ไทยต้องพร้อมรับการเปลี่ยนผ่านยานยนต์ใช้น้ำมันสู่ยานยนต์ไฟฟ้า


ปีพ.ศ. 2559 กรมสรรพสามิตรายงานว่าสามารถเก็บภาษีน้ำมันทางตรงได้ถึง 177,000 ล้านบาท ส่วน ปตท. บริษัทธุรกิจน้ำมันที่รัฐถือหุ้นเกินครึ่ง แจ้งว่าเสียภาษีปีละกว่า 300,000 ล้านบาท นอกจากนั้นภาษีจากปั๊มน้ำมันทั่วประเทศอีกนับหมื่นล้านบาทต่อปีเรากำลังจะบอกท่านว่ารายได้น้ำมันจากน้ำมันเชื้อเพลิงที่เราอาจจะใช้คำว่า “ของตาย” กำลังได้รับผลกระทบเพิ่มขึ้นแบบวันต่อวัน จากการที่ยานยนต์ใช้น้ำมันในประเทศเปลี่ยนไปสู่ยานยนต์ไฟฟ้า (EV: Electric Vehicle) ทั้งนี้ยังไม่รวมระบบภาษีการนำเข้าของยานยนต์ไฟฟ้าที่ต่ำกว่าน้ำมันและอาจต่ำลงอีก คำถามนาทีก็คือ…ไทยได้อะไรหรือเสียอะไร…?  

ย้อนเวลาไปไม่ถึง 10 ปี รัฐบาลไทยในสมัยนั้นต้องทุ่มทุนมากมายมหาศาลเพื่อให้ประเทศไทยได้ใช้น้ำมันที่ปลอดภัยจากสารตะกั่ว พร้อมผลักดันเชื้อเพลิงชีวภาพอย่างเอทานอลและไบโอดีเซล ภาพโฆษณาคนที่แต่งชุดเหมือนอาบสารตะกั่วยังไม่ทันจะเลือนภาพของยานยนต์ไฟฟ้าซึ่งกูรูเคยพยากรณ์ว่าต้องใช้เวลาพัฒนาอีกกว่า 10 ปี จึงจะคุ้มค่าเชิงพาณิชย์ แต่ยานยนต์ไฟฟ้ากลับเรียนลัดใช้เวลาเพียงปีสองปีทะลุกำแพงความคิดกูรูสู่ธุรกิจที่ต้องจับตามอง ก่อนจะไปที่ Energy Storage ซึ่งเป็น Key Success ของยานยนต์ไฟฟ้า เราคงไม่ทิ้งใครไว้เบื้องหลังตามสัญญาที่ท่านนายกรัฐมนตรีได้กล่าวไว้ว่า “STRONGER TOGETHER” นั่นก็คือกลุ่มไบโอดีเซล และเอทานอล ที่มีผู้ผลิตอยู่ในกลุ่มธุรกิจนี้น้อยรายจึงค่อนข้างปลอดภัยจากคู่แข่งรายใหม่อันเนื่องจากคนในไม่อยากออก คนนอกไม่อยากเข้า จนมีคำพูดมากมายเช่น “ผู้ผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพใช้ชาวไร่ชาวสวนเป็นตัวประกัน” “โรงงานผลิตน้ำมันชีวภาพมีแต่รวยกับรวย แต่คนปลูกพืชราคาขึ้นๆ ลงๆ ”  “เราใช้น้ำมันชีวภาพเพื่อปรับสมดุลราคาพืชผล” และนานาทัศนะซึ่งล้วนแต่น่าฟัง ก่อนที่ใครๆ จะลืมโรงงานผู้ผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพเอทานอลและไบโอดีเซล รวมทั้งชาวสวนชาวไร่ที่หลังขดหลังแข็งช่วยเมืองไทยลดมลพิษและเพิ่มสัดส่วนพลังงานทดแทนจนได้หน้าได้ตาในเวทีโลกกันมาตลอด เรามาเรียนรู้พลังงานเชื้อเพลิงสีเขียวทั้งสองชนิดนี้ดูดีกว่า

                ในปีพ.ศ. 2515 ไทยใช้น้ำมัน (Petroleum  Products) 48.80%  นอกนั้นเป็นไฟฟ้าและแก๊สรวมทั้งถ่านหินและอื่นๆ  ส่วนด้านขนส่ง (Transportation)  ใช้พลังงาน 36.60% แซงภาคอุตสาหกรรมไปเรียบร้อยแล้ว ก่อนที่กลุ่มเชื้อเพลิงชีวภาพจะกลายเป็นประวัติศาสตร์ไป ขอทบทวนความจำย่อๆ ให้ฟัง ดังนี้

                เอทานอล (Ethanol) คือแอลกอฮอล์ 99.5% ที่เรามาผสมกับเบนซินพื้นฐานแล้วเรียกชื่อตามสัดส่วนเอทานอลที่ผสมเข้าไป เช่น E10, E20, E85 ข้อมูลจากรมโรงงานอุตสาหกรรมเมื่อเดือนสิงหาคม 2560 มีโรงงานที่ได้รับอนุญาตผลิตเอทานอลในประเทศไทยทั้งสิ้น  26 โรง โดยใช้น้ำอ้อย กากน้ำตาล มันสด มันเส้น แป้งมันเป็นวัตถุดิบ กำลังการผลิตประมาณ 7 ล้านลิตรต่อวัน ผลิตจริงๆ วันละประมาณ 5 ล้านลิตรต่อวัน เอทานอลในเมืองไทยคล้ายๆ ส่วนเกินในสังคมถูกตบซ้ายจากผู้ปลูกขอขึ้นราคาวัตถุดิบและตบขวาจากรัฐให้ขายราคาถูกๆ แต่ที่ช้ำใจสุดๆ คือผู้บริโภคกล่าวหาว่าเอทานอลทำให้เครื่องยนต์มีปัญหา

                อยากจะเอาวิสัยทัศน์คนไทยใส่ Drone ลอยขึ้นฟ้า ให้มองเห็นความยิ่งใหญ่ของเอทานอลในระดับโลก ท่านอาจไม่ทราบว่าสหรัฐอเมริกาผลิตเอทานอลถึงปีละกว่า 50,000 ล้านลิตร บราซิล ปีละ 20,000 กว่าล้านลิตร ในขณะที่ไทยผลิตได้ประมาณปีละ 1,200 ล้านลิตร ในปีพ.ศ. 2559 สำหรับประเทศไทยใช้วัตถุดิบจากอ้อยเป็นหลัก รองลงมาก็คือมันสำปะหลัง โดยอ้อย 1 ตัน ผลิตเอทานอลได้ 80 ลิตร,กากน้ำตาล 1 ตัน ผลิตได้ 238 ลิตร และ แป้งมัน 1 ตันได้เอทานอล 500 ลิตร ลองคำนวณดูเองแล้วกันว่าถ้าเมืองไทยผลิตเอทานอลวันละ 5 ล้านลิตร ต้นทุน 80% อยู่ที่ภาคเกษตร แล้วท่านจะรักเอทานอลขึ้นมาทันที

                ไบโอดีเซล  B100 ปัจจุบันประเทศไทยนำ B100มาผสมกับน้ำมันดีเซล 5-7% แล้วเรียกรวมๆ กันว่า กรีนดีเซล โดยผลิตจากส่วนต่างๆ ของผลปาล์ม มีพืชน้ำมันหลากหลายชนิดที่ให้น้ำมัน เช่น ปาล์มน้ำมัน ให้น้ำมัน 512 กิโลกรัม/ไร่, เมล็ดในปาล์ม 70 กิโลกรัม/ไร่,Rapeseed89 กิโลกรัม/ไร่, ทานตะวัน 81 กิโลกรัม/ไร่, มะพร้าว 54 กิโลกรัม/ไร่ และ ถั่วเหลือง 52 กิโลกรัม/ไร่ ส่วนสาหร่ายน้ำมันให้ผลผลิตสูงกว่ามากแต่การลงทุนปลูกสูงจึงไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนัก ส่วนใหญ่สหรัฐอเมริกาจะเป็นผู้ปลูกรายใหญ่

                สำหรับปาล์มน้ำมันแล้วประเทศไทยปลูกเพียง 3% ของโลก ในขณะที่เพื่อนบ้านอย่างมาเลเซียปลูกปาล์ม 39% ของโลก และอินโดนีเซีย 48% ของโลก ส่วนอีก 10% ก็จะเป็นอินเดียและประเทศในอเมริกาใต้

                ต้องขอชมคนไทยที่เอาตัวรอดเรื่องการแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านภายใต้กติกาการเปิดอาเซียน ทั้งๆ ที่เราปลูกไม่ถึง 10% ของมาเลเซียประเทศเพื่อนบ้าน ปัจจุบันประเทศไทยปลูกปาล์มประมาณ 5 ล้านไร่ มีโรงงานผลิตไบโอดีเซล 13 โรง โรงกลั่น 18 โรง และมีโรงสกัดน้ำมันปาล์มมากถึง 135 โรง ซึ่งเกินความจำเป็น

                ก่อนที่รัฐบาลจะชัดเจนว่าจะเดินหน้าหรือถอยหลังอย่างไรกับ BIG CHANGE ครั้งนี้ ฝ่ายผู้ผลิตแบตเตอรี่ก็เริ่มออกข่าวสร้างกระแสการแข่งขันด้านเทคโนโลยีแบตเตอรี่กันอย่างเปิดเผย อาจกล่าวได้ว่ากำลังจะหมดยุค แบตเตอรี่ตะกั่วกรด,นิเกิล-แคดเมียม,นิเกิลเมทัลไฮดราย ไปสู่ยุค ลิทียม-ไอออน,ลิเทียม-โพลิเมอร์ การแข่งขันนอกจากจะต้องใช้ทน รับประกันยาวนาน ระยะเวลาการประจุไฟฟ้าที่รวดเร็วก็นับว่าสำคัญมาก ในอนาคตใกล้ๆ นี้ เราแวะดื่มกาแฟเพียง 5 นาทีที่ปั๊มก็ชาร์จไฟให้เราวิ่งรถได้ 400 กิโลเมตรแล้ว แล้วน้ำมันเชื้อเพลิงทั้งหลายจะปรับตัวอย่างไร  ไทยจะไป 4.0 ทันเวลาหรือไม่อย่างไร จะมีใครบ้างที่ตกรถไฟรอบ STRONGER TOGETHERหรือเปล่า…

ขอขอบคุณภาพจาก

https://alborsanews.com/app/uploads/2016/11/1479643500_167_147807_-770×435.jpg?821f3e

https://www.mmthailand.com/wp-content/uploads/2017/07/electric-vehicles.jpg


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save