ภาวะไขมันเกาะตับ เป็นอุบัติการที่เกิดขึ้นจากความผิดปกติของร่างกายที่มีการสะสมไขมัน และรวมตัวไปเกาะอยู่กับเซลล์ตับ ตับเป็นอวัยวะที่สำคัญในระบบย่อยอาหารมีหน้าที่มากมายในการช่วยส่งน้ำย่อยร่วมกับน้ำดีจากถุงน้ำดีในการย่อยอาหารในกระเพาะอาหาร และหน้าที่หลักที่สำคัญต่อร่างกาย คือ การต้านสารพิษต่างๆที่เข้าสู่ร่างกาย สารพิษที่ปนเปื้อนกับอาหารหรือน้ำดื่มที่เรารับประทานเข้าไปในชีวิตประจำวัน รวมถึงยารักษาโรคต่างๆที่แพทย์จัดให้รับประทานหรือจากที่เราหาซื้อยาจากร้านขายยามารับประทานเอง ล้วนแล้วแต่มีสารพิษจากผลข้างเคียงของยา รวมถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เหล้า เบียร์ ไวน์ ฯลฯ ชาและกาแฟ รวมถึงเครื่องดื่มสารสกัดจากสมุนไพร สรุปโดยรวมสารพิษต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายด้วยวิธีใดล้วนแล้วมีผลต่อการทำงานของตับ
ส่วนที่กระทบและมีผลก่อให้เกิดภาวะไขมันเกาะตับมาจากบริโภคอาหารรสจัด หวาน มัน เค็ม อาหารที่มีรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด ขมจัด ฯลฯ สารเคมีที่มีปนเปื้อนกับอาหาร การรับประทานบ่อยๆและรับประทานในระยะยาวมีผลทำให้สารพิษอยู่ในร่างกายและตับต้องทำหน้าที่กำจัด เมื่อกำจัดได้หมดคงไม่มีปัญหา หากมากเกินจนกำจัดไม่หมดเกิดการสะสมของสารพิษเหล่านั้นเกิดการแปรสภาพเป็นไขมันเกาะอยู่ในเซลล์ตับและเนื้อเยื่อตับ จึงเป็นที่มาของภาวะไขมันเกาะตับ นอกจากนี้ยังมีความผิดปกติเกิดขึ้นจากการดื่มน้ำน้อย ขาดการออกกำลังกายที่สม่ำเสมอ การพักผ่อนไม่เพียงพอ อารมณ์เครียด การนอนไม่หลับมีเรื่องกังวลใจ การรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา มีผลส่งเสริมให้เกิดภาวะไขมันเกาะตับ รวมถึงอาหารสุก-ดิบด้วย
อาการผิดปกติระยะแรก มีท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นท้อง จุกเสียด บริเวณชายโครงขวา ซึ่งเป็นตำแหน่งของตับ หากรุนแรงมากขึ้น มีคลื่นไส้ อาเจียน ท้องโตมากขึ้น ทานอาหารได้น้อย เมื่อมีไขมันเกาะตับแล้วจะเป็นต้นเหตุให้เกิดการติดเชื้อ ตับอักเสบ เซลล์ตับเสียหาย มีผังผืดเกิดขึ้นในตับ เปลี่ยนสภาพเป็นตับแข็งและพัฒนาเป็นมะเร็งตับ ผู้ป่วยมีอาการทรมาณจากสภาพการเปลี่ยนแปลงนี้จนถึงขั้นเสียชีวิต การดูแลสุขภาพร่างกายและการป้องกันและมีวินัยในการรับประทานอาหารและน้ำดื่ม เข้าใจถึงสารพิษต่างๆดังได้ล่าวมาแล้ว หลีกเลี่ยงได้เป็นดีที่สุด และปฏิบัติตนตามพื้นฐาน “5 อ.”
1) อากาศที่สะอาดบริสุทธิ์
2) อาหารและน้ำดื่มที่เพียงพอและดีต่อร่างกาย
3) ออกกำลังกายเป็นประจำและสม่ำเสมอ
4) พักผ่อน อารมณ์แจ่มใส
5) การขับถ่ายอุจจาระ ไม่ปล่อยให้ท้องผูก
หากมีอาการผิดปกติในช่องท้องให้พบแพทย์ตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็ว เราสามารถห่างไกลและปลอดภัยจากภาวะไขมันเกาะตับได้เป็นอย่างดี
ที่มา: หมอโฆษิต