ในช่วงหลายปี มักจะได้ยินและมีการกล่าวกับโรคออฟฟิศซินโดรม เกิดกับคนหนุ่มสาวในวัยทำงาน เกิดความผิดปกติในที่ทำงาน ส่วนใหญ่มักมีอาการไม่รุนแรงสามารถดูแลตัวเองและปฏิบัติตัวให้ถูกต้อง ช่วยให้เกิดการป้องกันโรคและแก้ไขอาการผิดปกติได้ ช่วยให้การทำงานอย่างมีความสุขและคุณภาพชีวิตดีขึ้น
สาเหตุและอาการผิดปกติที่พบบ่อย การปวดเมื่อยและการอ่อนล้าของร่างกาย เช่น ปวดท้ายทอย ปวดหัวไหล่ ปวดสะบัก ปวดแขน ชาแขน ปวดหลัง ปวดเข่า ปวดขา ปวดข้อเท้า ชาขา ปวดสะโพก เป็นต้น เนื่องจากการทำงานในที่ทำงานปัจจุบัน มีอุปกรณ์การทำงานรวมถึงเทคโนโลยีทางเครื่องมือมีส่วนช่วยให้ทำงานสะดวก รวดเร็ว มากขึ้น แต่ปัญหาที่ตามมา ร่างกายมักต้องอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนานๆ ต้องใช้ความคิดทางสมองมากขึ้น รวมถึงสมาธิการทำงาน ก่อให้เกิดความอ่อนล้าต่อกล้ามเนื้อ เอ็น ข้อต่อ กระดูกต่างๆมากขึ้น รวมถึงการไหลเวียนโลหิตทั่วร่างกายเฉื่อยลง ก่อให้เกิดอาการเมื่อย ปวดเมื่อย ปวดล้า ปวดร้าว จากท้ายทอยไปไหล่ 2 ข้าง สะบัก แขน และมือได้ หากความผิดปกติเกิดขึ้นบริเวณหลังมีอาการเมื่อยล้าปวดร้าวจากบริเวณส่วนบน ส่วนบั้นเอว ปวดสะโพก ปวดก้นกบ ปวดร้าวต้นขา ปวดเข่า ปวดข้อ พับเข่า ปวดน่องปวดข้อเท้า ปวดฝ่าเท้ารวมถึงส้นเท้า อาจมีอาการชาร่วมด้วย นอกจากนี้มีอาการมึนศีรษะ ปวดศีรษะ สมองตื้อ ปวดบริเวณเบ้าตา 2 ข้าง เหนื่อยหายใจช้า หัวใจเต้นผิดจังหวะ จุกเสียด แน่นหน้าอก จากบริเวณลิ้นปี่ ท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นท้อง ปวดท้อง แสบท้อง บางรายอาจมีอาการท้องผูกหรือท้องเสียร่วมด้วย ในสุขภาพสตรีอาจมีความปิดปกติของประจำเดือนด้วย อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิด อารมณ์เสียง่าย ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ถือเป็นความผิดปกติในกลุ่มโรคออฟฟิศซินโดรมได้ อาการต่างๆเหล่านี้มีตั้งแต่ไม่รุนแรงจนถึงขั้นรุนแรงและเรื้อรัง
การป้องกันและการแก้ไข ให้มีสติและวินัยในการทำงาน ไม่อยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนานเกินไป ปกติประมาณ 45 นาทีถึงหนึ่งชั่วโมง ควรจะเปลี่ยนอิริยาบทเคลื่อนไหวร่างกาย เช่น ลุกเข้าห้องน้ำ ผ่อนคลาย ร่างกายด้วยการดื่มน้ำ ดื่มชา กาแฟ ฯลฯ รวมถึงการรับประทานของว่างบ้าง เพื่อผ่อนคลายทั้งกายและใจ หายใจเข้า-ออก ยาวๆ-ลึกๆ ฯลฯ ที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นข้อปฏิบัติง่ายๆที่ให้ทุกส่วนของร่างกายและอวัยวะต่างๆได้ผ่อนคลายความตึงเครียดลง การสบายขึ้นมีผลให้จิตใจสบายขึ้น ประสิทธิภาพการทำงานดีขึ้น ลดโรคภัยไข้เจ็บทางกายดีขึ้น ลดอาการปวดเมื่อยล้าของร่างกาย สมอง สายตา ปอด หัวใจ ไม่เหนื่อยง่าย หายใจได้คล่องขึ้น ดื่มน้ำให้มากขึ้นและรับประทานอาหารให้ตรงเวลา ลดปัญหากรดไหลย้อน โรคกระเพาะ ท้องผูก ไม่อั้นปัสสาวะ ลดปัญหาการเกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบ และประจำเดือนมาปกติ จิตใจเบิกบาน และอารมณ์แจ่มใส ปัญหาออฟฟิศซินโดรมลดลงได้มาก สรุปการดูแลสุขภาพพื้นฐาน อากาศ อาหาร+น้ำดื่ม ออกกำลังกาย อารมณ์และพักผ่อนให้เพียงพอ การขับถ่ายปกติ มีส่วนช่วยได้มาก
ที่มา: หมอโฆษิต