จุดประเด็นร้อน ! รายงานใหม่จาก IPCC ชี้ สภาพภูมิอากาศเข้าขั้นวิกฤต


หน่วยงานระหว่างรัฐบาลของสหประชาชาติถึงกับกล่าวว่า ‘การจำกัดการเพิ่มของอุณหภูมิ ที่ 1.5 °C แทบจะไม่น่าเป็นไปได้’ หากทุกฝ่ายไม่ร่วมมือกัน

กรุงเทพมหานคร: 18 สิงหาคม 2564 รายงานการประเมินประจำปีของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (The Intergovernmental Panel on Climate Change- IPCC) ซึ่งเผยแพร่ในสัปดาห์ที่ผ่านมาทำให้การอภิปรายเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศลุกเป็นไฟ โดย IPCC เชื่อว่าหากไม่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับมหัพภาคให้ทันท่วงที การจำกัดอุณหภูมิไม่ให้สูงขึ้นเกินกว่า 1.5 องศาเซลเซียส หรือแม้แต่ 2 องศาเซลเซียส จะเป็นไปไม่ได้เลย

การเปลี่ยนแปลงหลายอย่างของสภาพภูมิอากาศไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในรอบหลายพันปี และการเปลี่ยนแปลงบางอย่างสร้างผลกระทบที่ไม่อาจแก้ไข่ได้ ผานเหมา ไจ่ (Panmao Zhai) ประธานร่วมของคณะกรรมการ IPCC กล่าวว่า “การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศได้ส่งผลกระทบต่อทุกภูมิภาคบนโลกแล้วในหลายๆ ด้าน และการเปลี่ยนแปลงก็มีแต่จะเกิดบ่อยขึ้นพร้อมกับอุณหภูมิที่สูงขึ้น”

น้ำท่วมจากวิกฤติโลกร้อน

รายงานคาดว่าจะมีคลื่นความร้อนเพิ่มขึ้น ฤดูร้อนยาวนานขึ้น และฤดูหนาวสั้นลง ฝนตกอย่างหนักจะทำให้เกิดอุทกภัย ในขณะที่หลายๆ ภูมิภาคจะประสบภัยแล้งรุนแรง รายงานกล่าวเตือนถึงระดับน้ำทะเลซึ่งจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และระบบนิเวศน์ในมหาสมุทรจะถูกคุกคามจากน้ำที่มีอุณหภูมิสูงขึ้น การกลายเป็นกรดของน้ำทะเล และระดับออกซิเจนที่ลดลง

“การเปลี่ยนแปลงเช่นนี้อาจนำไปสู่หายนะซึ่งคาดว่าเกิดจากวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งจะเกิดรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ในปีนี้ เช่น น้ำท่วมในเยอรมนีและเบลเยียมที่คร่าชีวิตผู้คนไป 209 คน และในจีนอีก 33 คน ภัยแล้งครั้งรุนแรงที่สุดเป็นอันดับสองในประวัติศาสตร์ของมลรัฐแคลิฟอร์เนีย และคลื่นความร้อนที่คร่าชีวิตผู้คน 815 คนในแคนาดา” กล่าวโดย ชิสากัญญ์ อารีพิพัฒน์, ผู้จัดการโครงการท้าลอง 22 วัน จาก ซิเนอร์เจีย แอนิมอล องค์กรพัฒนาเอกชนระหว่างประเทศ ซึ่งทำงานในลาตินอเมริกาและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อส่งเสริมการเลือกอาหารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อช่วยต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

น้ำแข็งขั้วโลกละลายจากวิกฤติโลกร้อน

ป้องกันความเสียหายในอนาคต

ขณะนี้คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) แนะนำว่าต้องใช้มาตรการที่เข้มงวดต่อกรกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อป้องกันความเสียหายในอนาคต เพราะหากอุณหภูมิโลกสูงขึ้นถึง 2 องศาเศลเซียสจะมีผลกระทบต่อการเกษตรและสุขภาพ

นักวิจัยคาดการณ์ว่าการผลิตอาหารปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่าหนึ่งในสี่ของของก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดในโลก โดยปศุสัตว์และการประมงปล่อยก๊าซเรือนกระจกถึง 31% ของปริมาณดังกล่าว “เพื่อลดคาร์บอนฟุ๊ตปริ้นท์ เราต้องใช้มาตรการที่เข้มงวดขึ้น ซึ่งรวมถึงในระดับบุคคลด้วย หนึ่งในสิ่งที่ดีที่สุดที่แต่ละคนจะทำได้เพื่อลดผลกระทบคือการลดหรืองดการบริโภคผลิตภัณฑ์จากสัตว์ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักที่ก่อให้เกิดมลพิษมากที่สุด” ชิสากัญญ์ กล่าว

การลดการผลิตและบริโภคอาหารที่ทำจากสัตว์จะช่วยลดการปล่อยก๊าซมีเทนได้อย่างมาก ก๊าซมีเทนยังเป็นหนึ่งในข้อกังวลหลักซึ่งระบุไว้ในรายงานของ IPCC เนื่องจากมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วเกิดจากการผลิตเชื้อเพลิงฟอสซิลและภาคปศุสัตว์ นอกจากนี้ ก๊าซมีเทนยังส่งผลกระทบในระยะยาวมากกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 25 เท่า

เมื่อพูดถึงการปศุสัตว์ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ส่วนใหญ่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน ตัวอย่างเช่น การตัดไม้ทำลายป่าเพื่อใช้เป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ หรือปลูกพืชอาหารสัตว์ เช่น ถั่วเหลือง ในขณะที่ก๊าซมีเทนส่วนใหญ่เกิดจากการย่อยอาหารของสัตว์ในการปศุสัตว์

เนื้อวัวที่ผลิตได้แต่ละกิโลกรัมปล่อยก๊าซเรือนกระจก 60 กิโลกรัม ชีสหนึ่งกิโลกรัม ปล่อยก๊าซเรือนกระจก 21 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับการผลิตเต้าหู้ ซึ่งเป็นแหล่งโปรตีนจากพืชในน้ำหนักที่เท่ากันแล้ว การผลิตเนื้อวัวปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่าเต้าหู้ 20 เท่า ส่วนชีสปล่อยก๊าซเรือนกระจก มากกว่าเต้าหู้ 7 เท่า การผลิตนมวัว 1 กิโลกรัมปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากถึง 2.8 กิโลกรัม ในขณะที่นมถั่วเหลืองปริมาณเท่ากันปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพียง 1 กิโลกรัมเท่านั้น

ซิเนอร์เจีย แอนิมอล ขอเชิญชวนทุกคนให้ลองปรับพฤติกรรมการบริโภค หันมาเริ่มไลฟ์สไตล์ใหม่ ที่ยั่งยืนและดีต่อโลกมากกว่าเดิม หนึ่งในนั้นคือการเปลี่ยนอาหารเพื่อช่วยบรรเทาวิกฤตสภาพภูมิอากาศ เราขอเชิญให้คุณเข้าร่วมโครงการ ท้าลอง 22 วัน และบริโภคอาหารจากพืชเป็นเวลา 22 วัน โดยผู้เข้าร่วมจะได้รับคำปรึกษาจากนักกำหนดอาหารพร้อมเคล็ดลับ และสูตรอาหารอร่อยๆ เป็นเวลา 22 วัน ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ที่ www.thaichallenge22.org


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save