ราช กรุ๊ป ชูแผนกลยุทธ์ครึ่งปีหลัง พัฒนาโครงการพลังงานทดแทนในต่างประเทศ 9 โครงการ หนุนกำลังการผลิตกว่า 10,000  MW ใน 10 ปีข้างหน้า มุ่งสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2050


บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ชูแผนกลยุทธ์ขับเคลื่อนธุรกิจในช่วงครึ่งปีหลัง มุ่งเน้น 5 แนวทาง ประกอบด้วย 1) การเร่งพัฒนาโครงการในพอร์ตของบริษัทร่วมทุน เน็กส์ซิฟ ราช เอ็นเนอร์ยี อินเวสเม้นต์ (NREI) และบริษัท ราช-ออสเตรเลีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด (RAC) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยในออสเตรเลีย 2) แสวงหาการลงทุนในตลาดเดิมที่มีศักยภาพ และตลาดใหม่เพื่อสร้างการเติบโตในระยะยาว 3) การบริหารสินทรัพย์เพื่อสร้างรายได้และการเติบโตอย่างยั่งยืน 4) การบริหารโครงการที่กำลังก่อสร้างให้แล้วเสร็จและเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าให้กับลูกค้าได้ตามกำหนดเวลา และ  5) มุ่งสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2050 แนวทางดังกล่าวนี้จะช่วยให้บริษัทฯ สามารถเติบโตได้ต่อเนื่องในระยะยาว ซึ่งปัจจุบันกำลังการผลิตที่บริษัทฯ รับรู้ตามสัดส่วนการลงทุนได้เพิ่มขึ้นถึง 10,807.35 เมกะวัตต์ พร้อมตั้งเป้าหมายในปี 2566 เพิ่มความสามารถในการทำกำไรของสินทรัพย์และบริหารประสิทธิภาพทางการเงิน กำลังการผลิตพลังงานทดแทน 20%  ของกำลังการผลิตรวมบริษัทฯ  พัฒนาโครงการในพอร์ต NREI RAC และธุรกิจ Non-power และขับเคลื่อนเป้าหมายกลยุทธ์ความยั่งยืนและกลยุทธ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ชูศรี เกียรติขจรกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงการดำเนินงานในช่วงครึ่งปีหลัง 2566ว่า  บริษัทฯ ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาโครงการที่มีอยู่ในพอร์ตของ NREI และ RAC รวม 9 โครงการ กำลังการผลิตตามสัดส่วนการถือหุ้น รวม 1,116.98 เมกะวัตต์ โดย 4 โครงการ ตั้งอยู่ในฟิลิปปินส์ ซึ่งถือเป็นตลาดใหม่ที่สำคัญของบริษัทฯ ประกอบด้วยโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ 2 แห่ง  ได้แก่ โครงการคาลาบังก้า กำลังการผลิตตามสัดส่วนการถือหุ้น 36.33  เมกะวัตต์ กำหนดเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ในปี 2567  และโครงการ NPSI กำลังการผลิตตามสัดส่วนการถือหุ้น 73.5  เมกะวัตต์ กำหนดเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ในปี 2568

และโครงการพลังงานลมบนชายฝั่ง และในทะเล อีก 2 โครงการ รวมกำลังการผลิตตามสัดส่วนการถือหุ้นประมาณ 550 เมกะวัตต์  ตามด้วยโครงการพลังงานน้ำ 5.55 เมกะวัตต์ และพลังงานลม 59.60  เมกะวัตต์ในเวียดนามอีก 2 โครงการ กำลังการผลิตตามสัดส่วนการถือหุ้น รวม 65.15 เมกะวัตต์ และอีก 3 โครงการในออสเตรเลีย กำลังการผลิตตามสัดส่วนการถือหุ้นรวม 502 เมกะวัตต์ ประกอบด้วย โรงไฟฟ้าพลังงานลม 252 เมกะวัตต์โครงการพลังงานแสงอาทิตย์  150 เมกะวัตต์ และโครงการระบบกักเก็บพลังงานแบบแบตเตอรี่ 100 เมกะวัตต์   ซึ่งหากทำได้ตามแผนจะรับรู้รายได้ทุกปี

นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้แสวงหาโอกาสต่อยอดการลงทุนและประสานความร่วมมือกับพันธมิตรธุรกิจชั้นนำในการขยายฐานธุรกิจในตลาดเดิมและตลาดใหม่  โดยตลาดเดิมที่มีศักยภาพ ได้แก่ ไทย สปป.ลาว อินโดนีเซีย เวียดนาม และออสเตรเลีย ทั้งในธุรกิจพลังงานไฟฟ้าและนอกภาคการผลิตไฟฟ้า ได้แก่ บริการทางการแพทย์และดูแลสุขภาพ  โดยพิจารณาการลงทุนผสมผสานทั้งโครงการประเภท Greenfields หรือ Brownfields รวมทั้งการเข้าซื้อกิจการที่ดำเนินงานแล้ว เพื่อให้พอร์ตการลงทุนสมดุลและอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยอยู่ในระดับที่ยอมรับได้  ส่วนตลาดใหม่  ได้แก่ เวียดนาม อินโดนีเซีย และฟิลิปปินสฺ์  ซึ่งบริษัทฯ ลงทุนเป็นครั้งแรก

“ในปีนี้บริษัทฯ ประสบความสำเร็จในการเข้าสู่ตลาดฟิลิปปินส์ โดยโครงการพลังงานแสงอาทิตย์คาลาบังก้า กำลังการผลิตติดตั้ง 74 เมกะวัตต์สูงสุด อยู่ระหว่างการก่อสร้างและกำหนดจะผลิตไฟฟ้าจำหน่ายเชิงพาณิชย์ในปี 2567 ซึ่งกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้ร้อยละ 85 มีสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับบริษัทในเครือของ AboitizPower, AP Renewables และ Aventenergy นอกจากนี้ ยังมีโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ NPSI ขนาดกำลังการผลิตติดตั้ง 150 เมกะวัตต์สูงสุด รวมทั้งโครงการพลังงานลมบนชายฝั่งอ่าวซานมิเกล และโครงการพลังงานลมในทะเล ซึ่งเป็นโครงการขนาดใหญ่กำลังการผลิตติดตั้งประมาณ 400-450 เมกะวัตต์ ที่อยู่ระหว่างการพัฒนาและคาดว่าจะสามารถผลิตไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ได้ในปี 2568   ปี 2570 และปี 2571 ตามลำดับ ส่วนในออสเตรเลียได้เริ่มพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ กำลังการผลิตติดตั้ง 150 เมกะวัตต์สูงสุด ซึ่งคาดหมายว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จในปี 2568 นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้ดำเนินการศึกษาเพื่อหาลู่ทางการลงทุนในตลาดประเทศพัฒนาแล้ว ทั้งโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน โครงการโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติที่มีศักยภาพสามารถเปลี่ยนเป็นเชื้อเพลิงไฮโดรเจนได้ ตลอดจนโครงการผลิตเชื้อเพลิงไฮโดรเจนในออสเตรเลีย ซึ่งเป็นตลาดที่มีศักยภาพมาก กอปรกับบริษัทฯ มีโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนอยู่หลายแห่งจึงถือเป็นโอกาสที่น่าสนใจ อีกทั้งยังจะช่วยสนับสนุนเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกเพื่อให้บรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2050 (พ.ศ. 2593)   ได้เป็นอย่างดี”  ชูศรี กล่าว

สำหรับโครงการผลิตเชื้อเพลิงไฮโดรเจน (Green Hydrogen) ในออสเตรเลีย ซึ่งถือเป็นเทคโนโลยี ถ้าสามารถหาคู่ค้าได้ คาดว่าในปี 2568 จะเห็นโครงการ Green Hydrogen ในออสเตรเลีย โดยใช้เงินลงทุน Pilot Plant ราว 250-250 ล้านเหรียญสหรัฐ

ชูศรี กล่าวว่า บริษัทฯ ได้ตั้งงบลงทุนสำหรับการขยายการเติบโตในปี 2566  คิดเป็นเงิน 35,000 ล้านบาท แบ่งเป็นธุรกิจไฟฟ้า 29,000 ล้านบาท  และธุรกิจ  Non-power 6,000 ล้านบาท โดยใช้เงินลงทุนครึ่งปีแรกในธุรกิจไฟฟ้าแล้ว 651 ล้านบาท และใช้เงินลงทุนครึ่งปีแรกในธุรกิจ Non-power  301 ล้านบาท

บริษัทฯ ยังให้ความสำคัญกับการบริหารประสิทธิภาพสินทรัพย์ เพื่อสร้างการเติบโตและความมั่นคงของรายได้ โดยกลุ่มโรงไฟฟ้าขนาดเล็กประเภทโคเจนเนอเรชั่นในประเทศไทย ได้มุ่งเน้นด้านการตลาดเพื่อเพิ่มลูกค้าอุตสาหกรรมซื้อไฟฟ้าและไอน้ำให้เต็มกำลังการผลิตที่มีอยู่ ขณะที่โรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ในประเทศและต่างประเทศ จะเน้นที่การรักษาประสิทธิภาพความพร้อมจ่ายรองรับคำสั่งเดินเครื่องของลูกค้า บริหารจัดการเชื้อเพลิงและต้นทุนการผลิตให้มีประสิทธิภาพ ส่วนโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการน้ำและติดตามสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อประเมินความเสี่ยงและบริหารการผลิตไฟฟ้าให้ได้ตามสัญญา ปัจจุบันบริษัทฯ มีกำลังการผลิตเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ 7,873.96เมกะวัตต์  และมีโครงการที่กำลังพัฒนาและก่อสร้าง ซึ่งจะทยอยเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ตั้งแต่ปี 2566 จนถึง ปี 2576 มีจำนวนรวม 20 โครงการ กำลังการผลิตตามสัดส่วนการถือหุ้นรวม 2,933.39 เมกะวัตต์  ทั้งนี้หากเสร็จตามแผนตั้งแต่ปี 2566 ถึง 2576  รวมระยะเวลา 10 ปี  ส่งผลให้บริษัทฯ มีกำลังการผลิตรวม 10,807.35  เมกะวัตต์

ชูศรี กล่าวว่า สำหรับการจัดการลดก๊าซเรือนกระจก ในปีนี้ บริษัทฯ ได้กำหนดแผนกลยุทธ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยมี 3 แนวทาง คือ การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าเพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การขยายการลงทุนในธุรกิจ สีเขียว และการชดเชยและซื้อ-ขายคาร์บอน ซึ่งแต่ละแนวทางได้กำหนดเป้าหมายระยะกลางในปี 2030 ไว้อย่างชัดเจน ประกอบด้วย การลดปริมาณความเข้มข้นของปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อหน่วยไฟฟ้า (GHG Intensity) ในโรงไฟฟ้าที่ใช้พลังงานฟอสซิลให้ได้ 15% เทียบกับปีฐาน 2566   การเพิ่มกำลังการผลิตพลังงานทดแทนให้ถึง 30% และวางเป้าหมายดูดกลับก๊าซเรือนกระจกจากป่าไม้ (คาร์บอนเครดิต) ให้ได้ 1% ของปริมาณการปล่อยทั้งหมด  ด้วยการปลูกป่า ฟื้นฟูป่า โดยบริษัทฯ ได้จัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวแล้ว

ทั้งนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ครั้งที่ 9/2566 เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม ที่ผ่านมา ได้อนุมัติการจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลสำหรับผลการดำเนินงานรอบ 6 เดือนแรก (วันที่ 1 มกราคม – 30 มิถุนายน 2566) เป็นเงินปันผลจ่ายระหว่างกาลจำนวน 1,740 ล้านบาท คิดเป็น 0.80 บาทต่อหุ้น ตามกำหนดรายชื่อผู้มีสิทธิรับเงินปันผลระหว่างกาล (Record Date) ในวันที่ 4 กันยายน 2566 โดยมีกำหนดจ่ายเงินปันผลในวันที่ 15 กันยายน ศกนี้


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save