สมาคมไฟฟ้าและพลังงานไอทริปเปิลอี (ประเทศไทย) ขอเชิญร่วมงานสัมมนาเชิงวิชาการ เรื่อง “ระบบไฟฟ้าและสื่อสารเคเบิลใต้ดิน สำหรับโครงการพัฒนาในเมืองหลวงและเมืองใหญ่: โครงสร้างพื้นฐาน เทคโนโลยี การออกแบบ ติดตั้ง ทดสอบ ปฎิบัติการ และบำรุงรักษา” ในวันที่ 22 – 24 มกราคม 2567 เวลา 08.30 – 16.30 น. ณ โรงแรมเดอะ สุโกศล กรุงเทพฯ และ เยี่ยมชม โครงการอุโมงค์สายส่ง-สายป้อน (Outgoing) สถานีต้นทางชิดลม ในวันที่ 25 มกราคม 2567 ณ การไฟฟ้านครหลวง เพลินจิต
ระบบเคเบิลใต้ดิน (Underground Cable System) ถูกนำมาใช้งานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจ่ายไฟฟ้า ปรับปรุงภูมิทัศน์ของพื้นที่จ่ายไฟฟ้าและลดอุบัติภัยจากไฟฟ้าต่อชีวิตและทรัพย์สินที่อยู่บริเวณใกล้เคียงแนวสายไฟฟ้าและให้สวยงามเป็นระเบียบ ระบบเคเบิลใต้ดินจึงถูกนำมาติดตั้งเพื่อจ่ายไฟฟ้าสำหรับพื้นที่ศูนย์กลางเมืองและธุรกิจขนาดใหญ่ พื้นที่อุตสาหกรรมทางด้านเทคโนโลยีระดับสูง พื้นที่ศูนย์กลางธุรกิจการท่องเที่ยว พื้นที่ที่มีความสวยงามหรือมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และเป็นพื้นที่พัฒนาเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยแห่งใหม่ เพื่อสนองตอบความต้องการข้างต้น
แม้จะเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าระบบเคเบิลใต้ดินสามารถให้ความเชื่อถือได้ในการจ่ายไฟฟ้าได้ดีกว่าระบบสายไฟฟ้าบนอากาศ (Overhead Lines System) เนื่องจาก มีฉนวนที่แข็งแรง ทั้งถูกฝังไว้ใต้ดินอย่างมิดชิด มีการป้องกันอย่างหนาแน่น ไม่ได้รับผลกระทบจากสภาพแวดล้อมภายนอก เช่น สภาพภูมิอากาศ อุบัติเหตุรถชนเสาไฟฟ้า การสัมผัสจากต้นไม้ สัตว์ หรือคน เป็นต้น แต่หากวิเคราะห์ลึกลงไปในแง่ของจำานวนครั้งเฉลี่ยไฟฟ้าดับ (SAIFI) หรือระยะเวลาเฉลี่ยไฟฟ้าดับ (SAIDI) แล้วจะพบว่าระบบเคเบิลใต้ดินจะมีค่า SAIFI น้อยกว่า แต่กลับมี SAIDI มากกว่า เนื่องจากถ้าเกิดเหตุชำรุดกับสายเคเบิลใต้ดินแล้ว จะต้องใช้เวลาในการซ่อมแซมแก้ไขนานกว่าระบบสายไฟฟ้าแบบอากาศมาก อีกทั้งสายไฟฟ้าใต้ดินจะมีอายุการใช้งานสั้นกว่าสายไฟฟ้าอากาศ ดังนั้นเพื่อรับประกันผลการใช้งานระบบสายเคเบิลใต้ดินให้ได้อย่างมีคุณภาพ เชื่อถือได้ ปลอดภัย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จึงต้องอาศัยการวางแผน ออกแบบ ก่อสร้าง ติดตั้ง บำรุงรักษา ใช้งานและทดสอบอย่างถูกต้องและเหมาะสม
ปัจจุบันประเทศไทยได้มีการนำระบบเคเบิลใต้ดินมาใช้มากขึ้น ดังจะเห็นได้จากการที่รัฐบาลได้อนุมัติเงินลงทุนเพื่อให้การไฟฟ้านครหลวงนำสายไฟฟ้าลงใต้ดินในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เพื่อรองรับการเป็นมหานครแห่งอาเซียน และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคนำสายไฟฟ้าลงใต้ดินสำหรับหัวเมืองใหญ่ต่างๆ ในพื้นที่ต่างจังหวัด ประกอบด้วยพื้นที่ดำเนินการทั้งหมด 16 จังหวัด ครอบคลุมพื้นที่ 12 เขต ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ได้แก่ เชียงใหม่ พิษณุโลก นครสวรรค์ อุดรธานี มุกดาหาร นครราชสีมา ขอนแก่น นครพนม พระนครศรีอยุธยา ชลบุรี ฉะเชิงเทรา นครปฐม เพชรบุรี ภูเก็ต นครศรีธรรมราช และสงขลา เป็นต้น ขณะเดียวกันผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนหลายรายก็มีการเชื่อมต่อระบบสายไฟฟ้าใต้ดินจากโรงไฟฟ้าของตนเองไปยังลูกค้าที่รับไฟตรงในเขตนิคมอุตสาหกรรม เพื่อรับประกันความเชื่อถือได้ในการจ่ายไฟฟ้า ส่วนโรงไฟฟ้าประเภทพลังงานหมุนเวียน เช่น Solar Farm หรือ Wind Farm รวมทั้งหมู่บ้านจัดสรรที่ต้องการทัศนียภาพที่สวยงาม ก็มีการติดตั้งระบบสายเคเบิลใต้ดินเป็นจำานวนมากเช่นเดียวกัน
ปัจจุบันประเทศไทยกำลังประสบปัญหาขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ทักษะที่เหมาะสมต่อการบริหาร สินทรัพย์ระบบสายเคเบิลใต้ดิน ทั้งด้านการวางแผน ออกแบบ ก่อสร้าง ติดตั้งใช้งานและบำรุงรักษาและทดสอบ ขาดเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสำหรับการทำงาน ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำาการพัฒนาให้ได้บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญที่เหมาะสมในจำานวนที่เพียงพอต่อภารกิจดังกล่าวข้างต้น
สมาคมไฟฟ้าและพลังงานไอทริปเปิลอี (ประเทศไทย) ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญจึงได้จัดให้มีการสัมมนาเชิงวิชาการเรื่อง “ระบบไฟฟ้าและสื่อสารเคเบิลใต้ดิน สำหรับโครงการพัฒนาในเมืองหลวงและเมืองใหญ่: โครงสร้างพื้นฐาน เทคโนโลยี การออกแบบ ติดตั้ง ทดสอบ ปฏิบัติการ และบำรุงรักษา-พร้อมเยี่ยมชม โครงการอุโมงค์สายส่ง-สายป้อน (Outgoing) สถานีต้นทางชิดลม ณ การไฟฟ้านครหลวง เพลินจิต” โดยการสนับสนุนวิชาการจาก กฟผ. กฟภ. กฟน. บมจ.โทรคมนาคมแห่งชาติ ผู้ออกแบบ ผู้รับเหมา และผู้ผลิต บริษัทผู้ประกอบการและสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้มีประสบการณ์ในงานภาคปฏิบัติโดยตรง
วัตถุประสงค์ในการจัดสัมมนา
1. เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจพื้นฐานของระบบไฟฟ้าและสื่อสารเคเบิลใต้ดิน เทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐาน แก่ผู้ให้บริการออกแบบ ติดตั้ง ทดสอบ ปฎิบัติการ และบำรุงรักษา ตลอดจนวิศวกรและเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงาน เกี่ยวข้อง
2. เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจในขั้นตอนการบริหารสินทรัพย์ของระบบเคเบิลใต้ดิน ให้สามารถทำางานได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
3. เพื่อเปิดโอกาสให้ปรึกษาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างผู้เข้าสัมมนาทุกคนกับผู้เชี่ยวชาญโดยตรง และทราบถึงความคืบหน้าและรายละเอียดของโครงการต่างๆ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับระบบไฟฟ้าและ สื่อสารเคเบิลใต้ดิน
กลุ่มเป้าหมาย
- ผู้ออกแบบ ผู้ควบคุมงาน ผู้ประสานงานโครงการ ผู้รับเหมา วิศวกร ช่างเทคนิค และเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าและสื่อสารเคเบิลใต้ดิน
- บุคลากรจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้อง และบุคคลทั่วไปที่สนใจ
ผู้สนใจเข้าร่วมสัมมนา สามารถดูรายละเอียดหัวข้อการบรรยายเพิ่มเติม และลงทะเบียนออนไลน์ ได้ที่ https://www.greennetworkseminar.com/ug/
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทรศัพท์ 0-2354-5333 ต่อ 500 / 503 e-mail : seminar@greennetworkseminar.com