การเติบโตของ “ไฮโดรเจนสีเขียว” จากพลังงานลมในจีน


จีนเป็นผู้ผลิตไฮโดรเจนรายใหญ่ที่สุดของโลก ปัจจุบันส่วนใหญ่ผลิตเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมเคมีและการกลั่น และใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลจากถ่านหินเป็นหลัก ซึ่งปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ในกระบวนการผลิตจำนวนมาก จึงเรียก ไฮโดรเจน ที่ได้ว่า “ไฮโดรเจนสีดำ”

นอกจากนี้ จีนยังเป็นผู้นำโลกในการผลิตพลังงานหมุนเวียนอย่าง “พลังงานลม” โดยกว่า 61% ของกำลังการผลิตทั้งหมด ได้จากแหล่งกังหันลมบนบกที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ทางตอนเหนือของประเทศ พื้นที่ที่มีลมแรง ซึ่งในบ้างครั้งพลังงานลมที่ได้ต้องสูญเปล่าไปเพราะระบบกริดยังไม่สามารถรองรับความแปรปวนของปริมาณลมตามธรรมชาติได้ แต่พลังงานหมุนเวียนอย่างพลังงานลม สามารถนำมาใช้เพื่อผลิตไฮโดรเจนได้ โดยปราศจากการปล่อย CO2 ทำให้ไฮโดรเจนที่ได้นี้ เรียกว่า “ไฮโดรเจนสีเขียว

พลังงานลม จากกังหันลม (Wind Turbine)
พลังงานลม จากกังหันลม (Wind Turbine)

ปัจจุบันทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด มหาวิทยาลัยชานตง และมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหัวจง ได้ทำการสำรวจศักยภาพในการควบคุมพลังงานลมของจีน เพื่อศึกษาถึงแนวทางและความเป็นไปได้ในการผลิตไฮโดรเจนสีเขียวที่ปราศจากคาร์บอนด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่าการผลิตไฮโดรเจนสีดำที่ได้จากถ่านหิน

หากไฮโดรเจนสีเขียวสามารถพิสูจน์ได้ว่าสามารถแข่งขันด้านต้นทุนกับคาร์บอนแบล็คที่ใช้อยู่ในอุตสาหกรรมปัจจุบันได้ ไฮโดรเจนสีเขียวจะกลายเป็นแหล่งพลังงานคาร์บอนเป็นศูนย์ ที่สามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ยากต่อการกำจัดคาร์บอน ซึ่งรวมถึงการผลิตโลหะและเหล็กกล้า การทำปูนซีเมนต์และการใช้งานในอุตสาหกรรมการขนส่งและงานหนักหลากหลายประเภทได้

มลพิษทางอากาศ จากการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)
มลพิษทางอากาศ การปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) จากภาคอุตสาหกรรม

นักวิจัยได้เลือกมองโกเลียในตะวันตก พื้นที่ที่มีปริมาณการผลิตพลังงานลมสูง มีการใช้ถ่านหินและไฮโดรเจนสีดำปริมาณมหาศาล เป็นภูมิภาคที่นำมาใช้ในการประเมินความเป็นไปได้ในทางเทคนิคและเศรษฐกิจของการผลิตไฮโดรเจนสีเขียวจากพลังงานลม

จากผลงานวิจัยพบว่า ไฮโดรเจนสีเขียวที่ผลิตได้จากพลังงานลมสามารถแข่งขันกับไฮโดรเจนสีดำได้ โดยผลิตได้มาก ที่ต้นทุนน้อยกว่า 2 เหรียญสหรัฐฯ/กก. ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางในด้านความสามารถในการแข่งขันด้านต้นทุน

ภายในปี 2030 การเปลี่ยนไฮโดรเจนสีดำจากถ่านหิน เป็นไฮโดรเจนสีเขียวที่ได้จากพลังงานลมในพื้นที่มองโกเลียในตะวันตกจะมีปริมาณที่เพิ่มขึ้น และเพียงพอสำหรับการเป็นเชื้อเพลิงป้อนให้กับภาคอุตสาหกรรม โดยจะสามารถช่วยลดการปล่อย CO2 ได้ประมาณ 100 ล้านตันต่อปี เทียบเท่ากับปริมาณครึ่งหนึ่งของคาร์บอนฟุตพริ้นท์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นในเมืองใหญ่อย่างปักกิ่ง

ข้อมูลที่คุณอาจสนใจ


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save