1. บทบาทหน้าที่ของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ในฐานะผู้กำหนดนโยบายทางด้านพลังงานของประเทศไทย ในการตัดสินใจให้การสนับสนุนการจัดงาน SETA ประจำปี 2023 ในครั้งนี้ ?
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ให้ความสำคัญกับงานประชุมพลังงานและเทคโนโลยีที่ยั่งยืนแห่งเอเชียหรือ SETA มาตั้งแต่มีการจัดงานในปีแรกจนถึงในปัจจุบัน ด้วยเหตุผลสำคัญที่เห็นว่างานนี้เป็นแพลตฟอร์มหรือเวทีสำคัญในการให้กรมฯ ได้แสดงแนวนโยบายทางด้านพลังงานให้กับคนที่มาร่วมงาน ซึ่งเกี่ยวข้องกับพลังงานทั้งสิ้น ทั้งในประเทศและต่างประเทศ กรมฯ ได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองพร้อมร่วมนำเสนอนโยบายสำคัญด้านพลังงานของกรมฯ และกระทรวงพลังงาน เวทีนี้สามารถสร้างความร่วมมือจากทุกภาคส่วน และสร้างความเชื่อมโยงระหว่างกันในแวดวงอุตสาหกรรมพลังงาน และมีเป้าหมายร่วมกันในการเปลี่ยนผ่านสู่อุตสาหกรรมพลังงานในอนาคต จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการสร้างความร่วมมือที่ยั่งยืนร่วมกัน
ภายใต้นโยบายของกระทรวงพลังงาน ได้มอบหมายภารกิจหลักแก่ พพ. เพื่อเป็นผู้นำการขับเคลื่อนการใช้พลังงานทดแทนหมุนเวียนและอนุรักษ์พลังงานให้สำเร็จบรรลุเป้าหมาย พพ. เองได้ปรับบทบาทองค์กรก้าวสู่ยุคเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน (Energy Transition) นอกจากจะต้องสร้างความมั่นคงด้านพลังงานแล้ว ยังเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายและการดำเนินการหลายด้านเพื่อขับเคลื่อนประเทศเข้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี ค.ศ. 2050 และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี ค.ศ. 2065 ตลอดจนการส่งเสริมการผลิตพลังงานสะอาดให้เป็นไปตามเป้าหมาย การปรับตัวเพื่อรองรับและส่งเสริมการผลิตและการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) รวมทั้งสร้างพันธมิตรและร่วมมือกับทุกภาคส่วนขับเคลื่อนการพัฒนาการส่งเสริมประสิทธิภาพการใช้พลังงาน จัดหาแหล่งพลังงานใหม่เพื่อพัฒนาเป็นพลังงานทางเลือก การใช้พลังงานแบบผสมผสานควบคู่ไปกับการอนุรักษ์พลังงาน และสนับสนุนเผยแพร่เทคโนโลยีด้านพลังงานอย่างเป็นระบบต่อเนื่อง เพื่อสนองตอบความต้องการของทุกภาคส่วนอย่างเพียงพอ ด้วยต้นทุนที่เอื้อต่อการพัฒนาประเทศ และการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน
2. เนื่องจากในปีนี้ SETA 2023 มุ่งเน้นการพูดถึงการใช้พลังงานหมุนเวียนเป็นตัวหลัก เพื่อการพุ่งเป้าสู่จุดหมายคือคาร์บอนสุทธิเป็นศุนย์ ทาง พพ. มีแนวทางการในนำเสนอในเรื่องแนวนโยบายทางด้านพลังงานหมุนเวียนด้านเป็นอย่างไร?
จะเห็นว่า พพ. เองก็มีแนวนโยบาย incentive และผลงานในการสนับสนุนโครงการต่างๆ ในการส่งเสริมการลดการปล่อยคาร์บอน อาทิเช่น การสนับสนุนการติดตั้งระบบพลังงานหมุนเวียนในทุกภาคส่วนของประเทศเพื่อการก้าวสู่ Carbon Neutrality และ Net Zero และทิศทางการขับเคลื่อนของอุตสาหกรรมพลังงานสะอาดไทยในหลากหลายมิติ และอื่นๆ
3. ท่านมีความคิดว่า คิดว่าประโยชน์ที่อุตสาหกรรมพลังงานไทยจะได้รับจากงาน SETA 2023 มีอะไรบ้าง?
อันดับแรก มองว่างานนี้เป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้กับประชาชนทุกคนได้เข้าถึงองค์ความรู้ทางด้านพลังงานได้เป็นอย่างดี เราสามารถได้รับรู้รับฟัง เรียนรู้ในเทคโนโลยี นวัตกรรมต่างๆ โดยไม่จำเป็นต้องเสียเวลา เสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปต่างประเทศ เพื่อไปชมงานหรือเจอผู้คน ในงาน SETA ได้จัดให้มีการพบปะผู้คนจากวงการพลังงานมาจากนานาประเทศ ทั้งในระดับผู้นำ ผู้บริหารระดับซีอีโอของบริษัทชั้นนำ ผู้ลงทุน รัฐวิสาหกิจ จากทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งหมดนี้ ก็เพื่อสร้างความร่วมมือ แลกเปลี่ยนมุมมองเชิงลึกเพื่อสร้างการขับเคลื่อนในอุตสาหกรรมพลังงานในระดับเอเชียและโลก
ประเด็นต่อมามองว่า ถือเป็นโอกาสอันดีที่ก่อให้เ กิดการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจส่งเสริมให้เกิดโอกาสการลงทุน ได้รับรู้เทรนด์หรือเทคโนโลยีและนวัตกรรมล่าสุดในด้านพลังงาน อาทิ พลังงานแสงอาทิตย์ เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า แบตเตอรี่ ไฮโดรเจน ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ล้วนกระตุ้นให้เกิดการตื่นตัว สร้างความเชื่อมั่นในการลงทุนในอุตสาหกรรมพลังงานสะอาดของประเทศไทยได้เป็นอย่างดี
สุดท้ายคือ การสร้างความตื่นตัวในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในระดับโลก นั้นคือ กฏระเบียบบังคับของโลกว่าด้วยมาตราการการกีดกันการค้าต่อกระบวนการผลิตเพื่อลดการปล่อยคาร์บอนอย่างยั่งยืน ซึ่งภายในงานจะมีตัวแทนจากองค์กรระดับโลกมาร่วมแชร์ในส่วนนี้ สิ่งนี้เป็นสิ่งที่เราในวงการพลังงานไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ และจำเป็นต้องเตรียมพร้อม เพื่อรับมือ ปรับตัวและสร้างการเติบโตต่อไป
4. สุดท้ายนี้ท่านมองทิศทางภาพรวมการพัฒนาอุตสาหกรรมพลังงานของไทย สู่พลังงานสะอาดอย่างยั่งยืนอย่างไร
ประเทศไทยมีการขับเคลื่อนและตื่นตัวในการก้าวสู่พลังงานสะอาดค่อนข้างเร็วและเป็นรูปธรรม ทั้งในส่วนของภาครัฐในการกำหนดนโยบาย ในขณะที่ภาคเอกชนก็มีการปรับแผน สร้างเครือข่าย และมีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาใช้มากขึ้น โดยในส่วนของกระทรวงพลังงานมีแผนงานสำคัญในการขับเคลื่อนพลังงานสู่พลังงานสะอาดในหลากหลายมิติ เช่น
- ด้านความมั่นคงสู่สังคมคาร์บอนต่ำมีการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนในการดำเนินงาน มีแผนการลงทุน Grid Modernization อย่างชัดเจน มีการปรับปรุงกฏ กติกาในการส่งเสริมการซื้อขายพลังงานสะอาด
เชิงพื้นที่ และ ส่งเสริมการลงทุน EV การใช้ประโยชน์และการกักเก็บคาร์บอน (CCUS) เป็นต้น - ด้านพลังงานด้วยการเสริมสร้างเศรษฐกิจ เช่น เร่งส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ การเร่งพัฒนาเครื่องมือทางการเงินเพื่อส่งเสริมพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
- ด้านพลังงานลดความเหลื่อมล้ำ และสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีการส่งเสริมการลงทุนโรงไฟฟ้าชีวมวล/ก๊าซชีวภาพจากพืชพลังงานเพื่อชุมชนและเศรษฐกิจฐานราก การพัฒนาระบบไฟฟ้าสำหรับพื้นที่เกาะและพื้นที่ห่างไกลที่ไม่มีไฟฟ้าเข้าถึง หรือมาตรการการช่วยเหลือด้านพลังงานแบบเฉพาะให้กับกลุ่มเปราะบาง เช่น ส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้มผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือช่วยเหลือค่าไฟฟ้าแก่ผู้มีรายได้น้อย
- ด้านการพัฒนาองค์กรเพื่อให้บริการ โดยเผยแพร่ข้อมูลด้านพลังงานรูปแบบ Interactive Dashboard แสดงข้อมูลเชิงลึกด้านพลังงานผ่านการประมวลผลรูปแบบที่เข้าใจง่าย เพื่อใช้สื่อสารให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลได้อย่างสะดวก รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพด้านดิจิทัลในการดำเนินงานด้านพลังงาน
สุดท้าย ด้านการสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน ได้จัดทำแผนพลังงานชาติ และแผนย่อยรายสาขา เพื่อมุ่งสู่การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์สุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี ค.ศ. 2050 เพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนาพลังงานของไทยรองรับการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน โดยนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่มาใช้ การจัดทำโรดแม็ป (Roadmap) มีระบบเทคโนโลยีการดักจับกักเก็บคาร์บอนเพื่อใช้ประโยชน์ (CCUS) เพื่อให้ไทยบรรลุเป้าหมายมุ่งสู่การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ตามเป้าหมายที่วางไว้
สุดท้ายนี้ ขอเชิญชวนคนที่สนใจในเรื่องพลังงาน มาร่วมงาน SETA 2023 และ Solar+Storage Asia 2023 ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 17-18 สิงหาคม 2566 นี้ ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ โดยมีหน่วยงานจากภาครัฐและเอกชนมาร่วมงานกันมากมาย ถือเป็นหนึ่งในการแสดงบทบาทและโชว์ศักยภาพการผลักดันทิศทางอุตสาหกรรมพลังงานไทยสู่พลังงานแห่งอนาคตในเวทีนานาชาติได้อีกทางหนึ่ง ซึ่งมั่นใจว่าทุกภาคส่วนจะได้ประโยชน์จากการเข้าร่วมกิจกรรมในงานนี้อย่างแน่นอน ขอบคุณครับ