“นิ้วล็อก” (Trigger Finger) โรคยอดฮิตในคนวัยหนุ่มสาวและวัยชรา


นิ้วล็อก เป็นโรคที่รู้จักแพร่หลาย และมีผู้ป่วยเป็นกันมากมาย ทั้งในคนวัยหนุ่มสาวและวัยชรา มาทำความเข้าใจและรู้จักอย่างถูกต้องกับ “นิ้วล็อก”

นิ้วล็อกเกิดจากความผิดปกติของเส้นเอ็นบริเวณอุ้งมือ เกิดขึ้นได้ทั้ง 2 ข้าง เกิดจากเส้นเอ็นจากบริเวณอุ้งมือที่พาดผ่านไปยังนิ้วมือทั้ง 5 นิ้วของมือ เกิดจากการอักเสบของเส้นเอ็นดังกล่าวหรือมีพังผืดยึดติดรวมถึงการเกิดหินปูนเกาะบริเวณเส้นเอ็นดังกล่าว อาจเป็นนิ้วใดนิ้วหนึ่งหรือเป็นมากกว่าหนึ่งนิ้ว อาจเป็นที่มือข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้าง แล้วแต่ภาวะความผิดปกติที่เกิดขึ้น

ปกติโครงสร้างของมือทั้ง 2 ข้างและการทำงานจะคล้ายคลึงกัน เริ่มจากมีกล้ามเนื้อจากแขนส่วนล่าง จากบริเวณข้อศอก ลงมาเป็นกล้ามเนื้อปกคลุมแขนส่วนล่าง ทั้งแขนส่วนบนไปยังหลังมือหรืออาจเรียกว่าฝ่ามือ เมื่อมาถึงข้อมือจะแยกเป็นเส้นเอ็นเข้านิ้วมือ ทางหลังมือหรือฝ่ามือ เส้นเอ็นที่ไปนิ้วมือทำหน้าที่เหยียดนิ้วมือ ส่วนกล้ามเนื้อด้านตรงข้ามจะเข้าทาง อุ้งมือ แล้วแยกเป็นเส้นเอ็นที่ข้อมือ เข้ามาทางอุ้งมือไปที่นิ้วมือทั้ง 5 นิ้ว ทำหน้าที่กำมือหรือกำนิ้วมือ (งอนิ้วมือ) เวลาที่มือทำหน้าที่ยกของ หยิบของ กำสิ่งของ ฯลฯ เส้นเอ็นทางอุ้งมือจะทำงานมากกว่า และมีหน้าที่ทำงานทั้งวัน ทุกการเคลื่อนไหวของมือมีผลทำให้เส้นเอ็นที่อุ้งมือต้องรับภาระการทำงานตลอด เป็นส่วนใหญ่ บางครั้งมีการหิ้วของหนัก พิมพ์ข้อความอยู่กับเครื่องพิมพ์นานเกินไป ออกกำลังกายที่หักโหมเกินไป มีผลทำให้เอ็นบริเวณอุ้งมืออ่อนล้า ปวดเมื่อย เส้นเอ็นระบม ช้ำ บวม ต่อตัวเส้นเอ็นโดยตรงหรือเยื่อหุ้มเส้นเอ็น เกิดการอักเสบและหดเกร็งภายในเส้นเอ็น ก่อให้เกิดอาการปวดอุ้งมือ ต่ำจากโคนนิ้วมือลงมาเล็กน้อย ซึ่งเกิดขึ้นได้กับนิ้วใดนิ้วหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งนิ้วก็ได้ และเกิดขึ้นได้กับมือทั้ง 2 ข้าง ส่วนใหญ่มือที่ถนัดและทำงานมากกว่าจะมีโอกาสผิดปกติได้มากกว่า เมื่อภาวะการอักเสบรุนแรงขึ้น เส้นเอ็นที่อุ้งมือมีการหดตัวและมีพังผืดมายึดติดกับตัวเส้นเอ็น ทำให้นิ้วมือที่มีเส้นเอ็นผิดปกตินี้เคลื่อนลำบากและเกิดการติดขัดของข้อนิ้วมือ ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า “นิ้วล็อก” ความรุนแรงมีตั้งแต่กดเจ็บ ปวด ช้ำ ระบม บวม ถึงขั้นนิ้วแข็ง งอและเหยียดนิ้วไม่ได้หรือติดขัด ทำหน้าที่ไม่ปกติ

การรักษานิ้วล็อค

หากไม่รุนแรง อาจแช่น้ำอุ่นมือด้านที่เป็น กำและแบมือบ่อยๆ นวดเบาๆ ด้วยน้ำมันนวด ยาหม่องครีม รวมถึงรับประทานยาคลายเส้น แก้ปวดเส้น อาจรวมถึงยาแก้อักเสบเส้น และพักมือให้มากขึ้น หากรุนแรงมากขึ้น แพทย์อาจพิจารณาฉีดยาเข้าเส้นเอ็นที่ผิดปกติ อาจมีอาการเป็นๆ หายๆ เรื้อรัง หากรุนแรงที่อาจทำให้นิ้วติดขัดหรืองอและเหยียดไม่ได้ แพทย์อาจพิจารณาผ่าตัดเพื่อเลาะพังผืดภายในเพื่อให้เส้นเอ็นนิ้วมือนั้นเคลื่อนไหวได้คล่องตัวและลดอาการอักเสบได้

การป้องกันนิ้วล็อค

ควรจะบริหารนิ้วมือ กำมือและแบมือบ่อยๆ ไม่หักโหมกับการทำงานของมือมากเกินไปลดภาวะเครียดทางกายและใจ ช่วยป้องกันและลดภาวะเสื่อมของ “นิ้วล็อก” ได้


ที่มา: หมอโฆษิต


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save