นักวิชาการชูแนวคิด Green Tourism และ Building Back Better จัดการทรัพยากรธรรมชาติหลัง COVID-19


การแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลกระทบอย่างมากต่อเศรษฐกิจและสังคม แต่สำหรับด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ การแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ก่อให้เกิดผลกระทบทั้งเชิงลบและเชิงบวก โดยผลกระทบเชิงลบจากวิกฤตการณ์ COVID-19 ได้แก่ การเพิ่มขึ้นของปริมาณขยะหน้ากากอนามัย ขยะติดเชื้อ รวมถึงขยะพลาสติกจากการให้บริการฟู้ดเดลิเวอรี่ ในขณะที่ผลกระทบเชิงบวกช่วงที่มีการล็อกดาวน์และจำกัดการเดินทางทั้งของประชาชาชนทั่วไปและนักท่องเที่ยว ได้แก่ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดลง ทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ป่าไม้ สัตว์ป่า สัตว์ทะเล ปะการัง ฯลฯ ได้รับการฟื้นฟู

บทความนี้จะให้ความสำคัญกับผลกระทบของการแพร่ระบาดของ COVID-19 ต่อทรัพยากรธรรมชาติทั้งในระยะสั้นและในระยะยาว รวมถึงให้ข้อเสนอแนะแนวทางการจัดการและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในระยะยาวหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 สิ้นสุดลง

การลดลงของปริมาณนักท่องเที่ยว และมาตรการปิดพื้นที่อุทยานช่วยให้ธรรมชาติได้ฟื้นตัว

สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ส่งผลกระทบต่อจำนวนนักท่องเที่ยวชาวไทยและนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทย โดยพบว่าจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติระหว่างช่วงเดือนมกราคมถึงเมษายนลดลงจาก 13.99 ล้านคนในปี พ.ศ. 2562 เหลือ 6.69 ล้านคนในช่วงเวลาเดียวกันในปี พ.ศ. 2563 หรือลดลงประมาณ 52.17% (กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา) โดยการลดลงของจำนวนนักท่องเที่ยวมาจากหลายปัจจัย แต่ปัจจัยที่สำคัญ ได้แก่ มาตรการจำกัดการเดินทาง ทั้งการเดินทางข้ามประเทศและการเดินทางระหว่างจังหวัด มาตรการปิดแหล่งท่องเที่ยว ฯลฯ

ทรัพยากรธรรมชาติ

สำหรับประเทศไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ประกาศปิดพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวในสังกัดของกระทรวงฯ1 ประกอบด้วยอุทยานแห่งชาติกว่า 148 แห่งทั่วประเทศ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า 36 แห่ง และเขตห้ามล่าสัตว์ป่าอีก 48 แห่ง โดยวัตถุประสงค์สำคัญคือ เพื่อลดกิจกรรมการท่องเที่ยวที่คนจะมารวมตัวกันเป็นจำนวนมาก ซึ่งอาจเพิ่มโอกาสในการแพร่กระจายเชื้อ COVID-19

ทรัพยากรธรรมชาติ

ในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศอินเดีย พบสัตว์ป่าและสัตว์ทะเลหายากบ่อยครั้งขึ้นในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของ COVID-19

เมื่อพื้นที่อุทยาน ป่า ภูเขา ทะเล หรือเกาะ ปราศจากนักท่องเที่ยวธรรมชาติมีโอกาสได้รับการฟื้นฟู ตัวอย่างเช่น การปิดอุทยานแห่งชาติในประเทศสหรัฐอเมริกา ส่งผลให้เจ้าหน้าที่ของอุทยานฯ มีการพบเห็นสัตว์ป่า เช่น หมีดำ กวาง แมวบอบแคต และหมาป่าไคโยตี้ บ่อยครั้งขึ้น2 สำหรับประเทศอินเดีย พบว่ามีเต่าทะเลสายพันธุ์ Olive Ridley ซึ่งเป็นสัตว์ทะเลใกล้สูญพันธุ์ตามบัญชีแดงของ IUCN Red List นับแสนตัวขึ้นมาวางไข่บนหาด Gahirmatha และหาด Rushikulya ซึ่งอยู่ในรัฐ Orissa ในช่วงที่ปิดไม่ให้นักท่องเที่ยวเข้าไปเที่ยวเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ที่ผ่านมา มีเต่าทะเลขึ้นมาวางไข่บริเวณดังกล่าวค่อนข้างน้อย เพราะมีเรือประมง เรือนำเที่ยว และนักท่องเที่ยวเข้าออกบริเวณดังกล่าวอย่างหนาแน่น ซึ่งรบกวนเส้นทางหากินของเต่าทะเลชนิดนี้

ทรัพยากรทางธรรมชาติทั้งทางบกและทางทะเลของไทย มีโอกาสฟื้นตัวในระยะสั้น

หลังจากที่มีการปิดอุทยานแห่งชาติและไม่อนุญาตให้นักท่องเที่ยวเข้าชมพื้นที่ในเขตอุทยานฯ ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 พบว่าทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศได้รับการฟื้นตัว เช่น ในอุทยานภูซาง จังหวัดพะเยา พบว่าพืชพันธุ์ไม้หายากกลับมาเจริญงอกงามอย่างรวดเร็ว สัตว์ป่าต่างๆ เช่น หมูป่า กระรอกบิน ผีเสื้อชนิดต่างๆ นกนานาชนิดที่ไม่ค่อยปรากฏตัวให้เห็น สามารถพบเห็นได้บ่อยครั้ง3 นอกจากนี้ทรัพยากรทางทะเลในหลายพื้นที่ชายฝั่งทะเลของประเทศไทยมีโอกาสฟื้นตัวอย่างเห็นได้ชัด อย่างน้อยในระยะสั้น โดยเฉพาะปะการังและหญ้าทะเล

สาเหตุหนึ่งที่การแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้ทรัพยากรทางทะเลเหล่านี้ฟื้นตัวคือ การปล่อยน้ำเสียจากแหล่งชุมชนและโรงแรมที่พักตลอดแนวชายฝั่งลดลง ส่งผลให้คุณภาพน้ำทะเลดีขึ้น ทำให้ปะการังและหญ้าทะเลฟื้นตัวและเติบโตดีขึ้น นอกจากนี้ คุณภาพน้ำทะเลที่ดีขึ้นและการลดการรบกวนจากกิจกรรมการท่องเที่ยวส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาวลดลง อย่างไรก็ดี ปะการังบางชนิดอาจจะใช้ระยะเวลานานในการฟื้นตัว แต่ในช่วงที่มีการระงับการท่องเที่ยว ปะการังเหล่านี้

สาเหตุหนึ่งที่การแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้ทรัพยากรทางทะเลเหล่านี้ฟื้นตัวคือ การปล่อยน้ำเสียจากแหล่งชุมชนและโรงแรมที่พักตลอดแนวชายฝั่งลดลง ส่งผลให้คุณภาพน้ำทะเลดีขึ้น ทำให้ปะการังและหญ้าทะเลฟื้นตัวและเติบโตดีขึ้น นอกจากนี้ คุณภาพน้ำทะเลที่ดีขึ้นและการลดการรบกวนจากกิจกรรมการท่องเที่ยวส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาวลดลง อย่างไรก็ดี ปะการังบางชนิดอาจจะใช้ระยะเวลานานในการฟื้นตัว แต่ในช่วงที่มีการระงับการท่องเที่ยว ปะการังเหล่านี้ก็จะมีการก่อตัวและงอกใหม่ สำหรับสัตว์ทะเล เช่น เต่ามะเฟือง พะยูน ปลาโลมาอิรวดี และปลาฉลามหูดำ มีคนพบเห็นสัตว์ทะเลเหล่านี้บ่อยครั้งขึ้น โดยเฉพาะในช่วงที่มีการปิดอุทยานแห่งชาติทางทะเล 23 แห่ง สืบเนื่องจากวิกฤตการณ์ COVID-19

เฝ้าระวังสถานการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติ หลังจากเริ่มมีมาตรการคลายล็อกดาวน์

หลังจากที่มีการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติหลายแห่งเริ่มเปิดรับนักท่องเที่ยวอีกครั้ง ในกรณีของประเทศเวียดนาม หลังจากที่รัฐบาลเวียดนามคลายล็อกข้อจำกัดการเดินทางภายในประเทศ มีชาวเวียดนามจำนวนมากแห่ไปเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ โดยเฉพาะสถานที่ที่มีทัศนียภาพที่งดงาม เช่น อ่าวฮาลอง เป็นต้น สำหรับประเทศสหรัฐอเมริกา หลังจากที่อุทยานแห่งชาติบางแห่งเริ่มเปิดทำการ เช่น Everglades National Park ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของรัฐ Florida และเปิดทำการในวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 ผู้เชี่ยวชาญได้แสดงความกังวลว่าการเปิดให้นักท่องเที่ยวจำนวนมากเข้าไปในอุทยานแห่งชาติ เสียงจากกลุ่มนักท่องเที่ยวอาจรบกวนสัตว์ป่า นอกจากนี้ สัตว์ป่าที่เคยออกมาหาอาหารกินบริเวณถนนช่วงที่อุทยานฯ ปิด อาจเสี่ยงต่อการถูกรถยนต์ของนักท่องเที่ยวชนจนได้รับบาดเจ็บอีกด้วย4

สำหรับผลกระทบระยะยาว ประเด็นสำคัญที่ควรเฝ้าระวัง ได้แก่ประเด็นเรื่องการส่งเสริมและเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวโดยไม่คำนึงถึงความสามารถในการรองรับ (Carrying Capacity) ของแหล่งท่องเที่ยว (Overtourism) ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาการสูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัยทางธรรมชาติ (Habitat Destruction) การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity Loss) ฯลฯ

การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ

นำแนวคิด Green Tourism และ Building Back Better มาใช้ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ หลัง COVID-19

หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 สิ่งสำคัญที่หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องควรเร่งดำเนินการเพื่อวางแผนระยะยาวในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมี 4 เรื่อง คือ 1. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมควรเดินหน้าดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้ทุกภาคส่วน ทั้งประชาชนทั่วไปและนักท่องเที่ยวมีความรู้ ความตระหนัก และเห็นความสำคัญของการดูแลและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งป่าไม้ สัตว์ป่า สัตว์ทะเล ทรัพยากรทางทะเล ฯลฯ โดยอาจร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการในการสอดแทรกประเด็นเหล่านี้ไว้ในหลักสูตรตั้งแต่ระดับประถมศึกษา และร่วมมือกับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาในการให้ข้อมูลและสร้างความตระหนักให้กับนักท่องเที่ยว 2. การดำเนินมาตรการเพื่อแก้ปัญหา Overtourism ในระยะยาว5 เช่น การจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวที่สามารถเข้าไปยังแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติในช่วงเวลาต่างๆ โดยในเมืองอัมสเตอร์ดัมประเทศเนเธอร์แลนด์ มีการนำแอปพลิเคชันมาใช้ในการแจ้งเตือนเมื่อมีนักท่องเที่ยวหนาแน่นในแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ เพื่อให้นักท่องเที่ยวสามารถปรับเปลี่ยนแผนเพื่อมาเยือนแหล่งท่องเที่ยวในช่วงเวลาอื่น หรือมาตรการปิดแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติเพื่อให้ธรรมชาติบริเวณแหล่งท่องเที่ยวได้รับการฟื้นฟู ซึ่งแนวทางนี้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีการดำเนินการในบางพื้นที่อยู่แล้ว แต่ควรมีการพิจารณาต่อยอดหรือขยายผลไปยังแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป 3. ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ และมีขุมทรัพย์ด้านการท่องเที่ยวจำนวนมาก เนื่องจากแต่ละภูมิภาคของประเทศมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่หลากหลาย ทั้งภูเขา ทะเล ฯลฯ ดังนั้นประเทศไทยควรพลิกวิกฤต COVID-19 ให้เป็นโอกาสในการปรับเปลี่ยนและยกเครื่องกลยุทธ์ในการดึงดูดนักท่องเที่ยว โดยปรับเปลี่ยนจากการท่องเที่ยวแบบที่เน้นการเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวเป็นการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ (Quality Tourism) เช่น การท่องเที่ยวสีเขียว (Green Tourism) ซึ่งเป็นการท่องเที่ยวแบบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม6 ใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่า เกิดการอนุรักษ์ทรัพยากรทางธรรมชาติและเกิดความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมโดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ควรบูรณาการการทำงานร่วมกันเพื่อขับเคลื่อนแนวคิดดังกล่าวให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรม

สุดท้ายควรมีการส่งเสริมการนำแนวคิด “Building Back Better” ซึ่งเป็นแนวคิดที่ใช้ในการจัดการภัยพิบัติมาใช้ โดยหลักการภายใต้แนวคิดดังกล่าวคือการบริหารจัดการเพื่อให้สถานการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติหลังสถานการณ์ COVID-19 สิ้นสุดลงดีกว่า ช่วงที่เกิด COVID-19 เพื่อให้ทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศมีความยั่งยืนและมีภูมิคุ้มกันในการรับมือกับ Shock ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต


Source: นิตยสาร Green Network ฉบับที่ 100 กรกฎาคม-สิงหาคม 2563 คอลัมน์ Environment
โดย ประมณฑ์ กาญจนพิมลกุล, ดร.กรรณิการ์ ธรรมพานิชวงค์

* ข้อเสนอนี้เป็นส่วนหนึ่งของ “TDRI Policy Series on Fighting Covid-19”
ภาพ: กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

1 ที่มา: https://www.ryt9.com/s/prg/3116132
2 ที่มา: https://www.theguardian.com/environment/2020/may/21/wildlife-national-parks-covid-19-shutdown-death-valley
3 ที่มา: https://www.posttoday.com/social/local/624223
4 ที่มา: https://www.nbcnews.com/news/us-news/nationalpark-closings-gave-wildlife-room-roam-rangers-advisecaution-n1208216
5 ที่มา: https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/Southern/ReasearchPaper/Overtourism.pdf
6 ที่มา: https://www.thaipost.net/main/detail/64337


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save