เทคโนโลยีลดขยะอาหารในกรุงเทพมหานคร : เมืองแห่งความอร่อย


สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (TEI) ร่วมกับ โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) และ กรุงเทพมหานคร จัดงานเสวนาออนไลน์ “เทคโนโลยีการลดขยะอาหาร: โอกาสสำหรับกรุงเทพมหานคร” ภายใต้ “โครงการ Build back better: using green and Digital Technologies to Reduce Food Waste at Consumer Level” เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลสถานการณ์ขยะอาหาร การดำเนินงานเพื่อจัดการขยะอาหารของกรุงเทพฯ รวมทั้งแบ่งปันกรณีตัวอย่างในการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อถนอมอาหารและช่วยในการจัดการขยะอาหารตั้งแต่การผลิต การใช้วัตถุดิบ และการจัดการขยะอาหารหรืออาหารส่วนเกิน

ขยะอาหาร

UNEP ให้ความสำคัญในการใช้เทคโนโลยีลดขยะอาหารใน กทม. มุ่งลดปัญหาขยะอาหาร – แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม

Mr.Mushtaq Memon, Regional Coordinator for Resource Efficiency โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) กล่าวว่า UNEP ได้ให้ความสำคัญเรื่องการใช้เทคโนโลยีการลดขยะอาหารในกรุงเทพมหานคร เนื่องด้วยกรุงเทพมหานครเป็นเมืองแห่งอาหาร แต่เบื้องหลังของอาหารเหล่านั้นมีการสูญเสีย กลับมีปัญหาขยะอาหาร ซึ่งนำมาสู่ปัญหาสิ่งแวดล้อม ทั้งพื้นที่การฝังกลบ การเกิดก๊าซมีเทน ก๊าซเรือนกระจก มีปัญหาการสูญเสียในการขนส่ง ย้อนกลับไปถึงต้นทางการเพาะปลูก ซึ่งต้องใช้ที่ดินและทรัพยากรต่างๆ จำนวนมาก

“ในวันนี้จะมาพูดถึงการใช้เทคโนโลยีที่จะเข้ามาช่วยลดขยะอาหารในภาคของการบริโภค ทั้งนี้ภาคการบริโภคไม่ได้หมายถึงบ้านเรือนเพียงอย่างเดียว แต่รวมไปถึงศูนย์อาหารในมหาวิทยาลัย ร้านอาหารต่างๆ ต้องดูทั้งตลอดห่วงโซ่อาหาร ซึ่งเทคโนโลยีจะเข้ามาช่วยในการขนส่ง การบรรจุภัณฑ์ การจัดการ Big Data หรือนวัตกรรมอื่นๆ ได้อย่างไร ซึ่งเป็นประเด็นสำาคัญที่ต้องพิจารณาต่อไป” Mr.Mushtaq Memon กล่าว

กทม. เน้นลดขยะมูลฝอยที่แหล่งกำเนิด เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการมูลฝอย กำจัดอย่างถูกหลักวิชาการ

ดร.ภานุวัฒน์ อ่อนเทศ สำนักงานจัดการมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล สำนักสิ่งแวดล้อมกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า แผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2556-2575) ได้จัดทำาแผนภายใต้วิสัยทัศน์ของประชาชน โดยให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม ไม่ว่าจะเป็นประชาชน ภาคเอกชน ซึ่งได้กระจายไปทุกกลุ่ม 6 เขตในการแลกเปลี่ยนและให้ความคิดเห็น ภายใน 10 ปีของแผนฯ กรุงเทพมหานครจะเป็นมหานครปลอดภัยและจะเป็นมหานครที่สะดวกสบาย ประหยัดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ด้านมหานครปลอดภัยจะเป็นเรื่องของน้ำเสีย ขยะ และมลพิษอากาศ ซึ่งต้องทำาให้มลพิษหมดไปและประชาชนปลอดภัย ในส่วนของการจัดการขยะในแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร 20 ปี ซึ่งมีวิสัยทัศน์ที่ประชาชนเห็นด้วย คือ กรุงเทพมหานครมีการบริหารจัดการมูลฝอยและของเสียอันตรายด้วยแนวคิดขยะเหลือศูนย์ โดยนำกลับมาใช้ใหม่และขยะเหลือน้อยที่สุด และกำจัดที่เหลือด้วยเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพโดยเป้าประสงค์ของกรุงเทพมหานครจะลดขยะมูลฝอยที่แหล่งกำาเนิดเป็นหลักและเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการมูลฝอยตั้งแต่แหล่งกำาเนิด จนถึงการกำจัดอย่างถูกหลักวิชาการ ซึ่งเป้าหมายสำคัญ คือ เป้าหมายที่ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง

สำหรับ ต้นทาง เป็นจุดสำคัญที่อยากให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมกับกรุงเทพมหานครในการจัดการขยะ โดยใช้หลักการ 3R คือ การนำขยะไปใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้นมากกว่า 50% ก่อนสิ้นสุดแผน 20 ปี ได้ดำเนินมาเกือบครึ่งหนึ่งของแผนแล้ว แต่ยังไม่ถึงเป้าหมาย จึงอยากให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม

ส่วน กลางทาง มุ่งเน้นที่จะแยกขยะอันตรายซึ่งมีระบบเก็บขยะอันตรายให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ โดยประชาชนก็เข้ามาส่งเสริมในการเก็บแยกขยะอันตรายออกจากขยะทั่วไป และ ปลายทาง กำจัดโดยเทคโนโลยีในการกำาจัดขยะที่เหลือนำาเอาไปกำจัดขยะอาหารที่ปลายทาง ก่อนจะทิ้งไปในบ่อฝังกลบ ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาจำนวนมาก เช่น การหมักปุ๋ยที่สถานีอ่อนนุชมีการหมักแบบผสมผสานหรือ MBT ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์ได้ และการใช้เตาเผา

นำแนวคิดจาก UN มุ่งลดขยะอาหารที่แหล่งกำเนิดก่อน โดยใช้หลัก 3R

สำหรับภาพรวมของกรุงเทพมหานคร ต้องจัดการตามแผน โดยลดที่แหล่งกำาเนิดก่อน ด้วยการส่งเสริมให้ประชาชนหรือทุกภาคมีการใช้หลักการ 3R ซึ่งในกระบวนการคัดแยกขยะมีการพัฒนาองค์ความรู้ ซึ่งเป็นส่วนที่ทำาให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในเรื่องการเก็บรวบรวมและขนส่งพยายามที่จะเก็บขยะแยกประเภท พัฒนารถเก็บขยะให้มีช่องแยกขยะอันตรายและขยะรีไซเคิล ไม่รวมกับขยะชิ้นใหญ่พวกใบไม้กิ่งไม้ ในอนาคตจะมีการเอาขยะอาหารไปใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น

ขยะอาหาร

แนวคิดในการแก้ไขปัญหาขยะอาหารที่เพิ่มขึ้น โดยนำแนวคิดจาก UN เข้ามาใช้โดยมุ่งเน้นการลดขยะที่แหล่งกำเนิดก่อน โดยใช้หลัก 3R จากอดีตเราอาจจะเน้นการกำจัดเป็นส่วนใหญ่ แต่จะเริ่มมุ่งเน้นลดการใช้ ใช้ซ้ำ และการนำกลับมาใช้ใหม่ให้มากขึ้น ซึ่งทำที่แหล่งกำเนิดและการนำไปแปรรูปเป็นปุ๋ยอินทรีย์และพลังงานต่างๆ ก่อนจะไปสู่กระบวนการกำจัดโดย 10 ปีที่ผ่านมาก็ได้ใช้วิธีนี้และอีก 10-20 ปี ก็จะดำเนินการในวิธีนี้ต่อไป

“องค์ประกอบขยะที่เป็นกังวลจะเป็นเศษผักผลไม้ที่ติดมากับรถขนขยะ ทางกรุงเทพมหานคร ได้ไปสำรวจรถขนขยะที่ปลายทางโดยการเทขยะรวมกันแล้วทำการคัดแยกขยะ ซึ่งจะทำการคัดแยกกันทุกสัปดาห์ ในแต่ละปีจะมีเศษผักผลไม้ 47% กิ่งไม้ใบไม้ 6% รวมขยะอินทรีย์แล้วประมาณ 50% แต่จะมีองค์ประกอบพลาสติกที่เพิ่มขึ้น 25% เป็น พลาสตกิ ที่ใช้ประโยชน์ไม่ได้เช่น ถุงแกง ซองขนม เปลือกลูกอม หรือบรรจุภัณฑ์ต่างๆ ที่ร้านซื้อของเก่าไม่รับซื้อ อีกส่วนหนึ่งเป็นกระดาษ 13% ที่ถูกทิ้งในรถขนขยะ ซึ่งใช้ประโยชน์ไม่ได้เลย อาจจะเป็นกระดาษเคลือบมัน กระดาษเคลือบเทียน ฯลฯ และเป็นขยะรีไซเคิลจำพวกแก้ว 2.46%, โลหะ 1.75% และ Textiles 1.86%” ดร.ภานุวัฒน์ กล่าว

คัดแยกขยะรีไซเคิลขยะ

กทม.พยายามให้ประชาชนทุกคนมีส่วนในการลดขยะที่ต้นทางและส่งเสริมการใช้ซํ้า

จะเห็นได้ว่า ภาพรวมในการจัดการขยะในกรุงเทพมหานคร มุ่งเน้นการลดการคัดแยกที่แหล่งกำเนิดมาตลอด ซึ่งพยายามให้ประชาชนทุกคนมีส่วนในการลดขยะที่ต้นทาง Reduce, Reuse ก่อน โดยทุกภาคส่วนให้ความร่วมมือในการประกาศนโยบายระดับประเทศในการลดใช้ถุงพลาสติก เพิ่มความหนาถุงพลาสติก ซึ่งช่วยในการลดการทิ้งขยะ และ Reuse ส่งเสริมการใช้ซ้ำ เช่น ขวดแก้วที่บรรจุเครื่องดื่มที่สามารถใช้ซ้ำช่วยลดการกำจัด

ในส่วน Recycle ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการคัดแยก โดยคัดแยกขยะรีไซเคิลแล้วนำไปขายที่ร้านรับซื้อของเก่าหรือบริจาคให้คนที่มีอาชีพเก็บของเก่าขายเพื่อส่งโรงงานรีไซเคิลในส่วนเศษอาหารอยากให้ประชาชนทำที่ต้นทางก่อน เนื่องจากยังไม่มีระบบเก็บครอบคลุมทุกพื้นที่ โดยใช้ประโยชน์ในการหมักปุ๋ย การทำน้ำหมักชีวภาพ Bio gas และการเลี้ยงสัตว์ ในส่วนของขยะอันตรายมีทั้งส่วนที่รีไซเคิลได้และรีไซเคิลไม่ได้ ขยะอันตรายที่รีไซเคิลไม่ได้จะส่งให้โรงงาน โดยให้เอกชนนำไปกำจัดโดยเฉพาะตันละหมื่นกว่าบาท ซึ่งราคาค่อนข้างแพงสำหรับขยะอันตรายที่รีไซเคิลได้นำไปให้ร้านรับซื้อของเก่า และขยะสุดท้ายที่กรุงเทพมหานครต้องกำจัดในแต่ละวันมีจำนวน 10,000 ตันต่อวัน ทางกรุงเทพมหานครได้พยายามหาเทคโนโลยีใหม่เข้ามาช่วยไม่ว่าจะเป็นการหมักปุ๋ยหรือการเผาได้พลังงาน เพื่อที่จะลดการฝังกลบ ลดก๊าซมีเทน และนำขยะกลับมาใช้ใหม่ให้มากขึ้น

กลุ่มเซ็นทรัลเผยจัดทำโครงการ Journey to zero อัตราขยะที่แปรรูปในปี ’63 เพิ่มขึ้น 2,645 ตัน

ปรียวัท ภู่เกษแก้ว บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด กล่าวถึงแนวทางในการจัดการขยะอาหารว่า สถานการณ์ก่อนปี พ.ศ. 2562 ปริมาณขยะที่ได้แปรรูปน้อยมาก อย่างไรก็ตามในปี พ.ศ. 2562-2563 ปริมาณขยะที่กลุ่มฯ นำไปแปรรูปเพิ่มขึ้น 6-8 ตัน เนื่องจากกลุ่มเซ็นทรัลมีกลุ่มธุรกิจที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจค้าปลีก ร้านสะดวกซื้อ โรงแรม ภัตตาคาร และอสังหาริมทรัพย์ ทุกกลุ่มธุรกิจได้เข้าร่วมในปี พ.ศ.2562 โดยมีนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมภายใต้แคมเปญ Central Group Love the Earth ซึ่งมีเป้าหมายลดขยะลงหลุมฝังกลบให้เหลือศูนย์ภายใต้โครงการ Journey to zero โดยใช้แนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เพื่อผลักดันให้มีการคัดแยกขยะเข้าสู่กระบวนการแปรรูปให้เกิดประโยชน์มากที่สุด

หลังจากกลุ่มเซ็นทรัลดำเนินโครงการ Journey to zero พบว่าในปี พ.ศ. 2563 อัตราขยะที่แปรรูปมีปริมาณเพิ่มขึ้น 2,645 ตัน จากขยะทั้งหมด ซึ่งได้มีการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้กลุ่มธุรกิจโดยมีนำเทคโนโลยีมาเกี่ยวข้องด้วย

กลุ่มเซ็นทรัลวางมาตรการป้องกันการลดการสูญเสียอาหารและขยะอาหาร 5 ขั้นตอน

ด้านมาตรการในการลดการสูญเสียอาหารและขยะอาหาร (Food Lost and Food Waste Reduction) กลุ่มเซ็นทรัลมีกรอบนโยบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับการลดขยะและขยะอาหาร ซึ่งมีแนวนโยบายสำหรับการพัฒนาแผนปฏิบัติงานป้องกันการลดการสูญเสียอาหารและขยะอาหาร 5 ขั้นตอน คือ 1) การป้องกัน (Prevention) ป้องกันการเกิดขยะตั้งแต่ต้นทางโดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยระบบ Auto Replenishment เป็นส่วนช่วยควบคุมปริมาณสินค้าในการสั่งซื้อสินค้าปลายทางให้เหมาะสมกับกลุ่มลูกค้าที่จำหน่ายในแต่ละพื้นที่ เพื่อป้องกันการสูญเสียอาหาร 2) การจัดสรรอาหารที่ยังสามารถบริโภคได้เพื่อประโยชน์สูงสุด (Optimization) นำอาหารที่สามารถบริโภคได้ไปบริจาค มีมูลนิธิสโกลาร์ส ออฟ ซัสทีแบรนซ์ ประเทศไทย (SOS) ซึ่งเป็นภาคีที่กลุ่มเซ็นทรัลนำอาหารไปบริจาคและมีมาตรการลดราคาสินค้าในช่วงตอนเย็น เช่น ใน Tops, Family Mart อีกกลุ่มโรงแรมจะลดตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมอาหาร ซึ่งวัตถุดิบต้องใช้แปรรูปให้เกิดประโยชน์ให้มีค่ามากที่สุด โดยจะติดต่อพูดคุยกับเชฟตลอด 3) การนำมาผลิตเพื่อใช้ใหม่ (Recycle) การนำขยะอาหารเข้าสู่กระบวนการเพื่อนำกลับมาใช่ใหม่ มี 2 ส่วน ที่ได้ดำเนินการ คือ การทำเป็นปุ๋ยและ Biogas ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยในการทำงานแปรรูป 4) การกำจัดเพื่อพลังงานมาใช้ใหม่ (Recovery) การกำจัดและการเผาเพื่อเป็นพลังงานไฟฟ้า ซึ่งเป็นส่วนที่ต้องทำงานร่วมกับกรุงเทพมหานคร และ 5) การกำจัด (Disposal) ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ยากและทำน้อยที่สุด คือ การฝังกลบและการเข้าเตาเผา

ร่วมมือกับ กทม. คัดแยกขยะต้นทางนำ Waste Management App วัดปริมาณขยะที่คัดแยกในแต่ละวัน

ปรียวัท กล่าวถึงแนวทางจัดการขยะอาหารที่ร่วมมือกับกรุงเทพมหานคร โดยมีศูนย์การค้าที่กรุงเทพฯ และนนทบุรี มีการคัดแยกขยะต้นทาง พวกขยะอินทรีย์ ทั้งผู้ประกอบการร้านค้า ศูนย์อาหารต่างๆ ที่คัดแยกได้ทางกรุงเทพมหานครจะนำไปเข้าสู่ระบบการแปรรูป ไม่ว่าจะเป็น Biogas หรือปุ๋ยอินทรีย์ ในส่วนการทำงานเบื้องต้นจะให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการในศูนย์การค้า โดยเทคโนโลยีที่ได้นำมาใช้ Waste Management Application ใช้ในการบันทึกข้อมูลในแต่ละประเภทและส่งข้อมูลไปที่สำนักงานใหญ่เพื่อให้ทราบถึงปริมาณขยะที่คัดแยกในแต่ละวัน ในศูนย์การค้ามีขยะอะไรบ้าง เพื่อช่วยคิดแผนในการจัดการและมองหาองค์กรที่จะเข้ามาช่วยแปรรูปขยะ

ตลาดถนอมมิตรคัดแยกขยะที่ต้นทาง สามารถดึงขยะออกจากระบบ 46 ตันต่อเดือน

ศุภกร กิจคณากร จากตลาดถนอมมิตร กล่าวว่า ตลาดถนอมมิตรตั้งอยู่ที่ใจกลางชุมชนบริเวณถนนวัชรพล-รามอินทราเขตบางเขน เป็นตลาดขนาดกลางถึงใหญ่ มีแผงค้าประมาณ 1,000 แผง ผู้ค้าประมาณ 1,300 คน ลูกค้าที่เข้า-ออกตลาดประมาณ 12,000 คนต่อวัน ร้านค้าส่วนใหญ่เป็นร้านค้าเกี่ยวกับอาหาร อาหารปรุงสำเร็จ 30% ของสด 45% ซึ่ง จะมีขยะ อินทรีย์เป็นส่วนใหญ่ ขยะอินทรีย์ในตลาดประกอบไปด้วยของสด เศษผักผลไม้ ซากสัตว์ และเศษอาหาร

การจัดการขยะในตลาดถนอมมิตร เริ่มจากคัดแยกที่ต้นทาง ที่แผงสินค้า ไม่ว่าจะเป็นเศษผักผลไม้ ซากสัตว์ จะมีถังทิ้งประจำแผง และมีการพูดคุยกับผู้ค้า เช่น หัวกุ้ง จากเดิมที่รวมกันใส่ถุงแล้วทิ้งใส่ถังขยะ ให้เปลี่ยนเป็นรวบรวมทิ้งที่ถังโดยทางตลาดจะเก็บวันละ 2 รอบ ส่วนเศษผักผลไม้ ด้วยมีปริมาณมากจึงเปลี่ยนจากถังมาใส่เข่งแทน สำหรับผัก ก่อนที่จะมาถึงตลาดจะถูกตัดแต่งก่อน ซึ่งจะคัดแยกเศษผักออกมา ส่วนเศษอาหาร เวลาที่เก็บโต๊ะหรือเวลาล้างแผงและมีเศษขยะหลงเหลือให้เทลงถังไว้ ทางตลาดจะไปรับวันละ 2 รอบหลังเที่ยง 1 รอบ และหัวค่ำอีก 1 รอบ

เมื่อรวบรวมเศษผักผลไม้จะเข้ามาในกระบวนการผลิตก๊าซชีวภาพ ซึ่งทางตลาดฯ ได้งบสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เพื่อลดการจัดการขยะในกรุงเทพมหานครในช่วงแรกประสบปัญหาในการใช้ เนื่องจากระบบนี้เหมาะกับเศษอาหารเท่านั้น หากนำพวกไส้ปลาหรือผักบางชนิดที่มีเส้นใยสูงจะเข้าไปพันกับตัวมอเตอร์ ทำให้ระบบล่ม จึงกำจัดได้เฉพาะพวกเศษอาหาร เศษผักบางชนิดที่มีเส้นใยน้อย ผลิตภัณฑ์ที่ได้เป็นก๊าซชีวภาพ น้ำหมักชีวภาพ และปุ๋ย ส่วนขยะอินทรีย์ที่มีปัญหา แก้ปัญหาโดยนำไปทำปุ๋ยหมัก ซึ่งใช้เวลานานและเปลืองพื้นที่ จึงใช้เครื่องกำจัดเศษอาหาร ซึ่งเป็นเทคโนโลยีจากเกาหลีใต้ เหมาะสำหรับพวกไส้ไก่ ไส้ปลา และเศษผักที่มีเส้นใยสูง ในการทำงานเครื่องจะรีดน้ำออกและใช้ความร้อนในการอบใช้เวลา 24 ชั่วโมง และนำไปหมักต่ออีก 2 สัปดาห์

ที่ผ่านมา ตลาดฯ ได้เก็บสถิติโดยเฉลี่ย สามารถดึงขยะออกจากระบบ 46 ตันต่อเดือน ทั้งนี้ ตลาดถนอมมิตรได้ตั้งเป้าไว้จะลดให้ได้ 1 ใน 3 ของขยะทั้งหมดเพื่อช่วยลดภาระของหน่วยงานภาครัฐ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง ซึ่งคุณอาจสนใจ Update!!


Source: นิตยสาร Green Network ฉบับที่ 105 พฤษภาคม-มิถุนายน 2564 คอลัมน์ Cover Story โดยกองบรรณาธิการ


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save