สนพ. เปิดรับฟังความคิดเห็น ร่างแผน PDP 2024 และ แผน Gas Plan 2024 หวังให้ไทยมีความมั่นคงด้านพลังงานในทุกรูปแบบ


สนพ. เตรียมเปิดรับฟังความคิดเห็น ร่างแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย ปี 2567-2580 (PDP 2024) และร่างแผนบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ พ.ศ. 2567-2580 (Gas Plan 2024) โดยจะมุ่งเน้นประเด็นสำคัญ 3 ด้าน คือ ความมั่นคงของระบบไฟฟ้า ต้นทุนค่าไฟฟ้า และผลประทบสิ่งแวดล้อม

6 มิถุนายน 2567 – นายวีรพัฒน์ เกียรติเฟื่องฟู ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เป็นประธานในการเปิดงานสัมมนาให้ความรู้แก่สื่อมวลชน เรื่อง การรับฟังความคิดเห็นต่อร่างแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2567-2580 (PDP 2024) และร่างแผนบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ พ.ศ. 2567-2580 (Gas Plan 2024)

สำหรับสาระสำคัญแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2567-2580 (Power Development Plan: PDP 2024) นั้น จะให้ความสำคัญในประเด็นต่างๆ 3 ด้าน ได้แก่

  1. ด้านเน้นความมั่นคงของระบบไฟฟ้าของประเทศ (Security)
  2. ด้านต้นทุนค่าไฟฟ้าอยู่ในระดับที่เหมาะสม (Economy)
  3. ด้านผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (Ecology) เพื่อให้สอดคล้องกับแผนพลังงานชาติ (National Energy Plan) ที่ สนพ. กำลังจัดทำอยู่

โดยแผน PDP 2024 จะมีการชี้ใช้เกณฑ์โอกาสเกิดไฟฟ้าดับ (LOLE) ต้องไม่เกิน 0.7 วันต่อปี หรือไม่เกิน 17 ชั่วโมง จาก 8,760 ชั่วโมง จากเดิมใช้เกณฑ์กำลังผลิตไฟฟ้าสำรอง (Reserve Margin) รวมทั้งยังกำหนดเป้าหมายของมาตรการเปลี่ยนแปลงพฤติกกรรมการใช้ไฟฟ้า (Demand response) 1,000 เมกะวัตต์ และมาตรการลดความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (Peak) รวมไปถึงจะมีโรงไฟฟ้าใหม่และเทคโนโลยีใหม่ที่จะนำมาพิจารณา ซึ่งได้แก่ โรงไฟฟ้าพลังน้ำสูบกลับ รับซื้อไฟฟ้าพลังน้ำจากต่างประเทศ โซลาร์ โซลาร์ลอยน้ำ และโซลาร์บวกด้วยระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ (Battery Energy Storage System : BESS) มีพลังงานนิวเคลียร์ขนาดเล็ก (SMR) เป็นทางเลือก

สำหรับแผนบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ พ.ศ. 2567-2580 (Gas Plan 2024) มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดหาก๊าซธรรมชาติให้เพียงพอกับความต้องการใช้ของประเทศ และบริหารจัดการระบบโครงสร้างพื้นฐานก๊าซธรรมชาติให้มีความมั่นคงและมีประสิทธิภาพ โดย Gas Plan 2024 ได้ประมาณการความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติในระยะยาวจากปัจจัยที่เกี่ยวข้อง โดยพบว่าภาพรวมความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาตินั้น ลดลงจาก 4,859 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันในปี 2567 เป็น 4,747 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันในปี 2580 จากการใช้ก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้าลดลง เนื่องจากการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนและไฮโดรเจน การใช้ในโรงแยกก๊าซธรรมชาติที่ลดลงตามปริมาณก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยและการใช้ในภาคขนส่ง ตามจำนวนรถ NGV ที่มีแนวโน้มลดลง

ทั้งนี้ เพื่อให้ได้รับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากประชาชนทุกภาคส่วน สนพ. จะมีการเปิดรับฟังความคิดเห็นร่างแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2567-2580 (Power Development Plan: PDP 2024) และร่างแผนบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ พ.ศ. 2567-2580 (Gas Plan 2024) ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ โดยในวันที่ 12 – 13 มิถุนายน 2567 จะเป็นการเปิดรับฟังความคิดเห็นในกลุ่มภาคราชการ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน ผู้ประกอบการ ณ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กรุงเทพ และเปิดรับฟังความคิดเห็นรูปแบบออนไลน์ใน 4 ภูมิภาค ในวันที่ 17 มิถุนายน 2567 ช่วงเช้าสำหรับประชาชนภาคกลาง ช่วงบ่ายสำหรับประชาชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และวันที่ 19 มิถุนายน 2567 ช่วงเช้าสำหรับประชาชนภาคใต้ ช่วงบ่ายสำหรับประชาชนภาคเหนือ รวมทั้ง จะเปิดรับให้ประชาชนทุกภาคส่วนได้เข้ามาแสดงความเห็นผ่านช่องทาง Facebook : EPPO Thailand และเว็บไซต์ www.eppo.go.th ตั้งแต่วันที่ 19 – 23 มิถุนายน 2567 ซึ่งข้อเสนอแนะต่าง ๆ ที่ได้จากการรับฟังความคิดเห็น สนพ. จะนำไปประกอบการปรับปรุงแผน PDP 2024 และแผน Gas Plan 2024 ให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์ต่อไป


ที่มา: สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save