PEA Hive Platform เปลี่ยนบ้านธรรมดา สู่บ้านอัจฉริยะ


ในยุคที่ IT เข้าไปมีบทบาทสำคัญในทุกๆด้าน ไม่เว้นแต่ด้านพลังงานเอง การเปลี่ยนบ้านธรรมดาให้เป็นบ้านอัจฉริยะ หรือ Smart Home ด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิตอลและการสื่อสารมาควบคุมระบบไฟฟ้าภายในบ้านและการทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เป็น Smart Devices รวมทั้งยังสามารถบริหารพลังงานทดแทน ช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานภายในบ้านลงได้ และเทคโนโลยีที่จะเข้ามาตอบโจทย์ เรียกว่า “PEA Hive Platform”เป็นแพลตฟอร์มระบบบริหารและจัดการพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะสำหรับบ้านพักอาศัย

PEA Hive Platform ต้นแบบแพลตฟอร์มระบบบริหารและจัดการพลังงานอัจฉริยะ สำหรับบ้านพักอาศัย ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือ PEA โดยทีมวิจัยได้คิดค้นและพัฒนา จนสามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ภายในบ้านและอาคารการจัดการด้านพลังงาน ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดและสอดคล้องกับพลังงานทดแทนที่ผลิตได้ เช่น Solar PV Rooftop เพื่อให้การใช้พลังงานสุทธิของบ้านเป็นศูนย์ (Net–Zero Energy) หรือใกล้เคียง และรองรับการใช้พลังงานในภาวะฉุกฉิน ซึ่งจะเปลี่ยนบ้านพักอาศัยธรรมดาให้เป็นบ้านอัจฉริยะ (Smart Home)

PEA Hive Platform

PEA Hive Platform เป็นโซลูชั่นของผู้อยู่อาศัยรวมถึงชุมชน สำหรับบริหารจัดการการใช้พลังงานภายในบ้านพักอาศัยและอาคารให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยมีการด้วยกับอุปกรณ์ IOT ทั้งหมด แล้วมาเข้าสู่ตัวแพลตฟอร์ม โดยแพลตฟอร์เหล่านี้ก็จะมีการใช้งานร่วมกับแอพพลิเคชั่นต่างๆบนตัว Hive Platform ทั้งนี้ PEA Hive Platform จะอยู่ภายใต้ของ PEA Connect จะประกอบไปด้วย Home Connect โดยใช้ตัวของ PEA Hive Platform เป็นตัวดำเนินการในการบริหารจัดการนั่นเอง

ตัว Hive Platform จะเน้นด้านการบริหารจัดการพลังงานเป็นหลัก ทั้งในส่วนของภาคผลิตไฟฟ้า ที่จะมาจากตัวของโซลาร์รูฟท็อป พลังงานลม พลังงานจากแบตเตอรี่รถยนต์เข้าสู่บ้าน หรือแบตเตอรี่ที่อยู่ในบ้านเอง เป็นการบริหารจัดการนำเอาพลังงานไฟฟ้าจาก Storage หรือที่ผลิตได้ ณ เวลานั้น โดยมีต้นทุนต่ำสุดในขณะเวลานั้น มาใช้ก่อน และนอกจากจะเน้นด้านการบริหารจัดการพลังงานแล้ว จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับความสะดวกสบาย และการใช้ของตัวอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน จะช่วยอำนวยความสะดวกในรูปแบบของอุปกรณ์ที่อยู่ในบ้านเรา โดยอุปกรณ์สมัยใหม่ ที่มีการควบคุมโดยใช้รีโมทที่เป็นอินฟราเรด มีแอพพลิเคชั่นที่จะคุมอุปกรณ์ ซึ่งจะ Integral ในส่วนของการควบคุม ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารรูปแบบใด เช่น ตัวอินฟราเรดควบคุมในเรื่องของ RF หรือ Internet โดยจะรวบรวมและ Integral รูปแบบการสื่อสารทั้งหมดอยู่ในตัวแพลตฟอร์มนี้

บ้านอัจฉริยะ

สำหรับผู้อยู่อาศัยในบ้านอัจฉริยะนี้สามารถควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆภายในบ้าน ตลอดจนเรื่องการใช้พลังงานไฟฟ้าจากระบบของการไฟฟ้าหรือแหล่งพลังงานทางเลือก เช่น โซลาร์รูฟท็อป ผ่าน Mobile Application โดย PEA Hive Platform จะทำให้อุปกรณ์ต่างๆทำงานร่วมกัน เพื่อลดการใช้พลังงานไฟฟ้าที่ไม่จำเป็นลง และตอบสนองต่อสภาวะวิกฤติด้านพลังงาน ทั้งนี้เจ้าของบ้านยังสามารถเลือกอุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้า จากหลากหลายยี่ห้อและผู้ผลิตได้อีกด้วย และนอกจากนั้น Hive Platform ยังตอบโจทย์ความเป็นไลฟสไตล์ของแต่ละบุคคล ที่เรียกว่า Smart Mode โดยสามารถเลือกโหมดการใช้งานในรูปแบบของ Comfort Mode , Eco Mode , DR Mode และ Emergency Mode  สำหรับ Eco Mode จะมีจุดเด่นด้านเน้นเรื่องการประหยัดพลังงาน ส่วน DR Mode จะเป็นเรื่องของดีมานด์เรสปอนที่จะเกิดขึ้นในประเทศไทยในอนาคตอันใกล้นี้ ส่วนโหมดที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ Comfort Mode เช่น  การควบคุมปริมาณแสงที่เหมาะสม หรือการออกแบบแสงตามอารมณ์หรือความรู้สึกของคน รวมถึงการบริหารจัดการคาร์บอนไดออกไซด์ภายในบ้าน หากพบว่าคาร์บอนไดออกไซด์มีปริมาณมากกว่าที่ควรจะเป็น ก็ดำเนินการสั่งเปิดม่าน เปิดประตูหน้าตา หรือเปิดพัดลม เพื่อให้คาร์บอนไดออกไซด์ออกจากตัวบ้าน ในเรื่องของผู้สูงอายุ ก็จะอยู่ในรูปแบบการบริหารจัดการในบ้านเหล่านี้ ระบบสามารถส่งข้อมูลเหล่านั้นไปยังส่วนที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นส่วนของโรงพยาบาล หรือรูปแบบที่มีการแจ้งเตือนต่างๆ หรือแม้เต่เรื่องของความปลอดภัย สามารถตรวจสอบบุคคลภายนอกที่ไม่ใช่สมาชิกภายในบ้าน เพื่อส่งต่อและแจ้งเตือนไปยังสถานีตำรวจหรือส่วนที่เกี่ยวข้องกับทางด้านความปลอดภัย

การใช้งาน PEA Hive Platform ทำได้ง่ายๆเพียงแค่ใช้สมาร์ทโฟนผ่านแอพพลิเคชั่น ชื่อ Home connect ซึ่งมีความสามารถหลักดังนี้ Home จะแสดงสถานะโดยรวมของบ้านแต่ละห้องได้ Scene สามารถเลือกฉากต่างๆของบ้านตามความต้องการของผู้อยู่อาศัยได้ง่ายๆ เช่น Eco Mode เพื่อให้บ้านอยู่ในโหมดของการประหยัดพลังงาน สามารถปรับเปลี่ยนอุณหภูมิของเครื่องปรับอากาศ ปรับความสว่างของหลอดไฟได้เองตามสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม หรือ Energy สามารถติดตามค่าไฟฟ้า ปริมาณการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ทำงานแบบ Real Time และ Devices ผู้อยู่อาศัยตรวจสอบสถานะและควบคุมอุปกรณ์อัจฉริยะต่างๆภายในบ้านได้

อย่างไรก็ตาม การสั่งด้วยสมาร์ทโฟน กว่าจะเข้าถึงเพื่อให้การสั่งการอุปกรณ์ Devices ทำตามที่ได้กำหนด ต้องผ่านกระบวนการหลายอย่างที่ซับซ้อน ตั้งแต่เปิดสมาร์ทโฟน ใส่ password เข้าไปแอพพลิเคชั่นที่ต้องการ บ้านอัจฉริยะจึงสามารถสั่งการด้วยเสียง โดยจะตอบสนองเรื่องการรับข้อมูลและส่งข้อมูลผ่านทางเสียงตามการตั้งค่าของบ้านแต่ละหลัง เช่น สั่งการด้วยเสียง Good Morning ระบบก็จะทำการเปิดเครื่องใช้ไฟฟ้า และหากสั่งการด้วยเสียง Good Bye ระบบก็จะทำการปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านเช่นกัน

สำหรับตัวบ้านได้มีการออกแบบให้มีการใช้วัสดุที่ประหยัดพลังงาน ใช้อุปกรณ์ประหยัดพลังงาน ทั้งในส่วนของอุปกรณ์ที่มี IP address เป็นบ้านที่มีอุปกรณ์ที่สื่อสารได้ กับบ้านที่มีอุปกรณ์ที่ไม่สามารถมีระบบสื่อสาร ซึ่งต้องควบคุมผ่านปลั๊กเปิดและปิด แต่ไม่สามารถควบคุมปริมาณการทำงานของอุปกรณ์ได้ ส่วนอุปกรณ์ที่มีการสื่อสาร จะมีการควบคุมปริมาณการใช้ให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมหรือสภาพตามที่กำหนด เช่น การปรับลดอุณหภูมิของเครื่องปรับอากาศ เป็นการควบคุมการใช้โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาจัดการ และหากต้องการให้ระบบมีประสิทธิภาพมากขึ้น ต้องให้อุปกรณ์สามารถสื่อสารกันระหว่างอุปกรณ์ด้วยกันได้ ภายใต้เป้าหมายคือการใช้ไฟฟ้าให้ประหยัดลง

อย่างไรก็ตาม การดำเนินการดังกล่าว ส่งผลให้ผู้ติดตั้งใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่และคุ้มค่ามากที่สุด โดยมีประโยชน์ในการติดตาม ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ทั้งจากในและนอกบ้าน มีระบบการเรียนรู้ด้วยตัวเองเพื่อบริหารจัดการจัดการพลังงาน วิเคราะห์ข้อมูล รวบรวมสถิติการใช้พลังงานภายในบ้าน ทั้งยังตอบโจทย์ที่จะทำให้คนไทยได้สัมผัสประสบการชีวิตรูปแบบใหม่ที่สะดวก สบาย และทันสมัย พร้อมส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้แพร่หลายและเป็นระบบที่เปิดโอกาสให้นักพัฒนาฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ได้เข้ามาร่วมพัฒนาอุปกรณ์และแอพพลิเคชั่นให้ตรงความต้องมากขึ้น ส่งผลให้ผู้ติดตั้งใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่และคุ้มค่ามากที่สุด ซึ่งจะเสริมสร้างศักยภาพความพร้อมในการขับเคลื่อนประเทศไทยให้เติบโตเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจดิจิตอลระดับภูมิภาคตามยุทธศาสตร์ชาติ Thailand 4.0

ล่าสุดการพัฒนาต้นแบบดำเนินการแล้วเสร็จ ทางทีมวิจัยยังไม่ได้หยุดแค่การทำต้นแบบ แต่จะมีการพัฒนาต่อยอด โดยการออกแบบการใช้พลังงานด้วย Hive Platform ของ PEA ที่จะนำมาใช้กับที่อยู่อาศัย เป็นงานวิจัยที่จะนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์ในสิ้นปี 2560 โดยเป็นการพัฒนาธุรกิจนี้ร่วมกับผู้ประกอบการพวกบ้านพักอาศัยหรือคอนโดมิเนียม เพื่อทำธุรกิจร่วมกัน และเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการของลูกค้า สร้างองค์ความรู้และพัฒนานวัตกรรมใหม่ที่สามารถขยายผลเพื่อสร้างเครื่องมือ หรืออุปกรณ์พาณิชย์ และสร้างการบริการใหม่ๆ เพื่อรองรับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา 


ที่มา : งานวิจัยและพัฒนา การพัฒนาต้นแบบแพลตฟอร์มระบบบริหารและจัดการพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA  HiVE  Platform)  สำหรับบ้านพักอาศัย


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save