“แค่สอง สาม เก้า…ก็ถึงแล้ว” เป็นคําพูดติดตลกที่มักพูดเล่นกันเมื่อจะเดินทางจากกรุงเทพฯ ถึงนครสวรรค์ ด้วยระยะทาง 239 กิโลเมตร จังหวัดนครสวรรค์ ศูนย์กลางเศรษฐกิจภาคเหนือตอนล่าง ไม่ใกล้ ไม่ไกล เดินทางด้วยรถยนต์ก็สะดวก ด้วยรถไฟก็มีตลอดทั้งวัน และจากความหลากหลายของพืชเศรษฐกิจ เช่น ข้าว ข้าวฟ่าง ข้าวโพด ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วลิสง อ้อย ฝ้าย งา และมันสําปะหลัง ทําให้เกษตรอุตสาหกรรมเติบโตและขยายตัวอย่างต่อเนื่อง หากเป้าหมายของจังหวัดคือ เศรษฐกิจสีเขียว ตามแนวนโยบายการพัฒนาประเทศด้วย BCG : Bio-Circular-Green Economy) เพื่อให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างยั่งยืน เช่น การปลูกพืชมูลค่าสูง รวมทั้งเกษตรอินทรีย์ และนําเศษเหลือทิ้งจากภาคเกษตรมาใช้ประโยชน์อย่างสูงสุด ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
แต่วันนี้เทศบาลนครนครสวรรค์ยังมีขยะที่ต้องกําจัดอีก 250 ตันต่อวัน และขยะในบ่อฝังกลบที่ทับถมเป็นภูเขาอีกเกือบ 1 ล้านตัน ผู้บริหารเทศบาลนครนครสวรรค์จึงได้คัดเลือกบริษัทเอกชนเข้ามาลงทุนบริหารจัดการขยะดังกล่าว ด้วยวิธีการนําขยะมาย่อย คัดแยกเป็นเชื้อเพลิงคุณภาพดี RDF : Refused Derived Fuel เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงสําหรับโรงไฟฟ้าขยะหรือโรงงานอุตสาหกรรม ระบบย่อย คัดแยก เพื่อผลิต RDF ประกอบด้วย
- เครื่องป้อนขยะ (Feeder)
- เครื่องย่อยขยะ (Shredder)
- เครื่องคัดแยกโลหะ (Magnetic Separator)
- เครื่องคัดแยกวัสดุละเอียด (Disc Screen)
- เครื่องคัดแยกด้วยลม (Air Separator)
ในอนาคตอันใกล้ เมื่อมีโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงจากขยะสร้างเสร็จและเริ่มขายไฟฟ้ามากขึ้น ในหลายพื้นที่อาจมีขยะไม่เพียงพอ และในบางพื้นที่ก็อาจมีขยะมากเกินกว่าที่โรงไฟฟ้าจําเป็นต้องใช้ จึงต้องมีการกําหนดมาตรฐานเชื้อเพลิง RDF สําหรับเมืองไทย เพื่อจะได้กําหนดราคาซื้อขายที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน นอกจากนี้ โรงไฟฟ้าชีวมวลยังสามารถใช้ RDF เกรดพรีเมียมนี้ได้ ในสัดส่วน 5-10% โดยไม่ก่อให้เกิดมลพิษในอากาศอีกด้วย โดยมาตรฐาน RDF อยู่ระหว่างการพิจารณาของกระทรวงอุตสาหกรรม ดังตารางต่อไปนี้
จากหยดนํ้าหยดน้อยหลายร้อยหยด รวมกันหมดเป็นมหาชลาศัย จากปิง วัง ยม น่าน ผ่านมาไกล แล้วไหลกันเข้าเป็นเจ้าพระยา… (บทเพลงอมตะ สุนทราภรณ์) หากนครสวรรค์จะพัฒนาตัวเองเป็น Green City และก้าวจากการเป็นเมืองรองสู่เมืองหลัก ชาวนครสวรรค์ทุกคนต้องช่วยกันเป็นเจ้าภาพ คนละไม้ คนละมือ เหมือนหยดนํ้าที่ไหลรวมกันจนเป็น แม่นํ้าเจ้าพระยา
หากกระทรวงที่ดูแลองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นมีนโยบายที่ชัดเจนว่าให้ท้องถิ่นต้องคัดแยกขยะเพื่อลดมลพิษ และนําของเสียมาใช้ประโยชน์ ให้มากที่สุด เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ของไทยจะสดใสและเป็นไปได้มากขึ้น ลองมาฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้
จิตตเกษมณ์ นิโรจน์ธนรัฐ
นายกเทศมนตรีนครนครสวรรค์
เทศบาลนครนครสวรรค์ ได้รับการพัฒนาจากผู้บริหารจาก รุ่นสู่รุ่นด้วยเป้าหมายเดียวกัน ในอดีต เศรษฐกิจของนครนครสวรรค์ อาศัยภาคเกษตรเป็นตัวขับเคลื่อนหลัก แต่ปัจจุบันเศรษฐกิจของ จังหวัดปรับจากภาคเกษตรกรรมสู่การท่องเที่ยว เทศบาลฯ จึงได้ ปรับตัวสู่เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) โดยคํานึงถึงสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้พลังงานสะอาด ซึ่งเทศบาลนครนครสวรรค์ ก็ได้รับรางวัลด้านการพัฒนาสิ่งแวดล้อมมากมายหลายรางวัล
วันนี้เทศบาลนครนครสวรรค์ได้แก้ไขปัญหาใหญ่ของเมือง นั่นก็คือ ขยะ ซึ่งได้คัดเลือกผู้ลงทุนแล้ว และด้วยการเจริญเติบโต ของเมืองที่เพิ่มขึ้น ปริมาณขยะในแต่ละวันที่รวบรวมได้มากกว่า 200 ตันต่อวัน และยังมีบ่อฝังกลบขนาดใหญ่ที่ต้องกําจัดและ ปรับภูมิทัศน์ให้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ เป็นสวนสาธารณะอีก แห่งหนึ่งของเทศบาล นอกจากนี้ เทศบาลฯ ยังจะมีโครงการพัฒนา รถยนต์โดยสารสาธารณะเป็นยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งมีเจ้าของเทคโนโลยี มานําเสนอแล้วหลายราย
ผลงานเด่นที่ช่วยให้จังหวัดนครสวรรค์ปรับตัวสู่เมืองหลัก ด้านการท่องเที่ยว นั่นคือ “พาสาน” แลนด์มาร์คที่เป็นจุดเช็คอิน ที่ออกแบบอย่างกลมกลืนและทันสมัย ซึ่งเป็นการรวมตัวของแม่นํ้า ทั้ง 4 สาย ปิง วัง ยม น่าน เป็นแม่นํ้าเจ้าพระยา การเร่งพัฒนาสู่เมืองสีเขียวเพื่อช่วยลดอุณหภูมิของโลกไม่ให้สูงเกิน 1.5 องศา เซลเซียส และความพร้อมการเป็นเมืองที่นักท่องเที่ยวต้องหยุด พักค้างคืน ไม่ใช่แค่เมืองผ่านเหมือนในอดีต
วีระพล ไชยธีรัตต์
กรรมการผู้จัดการ บริษัท กรีน เพาเวอร์ 1 จํากัด
บริษัท ชัยวัฒนา แทนเนอรี่ กรุ๊ป จํากัด (มหาชน) หรือ CWT ซึ่งเป็นบริษัทแม่ ตั้งอยู่ไม่ห่างจากจุดเกิดเหตุเพลิงไหม้จาก บ่อขยะ ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนที่ทําให้บริษัทฯ เล็งเห็นว่าบ่อฝังกลบขยะ เป็นปัญหาสําคัญที่ทุกจังหวัดใหญ่ประสบปัญหาอยู่ ในฐานะองค์กร เอกชนจึงอยากมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาร่วมกับ ชุมชน เมื่อได้รับโอกาสดีจากนายกเทศมนตรีนครนครสวรรค์ ผู้มีวิสัยทัศน์ตรงกันว่า ปัญหาก๊าซเรือนกระจกและการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศที่รุนแรง สามารถบรรเทาได้หากมีการจัดการขยะ อย่างมีประสิทธิภาพ (ภายใต้ พ.ร.บ.รักษาความสะอาด กฎกระทรวง มหาดไทย ประกาศกระทรวงมหาดไทย) นอกจากจะได้เชื้อเพลิง คุณภาพดีให้กับโรงไฟฟ้าแล้ว ยังสามารถนําขยะที่ไม่สามารถ เผาไหม้ได้ เช่น อะลูมิเนียมและเหล็ก ไปรีไซเคิลได้ ซึ่งสอดคล้อง กับนโยบายของบริษัทฯ และเป้าหมายของประเทศไทยที่ได้ประกาศ จะมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ใน พ.ศ. 2590 อีกด้วย
โครงการของบริษัท กรีน เพาเวอร์ 1 นี้ เป็นโรงผลิตเชื้อเพลิง RDF แห่งแรกของเทศบาลที่ใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่ได้มาตรฐาน สามารถกําจัดขยะได้หมดวันต่อวัน เป้าหมายของบริษัทฯ คือ สามารถคัดแยกขยะใหม่ได้ไม่น้อยกว่า 250 ตันต่อวัน และจัดการ ขยะในบ่อฝังกลบเดิมทั้งหมด ปรับภูมิทัศน์ เพื่อลบภาพบ่อฝังกลบ ให้กลายเป็นพื้นที่สวยงาม และเป็นอีกผลงานที่ภูมิใจของบริษัทฯ
นอกจากนี้ บริษัท ชัยวัฒนา แทนเนอรี่ กรุ๊ป จํากัด (มหาชน) หรือ CWT ได้รับมาตรฐาน ISO 14064-1:2018 ซึ่งเป็นมาตรฐาน การจัดการคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (ก๊าซเรือนกระจก) จาก 2 ธุรกิจ ทั้งในกลุ่มหนังและโรงไฟฟ้ากรีนเพาเวอร์ 2 จากบริษัท บูโร เวอริทัส
ปัจจุบันกลุ่มบริษัทฯ มีโรงไฟฟ้าชีวมวลที่ขายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (COD) แล้วจํานวน 2 โครงการ ขนาดกําลังการผลิตติดตั้ง 9.6 เมกะวัตต์ ตั้งอยู่ที่จังหวัดสระแก้ว และ 9.9 เมกะวัตต์ นอกจากนี้ ยังมีโครงการโรงไฟฟ้าจากขยะที่อยู่ระหว่างพัฒนาอีกหลายโครงการ เช่น ในอําเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ กําลังการผลิตติดตั้ง 6 เมกะวัตต์ บริษัทฯ มีความพร้อมอย่างยิ่งสําหรับงานโครงการบริหารจัดการขยะเพื่อผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้าต่อไป
Source: นิตยสาร Green Network ฉบับที่ 117 พฤษภาคม – มิถุนายน 2566 คอลัมน์ บทความ โดย พิชัย ถิ่นสันติสุข