาพจากการมอง เพื่อส่งภาพผ่านตาดำไปยังเลนส์ตาเพื่อปรับโฟกัสให้เห็นภาพคมชัดทั้งในระยะใกล้และระยะไกล โดยมีม่านตาอยู่ด้านหลังตาดำปรับแสงให้เข้ามากหรือเข้าน้อย เพื่อให้เห็นภาพสว่างชัด แล้วปรับโฟกัสที่เลนส์ตาและส่งภาพต่อไปยังจอประสาทให้เห็นภาพความกว้างและความลึกของภาพ แล้วจึงส่งสัญญาณภาพทั้งหมดไปยังเส้นประสาทตา เพื่อส่งต่อไปยังสมองส่วนที่รับรู้กับการเห็นภาพต่างๆ แก้วตาดำจึงเป็นด่านหน้าที่รับภาพเป็นด่านแรก

ความผิดปกติเกิดขึ้น ถ้าในคนอายุน้อยมักเกิดจากอุบัติเหตุ ที่กระทบกระแทกถูกส่วนของแก้วตาดำนี้ เช่นบาดเจ็บ จากการเล่นกีฬา อุบัติเหตุจากการหกล้ม เบ้าตากระแทกกับวัตถุแข็ง หรือถูกทำร้ายร่างกาย ถูกชกต่อยเข้าที่เบ้าตาหรือแรงกระแทกจากอุบัติเหตุรถยนต์หรือจักรยานยนต์ ก่อให้เกิดอาการช้ำบวมหรือเลือดคั่งในกระจกตาดำหรือแก้วตาดำ นอกจากนี้ สุภาพสตรีที่ทำกับข้าวมีการทอดปลา ผัดน้ำมันที่ร้อนๆ แล้วกระเด็นใส่แก้วตาดำเกิดบาดเจ็บขึ้น หลังจากนั้นจะเป็นเหตุให้กระจกตาดำหรือแก้วตาดำนี้เสื่อมตัว ในที่สุดเกิดการตาบอดได้ อาจเกิดเฉียบพลัน หรือค่อยๆ เสื่อม จนไม่สามารถมองเห็นภาพได้ อีกกรณีหนึ่ง จากผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป เซลล์ของแก้วตาดำหรือกระจกตาดำเสื่อมจากอายุที่มากขึ้น จะค่อยๆ เสื่อม มองเห็นภาพพร่ามัวจนในที่สุดมองไม่เห็น

อาการของกระจกตาดำเสื่อมหรือแก้วตาดำเสื่อม จะเห็นภาพพร่ามัวมองไม่ชัด กลางวันจะไม่สามารถสู้แสงแดดได้ กลางคืนจะมองเห็นภาพได้ชัดดีกว่า ทั้ง 2 กรณีเกิดจากการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุและเสื่อมจากอายุมาก มีอาการคล้ายกันเรียกว่า แก้วตาดำเสื่อมหรือกระจกตาดำเสื่อม จนมองไม่เห็น

การรักษา พบจักษุแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย ทั้งการรักษาด้วยยาหยอดตา ยิงเลเซอร์ จนถึงการผ่าตัด ปัจจุบันสามารถผ่าตัดโดยการเปลี่ยนแก้วตาดำหรือกระจกตาดำ จากผู้ที่บริจาคอวัยวะให้กับสภากาชาดไทย ต้องใช้เวลารอคิวที่รับบริจาคอวัยวะนานพอควร

ดังนั้น การดูแลสุขภาพนัยน์ตาทั้ง 2 ข้าง ไม่หักโหมกับการใช้ตามากเกินไป รวมถึง การป้องกัน การบาดเจ็บ เป็นวิธีที่ดี ป้องกัน การเสื่อมตัวของกระจกตาดำ


ศัพท์โครงสร้างลูกนัยน์ตา

  1. กระจกตาดำหรือแก้วตาดำ (CORNEA)
  2. บริเวณตาดำ (BLACK EYE AREA)
  3. บริเวณตาขาว (WHITE EYE AREA)
  4. เลนส์ตา (LENS)
  5. ม่านตา (IRIS)
  6. จอตาหรือจอประสาทตา (RETINA)
  7. เส้นประสาทตา (OPTIC NERVE)

ผู้ที่บริจาคดวงตาให้ทางสภากาชาดไทย รับบริจาคเฉพาะส่วนของกระจกตาดำหรือแก้วตาดำ (CORNEA) เพื่อผ่าตัดเปลี่ยนให้กับผู้ป่วยเพื่อช่วยภาวะการตาบอดได้


ที่มา: หมอโฆษิต


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save