UddC เสนอ 3 ยุทธศาสตร์ 8 มาตรการ เสริมภูมิคุ้มกันเมืองท่องเที่ยวออกแบบนิเวศการท่องเที่ยว “เมืองภูเก็ต” รองรับ COVID-19


ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) เสนอ 3 ยุทธศาสตร์ฟื้นฟูเมืองท่องเที่ยวในวิกฤต COVID-19 พลิกวิกฤตเป็นโอกาสของเมืองอย่างยั่งยืนในภาวะโรคระบาด สร้างแบรนด์เมืองปลอดเชื้อ/ตรวจโรคเข้มเมืองต้นทางถึงเมืองปลายทาง/เชื่อมต่อเมืองกับบริการสาธารณสุขคุณภาพ ชี้ทุกภาคส่วนต้องร่วมมืออย่างเร่งด่วนแข่งกับเวลา ป้องกันธุรกิจที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมและลูกจ้างได้รับผลกระทบ ย้ำเมืองท่องเที่ยวต้องพร้อมเป็นเมืองล้มลุก ที่สามารถตอบสนองต่อสภาวะแวดล้อมภายนอกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและฉับพลันได้เสมอ

ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC)

ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) หนึ่งในศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านยุทธศาสตร์เมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CE.US) นำเสนอยุทธศาสตร์เสริมสร้างภูมิคุ้มกันเมืองท่องเที่ยวในวิกฤต COVID-19 กรณีศึกษาเมืองภูเก็ต โดยกำรออกแบบนิเวศแห่งการท่องเที่ยวเพื่อรองรับมาตรการสาธารณสุข ที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยวกลุ่มใหม่ที่กำลังมองหาที่พักพิงหรือลี้ภัยในช่วงวิกฤต ปรับเมืองภูเก็ตกลายเป็นจุดหมายปลายทางของการท่องเที่ยวและอยู่อาศัยชั่วคราวที่ปลอดภัย สร้ำงระบบควำมเชื่อมั่น (Immunitised Community) บนพื้นฐานของการปรับตัวของต้นทุนทรัพยากรเดิมที่มีอยู่ของเมือง โดยใช้ยุทธศาสตร์หลัก 3 ข้อ ดังนี้ 1) ทำการตลาดและสร้างแบรนด์เมืองในฐานะพื้นที่ปลอดเชื้อในกลุ่มนักท่องเที่ยวปลอดภัย และต้องการอยู่อาศัยระยะยาวเพื่อลดผลกระทบจากมาตรการการกักตัว 14 วัน 2) จัดการตรวจสอบโรคตั้งแต่ต้นทางและปลายทาง รวมถึงสร้างระบบการเดินทางแบบปลอดเชื้อ ตลอดห่วงโซ่อุปทานของการท่องเที่ยว และ3) สร้างพื้นที่ท่องเที่ยวปิดล้อมทางด้านสาธารณสุขพร้อมไปกับการท่องเที่ยว เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับทั้งผู้อยู่อาศัยและนักท่องเที่ยวที่ต้องกลายมาเป็นพลเมืองในระยะสั้น และนำมาซึ่งพลเมืองที่มีคุณภาพในระยะยาวต่อไป

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิรมล เสรีสกุล
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิรมล เสรีสกุล

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) กล่าวว่าวิกฤต COVID-19 สะท้อนให้เห็นจุดอ่อนและความเปราะบางของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศทั้งระบบโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทยที่ต้องพึ่งพาการท่องเที่ยวในระดับสูง (Hyper Tourism Dependency) โดยเฉพาะเมืองภูเก็ต ซึ่งในแต่ละปีสามารถสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวให้กับประเทศได้มหาศาล มีผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดประมาณ 450,000 ล้านบาทต่อปี โดยร้อยละ 49 มาจากภาคท่องเที่ยวและบริการ แต่ทว่าทันทีที่ภาครัฐกำหนดมาตรการเข้มป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ส่งผลให้ภาคการท่องเที่ยวเกิดภาวะชะงักงัน จึงเป็นที่มาของยุทธศาสตร์ฟื้นฟูเมืองท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนมีเป้าหมายเพื่อให้ภูเก็ตและเมืองท่องเที่ยวอื่นๆ กลับมาเป็นเป้าหมายการเดินทางที่นักท่องเที่ยวให้ความเชื่อมั่น และสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศได้ต่อไป

“มาตรการที่จะช่วยฟื้นฟูพื้นที่เมืองหลวงของการท่องเที่ยวอย่างภูเก็ตนั้น เป็นเรื่องที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมกันเสนอแนะและดำเนินการอย่างเร่งด่วนแข่งกับเวลา เนื่องด้วยมีธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวจำนวนไม่น้อยเลยที่เป็นต้นทางของการจ้างงาน ซึ่งต่างมีข้อจำกัดเรื่องสายป่านของทุนที่ใช้ในการหล่อเลี้ยงและฟื้นตัว อันเป็นเหตุให้ต้องเร่งวางยุทธศาสตร์และวางแผนดำเนินการฟื้นตัวพร้อมกับการเยียวยาตั้งแต่วันนี้ ก่อนที่สายป่านจะหมดแล้วเกิดวิกฤตเศรษฐกิจซ้ำอีกระลอกจนฟื้นตัวได้ยากกว่าเดิม” ผู้อำนวยการ UddC-CEUS กล่าว

เพื่อให้ยุทธศาสตร์ 3 ประการสัมฤทธิผล เมืองท่องเที่ยวจำเป็นต้องดำเนินมาตรการอย่างเป็นระบบใน 8 ขั้นตอน ตั้งแต่พื้นที่ต้นทางถึงพื้นที่ให้บริการ ดังนี้ 1) ประเทศต้นทำงและปลายทางประสานความร่วมมือคัดกรองเฉพาะผู้เดินทางปลอดเชื้อ 2) ส่งเสริมแพลตฟอร์มออนไลน์ แจ้งข่าวสารและบริการสำคัญในเมืองท่องเที่ยว 3) วางมาตรการเข้มที่สนามบินนานาชาติ ประตูแรกสู่เมืองท่องเที่ยว 4) ประสานผู้ประกอบการจัดสรรโรงแรมใกล้สนามบินเป็นพื้นที่กักตัวคุณภาพ 5) พัฒนาคุณภาพโครงข่ายการสัญจรในเมือง พร้อมกำหนดมาตรการป้องกันการแพร่เชื้อ 6) ที่พักปลอดภัยตามมาตรฐานสากล ถูกหลักเกณฑ์ด้านวิศวกรรม และการให้บริการพื้นฐาน 7) สร้างเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยผู้ประกอบการท้องถิ่น เชื่อมโยงรัฐและเอกชน และ 8) มีจุดบริการสาธารณะระดับท้องถิ่นในรัศมี 2.5 กิโลเมตร และโรงพยาบาลขนาดใหญ่ในรัศมี 5 กิโลเมตร พร้อมโครงข่ายการสัญจรที่เข้าถึงได้สะดวกในยามฉุกเฉิน

ยุทธศาสตร์ เมืองท่องเที่ยว

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิรมล กล่าวว่าสำหรับรูปแบบการท่องเที่ยวหลังวิกฤต COVID-19 มีแนวโน้มไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป หรืออาจต้องใช้เวลาปรับตัวยาวนานร่วม 2-3 ปี ซึ่งขณะนั้นความต้องการของนักท่องเที่ยวจะเปลี่ยนไป ทั้งในเชิงประสบการณ์และความต้องการส่วนบุคคล เช่น ให้ความสำคัญด้านความปลอดภัยและความสะอาดมากขึ้นเป็นทวีคูณ แต่สิ่งสำคัญคือภาคการท่องเที่ยวจำเป็นต้องถอดบทเรียนเพื่อเตรียมรับมือกับความไม่แน่นอน ดังนั้นโจทย์สำคัญของการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวควบคู่ไปกับการออกแบบหรือข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์ คือการเตรียมความพร้อมให้เกิดภาวะล้มลุกอย่างมีเสถียรภาพ

ยุทธศาสตร์ เมืองท่องเที่ยว

“ยุทธศาสตร์สำคัญของความล้มลุกคือ ต้องมียาสำรองในกระเป๋าอยู่เสมอเพื่อเยียวยาและรับมือกับสิ่งที่ไม่คาดคิดที่เกิดขึ้น และต้องทำให้ทันท่วงที สำหรับภูเก็ตเอง ในฐานะมหานครด้านการท่องเที่ยวทางภาคใต้ของประเทศไทย หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นมหานครการท่องเที่ยวแห่งภูมิภาคเลยก็ว่าได้ คงหนีไม่พ้นกับโจทย์ด้านความสามารถในการล้มลุก รวมถึงการตอบสนองต่อสภาวะแวดล้อมภายนอกอย่างรวดเร็วและฉับพลันเพื่อให้สามารถยังคงใช้ศักยภาพและจุดแข็งด้านการเป็นศูนย์กลางของการท่องเที่ยวที่ตอบโจทย์ ความต้องการที่หลากหลายทั้งในปัจจุบันและอนาคตหลังการเปิดเมือง เพราะนี่คือโอกาสของการปรับเปลี่ยนเพื่อความอยู่รอด และก้าวกระโดดต่อไปอย่างมีเสถียรภาพ” ผู้อำนวยการ UddC-CEUS กล่าว


Source: นิตยสาร Green Network ฉบับที่ 100 กรกฎาคม-สิงหาคม 2563 คอลัมน์ In Trend
โดย ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS)


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save