โรงไฟฟ้าชุมชนชีวมวล ขึ้นต้นเป็นมะลิซ้อน พอแตกใบอ่อนเป็นมะลิลา ?


ไม่ว่าท่านจะคิดอย่างไรกับรัฐบาลปัจจุบันนี้ แต่ท่านคงต้องยอมรับแนวคิดเชิงอัจฉริยะในเรื่องของโรงไฟฟ้าชุมชน ที่มีมานานแต่ขาดผู้มีอำนาจตัดสินใจ ก่อนหน้านี้จะมีใครคิดไหมว่า “โรงไฟฟ้าชุมชน” จะกลายเป็นหวยที่ถูกแจ็คพอต เมื่อโรคระบาดอุบัติใหม่อย่างไวรัส COVID-19 บานปลายจากจีนขยายตัวไปทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย ทำลายเศรษฐกิจทั้งระบบของโลก “ประเทศไทย” โชคยังดีที่เป็นครัวของโลก และมีระบบสาธารณสุขที่ค่อนข้างเข้มแข็ง ถึงแม้ประเทศอุตสาหกรรมใหญ่ ๆ จะปิดประเทศกันอย่างไร คนไทยก็ยังจะมีข้าวมีน้ำพริกปลาทูกินอย่างสบาย ๆ

สำหรับผู้บริหารประเทศแล้ว คงต้องมองข้ามไปถึงว่า จะฟื้นฟูซากปรักหักพังทางเศรษฐกิจอย่างไรหลังพ้นภัยไวรัส COVID-19 .. ดังนั้น โรงไฟฟ้าชุมชน 700 MW โดยกระทรวงพลังงานเป็นเจ้าของแนวคิด มูลค่าการลงทุนเกือบหนึ่งแสนล้าน ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจกว่าห้าแสนล้านบาท และที่สำคัญใช้เครื่องจักรอุปกรณ์และแรงงานในประเทศกว่าร้อยละ 60 (60% Local Content)
นอกจากนี้ชุมชนทั่วประเทศกว่าห้าหมื่นครัวเรือน จะมีส่วนได้รับประโยชน์โดยตรงจากการเข้าไปถือหุ้นบุริมสิทธิในโรงไฟฟ้าไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 พร้อมสัญญา Contact Farming ประกันราคาขายเชื้อเพลิงเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 20 ปี และยังสามารถร่วมบริหารกองทุนหมู่บ้านก้อนโตที่ภาครัฐหักจากค่าไฟฟ้าที่จำหน่าย ถึงหน่วยละ 25-50 สต. ตลอดอายุโครงการ 20 ปี และผลประโยชน์ทางอ้อมอื่น ๆ อีกมากมาย

ชีวมวล (Biomass)

จึงขอฟันธงว่า โรงไฟฟ้าชุมชน 700 MW คือเฟืองตัวเล็ก ๆ อีกตัวที่จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจจากฐานรากหลังสงครามไวรัส COVID-19 โดยคนไทย เพื่อคนไทย และของคนไทยอย่างแท้จริง …

สำหรับท่านที่ไม่สันทัดกรณีโรงไฟฟ้าชุมชน ขออธิบายเพิ่มเติมว่า โรงไฟฟ้าชุมชนทั้งหมด 700 MW ที่ชุมชนมีส่วนได้ ไม่ใช่แค่ส่วนร่วมเหมือนโครงการอื่น ๆ แบ่ง 100 MW ให้กลุ่มที่สร้างเสร็จหรือเกือบเสร็จ คือกว่า 80% แล้ว แต่ยังไม่มีสายส่งให้ขายไฟได้ ส่วนอีก 600 MW เป็นโรงไฟฟ้าที่พัฒนาใหม่อาจแยกตามที่มาของเชื้อเพลิง คือ 1. โรงไฟฟ้าก๊าชชีวภาพจากพืชพลังงาน 2. โรงไฟฟ้าชีวมวลจากวัสดุเหลือใช้ภาคเกษตรและการปลูกไม้โตเร็ว 3. การผลิตไฟฟ้าจากเศษเหลือทิ้งในโรงงานอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม โรงงานแป้งมัน เป็นต้น แต่ที่จะข้อเจาะลึกในฉบับนี้ก็คือ “โรงไฟฟ้าชีวมวล (BIOMASS)

ชีวมวล (Biomass)

ทำไมจึงมีผู้สนใจและวิพากษ์วิจารณ์โรงไฟฟ้าชีวมวลกันค่อนข้างมาก คงเข้าใจได้ไม่ยาก เนื่องจากจุดเริ่มต้นของโรงไฟฟ้าชุมชนได้มีการขายแนวคิดในการใช้เศษเหลือทิ้งจากการเก็บเกี่ยวพืชไร่ เช่น ข้าว อ้อย ไม้ไผ่ ข้าวโพด รวมทั้ง เศษจากโรงงานเฟอร์นิเจอร์ โรงงานทำตะเกียบ ซึ่งปัจจุบันชีวมวลเหล่านี้มีทั้งที่ขายและเผาทิ้ง เนื่องจากเก็บรวบรวมได้ยาก ค่าขนส่งแพง ถูกโรงงานรับซื้อกดราคา โดยครั้งแรกจะส่งเสริมให้เกิดโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก ๆ 1.5 เมกะวัตต์ โดยใช้เชื้อเพลิงรอบ ๆ โรงไฟฟ้า ตามข่าวที่ฮือฮามาเกือบปีแล้ว ต่อมากระทรวงพลังงานอาจต้านทานกระแสการเมืองและนักลงทุนไม่ได้ จึงขยายจาก 1.5 เมกะวัตต์ เป็น 3 เมกะวัตต์ และวันนี้กลายเป็น 9.9 เมกะวัตต์ (VSPP) ทั้ง BIOMASS และ BIOGAS สำหรับชีวมวล ไม่ได้มีการส่งเสริมให้ปลูกไม้โตเร็ว เป็นพิเศษแต่อย่างใด เชื้อเพลิงจะมาจากแหล่งใดก็ได้ อีกทั้งเพิ่มระยะทางการจัดหาชีวมวลได้ไกลถึง 100 กิโลเมตร และก็ยังไม่มีมาตรการ แก้ปัญหาเชื้อเพลิงที่ทับซ้อนกันในแต่ละพื้นที่ จึงมีผู้ยกคำเปรียบเปรยว่า โรงไฟฟ้าชีวมวลขึ้นต้นเป็นมะลิซ้อน พอแตกใบอ่อนเป็นมะลิลา เหมือนบทเพลงรำวงที่ฮิตในสมัยหนึ่งนานมาแล้ว

ชีวมวล (Biomass)

ชีวมวล (Biomass) ในประเทศไทย ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ด้านพลังงานได้ดี ส่วนใหญ่มาจากเศษวัตถุดิบเหลือใช้ทางการเกษตร มีจำนวนค่อนข้างมาก อาทิ เศษไม้ยางพารา ทะลายกะลา/ปาล์มน้ำมัน ฟางข้าว กากอ้อย ใบอ้อย ซังและต้นข้าวโพด เหง้ามันสําปะหลัง เศษเหลือใช้จากต้นไผ่ ซึ่งข้อมูลด้านปริมาณโดยรวมของชีวมวลต่อปีหาข้อมูลปัจจุบันได้ยากจึงได้แต่ประมาณการ ขอนำตารางปริมาณและค่าความร้อน มาเป็นแนวทางในการประเมินศักยภาพ ซึ่งในการปฏิบัติแล้วเศษวัสดุเหล่านี้ค่อนข้างมีต้นทุนในการจัดเก็บ และรวบรวมขนส่งค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับราคาที่จะขายได้

สำหรับอ้อย มีการปลูกเกือบ 10 ล้านไร่ทั่วประเทศ กว่า 50% เป็นการเผาใบทิ้งก่อนการตัดส่งโรงงาน ซึ่งมีผลเสียด้านฝุ่นละออง PM 2.5 ดังนั้นในอนาคต เมื่อไม่สามารถเผาได้ คาดว่าจะมีใบอ้อยเป็นเชื้อเพลิงชีวมวลเพิ่มขึ้นอีกในปริมาณมาก

ชีวมวล

ไม่ว่าโรงไฟฟ้าชุมชน ในกลุ่มของชีวมวลจะออกมาเป็นแบบใด แต่ชุมชนก็ยังคงได้รับประโยชน์ อย่างน้อย 200 ครัวเรือนต่อ 1 โรงไฟฟ้า แต่สิ่งที่กระทรวงพลังงานควรคำนึงก็คือ โครงการที่ใช้เชื้อเพลิง ประเภทใบอ้อย ฟางข้าว ซังและต้นข้าวโพด ซึ่งกระจายอยู่ทั่วภาคเหนือและภาคอีสาน ต้นทุนการรวบรวมและขนส่งค่อนข้างสูง น่าจะมีแต้มต่อ เชื้อเพลิงประเภทไม้สับจากไม้ยืนต้น ดังนั้นภาครัฐเองน่าจะ ใช้โอกาสนี้ส่งเสริมการปลูกไม้ยืนต้นโตเร็วเพื่อใช้เป็นชีวมวลในระยะยาว

ชีวมวล (Biomass)

ประการสำคัญที่สุด ต้องคำนึงถึงว่านี่คือโรงไฟฟ้าของชุมชน การคัดเลือกโครงการ ต้องคำนึงถึงเชื้อเพลิงจากท้องถิ่นเป็นสำคัญ โดยไม่ใช้วิธีคัดเลือกโครงการจากความพร้อมและครบถ้วนของเอกสารเป็นสำคัญเหมือนโครงการที่ผ่านๆ มา มิเช่นนั้นแล้ว ใบอ้อย ฟางข้าว ซังข้าวโพด ฯลฯ ก็คงจะเน่าคาพื้นดิน และต้องเผาทิ้งสร้าง PM 2.5 กันเหมือนเดิม

ข้อมูลที่คุณอาจสนใจ


Source: คอลัมน์ Green Focus โดย พิชัย ถิ่นสันติสุข


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save