กระทรวงดิจิทัลฯ – สดช. – DUGA จัดสัมมนาโครงการ “เมืองยั่งยืน 2023” พัฒนานวัตกรรมบริหารเมือง ยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีให้ประชาชน


กรุงเทพฯ : ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นประธานในพิธีเปิดงานโครงการ “เมืองยั่งยืน 2023” (Sustainable City 2023) ซึ่งเป็นงานสัมมนาและแสดงนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน ที่จัดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES) สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช. หรือ ONDE) และสมาคมผู้ใช้ดิจิทัลไทย (Thai Digital Technology User Group Association : DUGA) ในวันที่ 21 -22 มิถุนายน พ.ศ. 2566 ณ ห้องประชุม Mayfair Ballroom ชั้น 11 โรงแรมเดอะ เบอร์เคลีย์ โดยมีวิทยากรจากหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ร่วมปาฐกถาและสัมมนาวิชาการ เพื่อสร้างความตระหนัก ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางในการพัฒนาเมืองได้อย่างสร้างสรรค์เหมาะสมกับท้องถิ่น ให้น่าอยู่ ทันสมัย อย่างยั่งยืน และมีผู้เข้าร่วมสัมมนาทั้งสองวันกว่า 500 คน

นอกจากงานสัมมนาแล้ว โครงการเมืองยั่งยืน 2023 ยังเป็นเวทีในการแสดงนวัตกรรมทางด้านการพัฒนาเมืองในทุกองค์ประกอบ เพื่อการพัฒนาโครงการอย่างชาญฉลาดและเหมาะสม ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างเครือข่ายเมืองยั่งยืนร่วมกันอย่างบูรณาการอย่างยั่งยืน

ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES) กล่าวว่า โครงการเมืองยั่งยืนเป็นความร่วมมือของกระทรวงดิจิทัล ฯ กับสมาคมผู้ใช้ดิจิทัลไทย เพื่อนำนวัตกรรมในการดำเนินงานในหลาย ๆ หน่วยงาน ซึ่งสามารถที่จะขยายผลและนำไปใช้ในองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จำนวนมากได้ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาเมือง ปัจจุบันมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น6,000 – 7,000 แห่ง ถ้าต้องการจะพัฒนาให้เมืองประสบความสำเร็จ ประชาชนอยู่ดีกินดีมีสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยใช้เทคโนโลยี หรือนวัตกรรมเข้าไปช่วยมีปัจจัยที่สามารถดำเนินการได้โดยใช้เวลาไม่นานนัก ซึ่งมีทั้งสิ้น 3 ประการ ประการแรก องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้อง Scale up เลือกสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนในพื้นที่มากที่สุด โดยไม่ต้องคิดค้นอะไรใหม่มากจนเกินไป ตรงนี้เป็นจุดสำคัญ เพราะหลายครั้งที่มีการใช้งานระบบดิจิทัล จะเห็นว่าสิ่งที่ทำคือเรื่องใหม่เ แต่ในความเป็นจริง อาจจะมีคนทำสำเร็จอยู่แล้ว เช่น ระบบการจัดการเรื่องขยะของเทศบาลยโสธร น่าจะเสร็จแล้ว ซึ่งจะเป็นตุ๊กตาที่ดีและสามารถตอบประโยชน์ของต้นทุนในการจัดการ

“อปท. อาจจะใช้ Paper Less ใช้ระบบดิจิทัลมีอยู่แล้วในโลกนี้ ซึ่งมีผู้ให้บริการอยู่แล้วโดยไม่ต้องเป็นเรื่องใหม่ แต่หลายหน่วยงานอาจจะรู้สึกว่าฉันจะต้องไม่เหมือนใคร ฉันต้องทำเอง ซึ่งผมคิดว่าประเด็นพวกนี้เป็นจุดที่ทำให้การขยายผลของบ้านเราไม่พัฒนา” ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ กล่าว

ประการที่สอง Success Story ความสำเร็จหลายๆ เรื่อง จะต้องเลือกเรื่องที่เป็นประโยชน์และเป็นการลงทุนที่ได้ผลตอบแทนกับคนของเราในเทียบต้นทุนกับประโยชน์ที่ดี ในบางเรื่องอาจจะไม่ต้องนำเทคโนโลยีมาใช้ทั้งหมด สิ่งที่เห็น คือ บางจังหวัดที่เป็นสมาร์ทซิตี้ นำระบบจัดการสี่แยกไฟแดง ซึ่งใช้ค่าใช้จ่ายน้อย หากท้องถิ่นมีปัญหารถติด นำระบบกล้องที่สามารถคำนวณรถที่มาจากด้านใดด้านหนึ่งแล้วสามารถปล่อยรถได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตรงนี้อาจจะเหมาะกับพื้นที่บางส่วนแต่อาจจะไม่เหมาะกับพื้นที่ที่จะต้องมีไฟแดงก็ได้

ประการที่สาม การทำให้เมืองยั่งยืน ที่ทำให้ประชาชนต่างได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่และจริงจัง ซึ่งจะทำให้ประชาชนพอใจจากการลงพื้นที่ดูงานที่จังหวัดหนึ่งต้องการพัฒนางานของโรงพยาบาลรัฐ โดยให้ประชาชนไม่ต้องเดินทางมาหาหมอที่โรงพยาบาลเนื่องจากมีโรคบางประเภทที่ไม่จำเป็นต้องมาหาหมอ ถ้ามีแอปพลิเคชันที่จะตรวจสอบว่าผู้ป่วยคนนี้อาจจะอยู่ในเกณฑ์ที่ดีไม่จำเป็นต้องเดินทางมาหาหมอที่โรงพยาบาล จะเห็นได้ว่าแอปพลิเคชันนี้จะมีผลต่อการดูแลประชาชนในพื้นที่อย่างมาก เพราะถ้าเรามีระบบที่ดีทำให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดีได้ ตรงนี้จะเป็นประโยชน์กับคนในท้องถิ่น

กระทรวงดิจิทัลฯ มีหน้าที่ Scale up การใช้เทคโนโลยีบางอย่าง ถ้าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องการที่ใช้ระบบจะคำนวณตรวจสอบ รัฐบาลอาจจะต้องลงทุนสร้างโครงสร้างพื้นฐานบางอย่าง เช่น ระบบดาต้าเซ็นเตอร์หรือ คลาวด์ซิสเต็มส์ เพื่อจะทำให้ข้อมูลของหน่วยงานของอปท.ไปอยู่ในระบบ ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญ การที่อปท.สร้างระบบขึ้นมาเอง อาจจะมีความเสี่ยงในเรื่องของ Cyber Security ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ที่ถูก Hack ในส่วนนี้ทางกระทรวงดิจิทัลฯ จะรับมาเป็นหน้าที่ของทางกระทรวงฯ โดยมีแผนงานที่จะต้องดำเนินการต่อไปในการสนับสนุนให้มีการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน ” ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ กล่าว

สัมมนาโครงการเมืองยั่งยืน 2023

“การจัดงานในลักษณะอย่างนี้เป็นการจัดงานครั้งแรกที่จะทำให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกัน แต่สิ่งที่สำคัญที่สุด เราต้องการให้ท่านผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลับไปพร้อมกับไอเดียในการพิจารณาเลือกเอาหลายสิ่งหลายอย่างที่มีประโยชน์กับประชาชนในท้องถิ่นไปขยายผล ซึ่งจะสามารถทำให้ประชาชนในท้องถิ่นได้รับประโยชน์และอยู่อย่างมีความสุข แล้วเราจะติดตามว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่วนหนึ่งรับนำไปปฏิบัติหรือไม่ ” ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ กล่าว

ด้าน สุภาวดี ตันติยานนท์ นายกสมาคมผู้ใช้ดิจิทัลไทย (DUGA) กล่าวว่า การจัดงานเมืองยั่งยืน 2023 ในครั้งนี้ จัดขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อเป็นเวทีพบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างเครือข่ายเมืองยั่งยืนร่วมกันอย่างบูรณาการ โดยมีส่วนแสดงนวัตกรรมเพื่อสร้างเมืองยั่งยืนของเมืองต่างๆ มานำเสนอ เพื่อเป็นตัวอย่างองค์ความรู้ที่ทำให้ได้รับฟัง เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาเมือง พัฒนาท้องถิ่นของประเทศ และมีหัวข้อปาฐกถาพิเศษ จากองค์ปาฐกในหลากหลายมิติกว่า 12 หัวข้อ ประกอบด้วยการสัมมนาวิชาการและปาฐกถาพิเศษจากวิทยากรขององค์กรระดับประเทศ รวมถึงการนำเสนอผลงานการพัฒนาเมือง การนำเสนอเทคโนโลยีและโซลูชัน ให้เหมาะสมกับท้องถิ่น น่าอยู่ ทันสมัย และยั่งยืน พร้อมมอบโล่เกียรติคุณให้แก่องค์กรที่ร่วมนำเสนอผลงานนวัตกรรมพัฒนาเมืองยั่งยืน รวมถึงผู้นำชุมชนได้มีความเข้าใจและนำเทคโนโลยีไปใช้ให้เกิดประโยชน์และสร้างเครือข่ายเมืองยั่งยืนร่วมกันอย่างบูรณาการ เพื่อประเทศได้พัฒนาและเจริญก้าวหน้าต่อไปในอนาคต

สำหรับการสัมมนานี้มีกลุ่มเป้าหมายได้แก่ ผู้บริหารและบุคลากรท้องถิ่นทั่วประเทศ ผู้บริหารและบุคลากรส่วนกลางจังหวัดทั่วประเทศ ผู้บริหารและบุคลากรภาครัฐส่วนกลาง ผู้บริหาร รวมถึงอาจารย์จากสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ และผู้ที่เกี่ยวข้องหรือผู้ที่สนใจ

“การจัดงาน 2 วัน มีผู้เข้าร่วมงานกว่า 500 ท่าน ที่เดินทางมาทั้งจากส่วนกลางและทั่วประเทศ ซึ่งทาง DUGA หวังเป็นอย่างยิ่งว่า เมืองยั่งยืน 2023 จะเป็นจุดเริ่มต้นแห่งการริเริ่มและพัฒนานวัตกรรมทางการบริหารเมือง ตลอดจนการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ไปใช้จริง ในการบริหารงานตามพื้นที่ ท้องถิ่นของตนเพื่อความอยู่เย็นเป็นสุขของประชาชนในเมืองต่อไป” สุภาวดี กล่าวทิ้งท้าย

โดยในวันแรกจะมีหัวข้อดังนี้ “พัฒนาเมืองในอนาคตให้น่าอยู่อย่างยั่งยืน” โดย คุณชณกช ชสิธภนญ์ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์การพัฒนาเมือง สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ “จาก SDGs สู่ ESG ทำไม จึงสำคัญ” โดย ดร.ศิริกุล เลากัยกุล Founder, Brand Strategist & Sustainability Advisor The Brandbeing Consultant Co., Ltd.“คาร์บอนเครดิต พิชิตโลกร้อน” โดย ดร.พฤฒิภา โรจน์กิตติคุณ ผู้อำนวยการ สำนักรับรองคาร์บอนเครดิต องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) “นวัตกรรมเพื่อความยั่นยืนของทรัพยากรน้ำ” โดย ผศ.ดร.อักษรา พฤทธิวิทยา ภาควิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย “การจัดการท่องเที่ยววิถีใหม่ บนฐานเศรษฐกิจหมุนเวียน”โดย คุณสมศักดิ์ บุญคำ ผู้ก่อตั้ง บริษัท โลเคิล อไลค์ จำกัด “ยกระดับสู่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ” โดย คุณดวงพร ขุนทอง ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

ส่วนในวันที่ 2 จะมีหัวข้อ “โลกสีเขียว รอไม่ได้แล้ว วิถีใหม่ของโลกนับจากนี้ไป”โดย ดร.กรรณิการ์ ธรรมพานิชวงค์ นักวิชาการอาวุโส นโยบายด้านภูมิอากาศและการพัฒนาสีเขียว สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) “การใช้ดิจิทัลเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาเมืองให้น่าอยู่ และยั่งยืน ทำอย่างไร” โดยดร.นนท์ อัครประเสริฐกุล ผู้เชี่ยวชาญอาวุโส ฝ่ายส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa)


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save