กรมควบคุมมลพิษ ประธานอนุคณะกรรมการ และคณะฯ ลงพื้นที่จังหวัดยะลา เพื่อตรวจประเมินและคัดเลือกจังหวัดที่มีการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด” ระดับประเทศ ประจำปี พ.ศ 2566 รอบตัดสิน ในแต่ละภูมิภาค
เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2566 ที่ห้องประชุมศรีญาลอ องค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา นายสุพจน์ รอดเรือง ณ หนองคาย ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา พร้อมด้วย นายอำนาจ ชูทอง รองผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา นายธราวุธ ช่วยเกิด ปลัดจังหวัดยะลา นายสุพจน์ จิตร์เพ็ชร์ ท้องถิ่นจังหวัดยะล นายสุรเชษฐ์ สุทธิกุล ประชาสัมพันธ์จังหวัดยะลา เจ้าหน้าที่องค์บริหารส่วนตำบล ที่ผ่านการประเมินการจัดการบริหารขยะมูลฝอย ผู้นำชุมชน ภาคีเครือข่าย และผู้เกี่ยวข้อง ร่วมให้การต้อนรับ นายพิทยา ปราโมทย์วรพันธุ์ รองอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ ประธานอนุคณะกรรมการ และคณะฯ ลงพื้นที่จังหวัดยะลา เพื่อตรวจประเมินและคัดเลือกจังหวัดที่มีการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด” ระดับประเทศ ประจำปี พ.ศ 2566 รอบตัดสิน ในแต่ละภูมิภาค กลุ่มจังหวัดภาคใต้ ของจังหวัดยะลา
ในที่ประชุมครั้งนี้ นายพิทยา ปราโมทย์วรพันธุ์ รองอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ ประธานอนุกรรมการ หลังได้ดูนวัตกรรมการรีไซเคิลขยะเหลือใช้ ที่มาโชร์หน้าห้องประชุม และได้สอบถามการบริหารจัดการขยะมูลฝอย มีการรีไซเคิลกับขยะเหลือใช้อย่างไรบ้าง มีปริมาณขยะลดจำนวนลงจากปีที่ผ่านมาได้มากน้อยแค่ไหน และการมีส่วนร่วมของชุมชน
“จังหวัดยะลา เรามีการบริหารจัดการขยะที่มีเครื่องไม้เครื่องมือครบ ที่จะทำให้ขยะมูลฝอยลดลงทุกปี และมีการบริหารจัดการรีไซเคิลกลับมาใช้ใหม่ในรูปแบบของใช้ต่างๆ โดยองค์การบริหารส่วนตำบลในพื้นที่ได้ผลิตขึ้นมา ซึ่งทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องผ่านการประเมินมาแล้ว” นางสุพัตรา สุวรรณโณ ผอ.กลุ่มงานส่งเสริมและพัฒนาท้องถิ่น กล่าวในที่ประชุม
ท้องถิ่นจังหวัดยะลา ได้เสริมอีกว่า เรามีกลไกทุกภาคส่วนในพื้นที่จังหวัดยะลา ที่บริหารขับเคลื่อนขจัดขยะมูลฝอยตามแบบที่คณะอนุกรรมการได้ประเมินทุกอย่าง และมีเวทีคณะกรรมการบริการจัดการขยะ คือภาคส่วนราชการ ประชาสัมพันธ์จังหวัด ปกครองท้องถิ่น กำนัน ผู้นำชุมชน ซึ่งผลการใช้กลไกชุมชนนี้สามารถบรรลุเป้าหมาย การจัดเมืองให้สะอาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และพร้อมขับเคลื่อนการบริหารจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่ เพื่อให้เป็น”จังหวัดยะลาเมืองแห่งความสะอาด” โดยดำเนินการภายใต้หลักการ 3 ช. ใช้น้อย ใช้ซ้ำ และนำกลับมาใช้ใหม่ เน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ทั้งการประชาสัมพันธ์รณรงค์สร้างการรับรู้ การสร้างจิตสำนึกให้กับประชาชนในการคัดแยกขยะมูลฝอย
นอกจากนี้ หลังคณะอนุกรรมการ ลงพื้นที่ตรวจประเมินและคัดเลือกจังหวัดยะลาที่มีการบริหารขยะมูลฝอยในชุมชน ตามเป้าหมายครบถ้วน จะกลับไปรวบรวมข้อมูลประเมินกับอนุคณะกรรมการชุดใหญ่อีกครั้ง พร้อมประการผลตัดสิน “จังหวัดสะอาด ประจำปี 2566” ต่อไป
ข้อมูลข่าวและที่มา
ผู้สื่อข่าว : นิแอ สามะอาลี
ผู้เรียบเรียง : วรรณวิไล สนิทผล
แหล่งที่มา : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดยะลา