‘ชุมชนเภสัชกรรม’ มุ่งมั่นวิจัยและพัฒนาเวชภัณฑ์ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ ตอบโจทย์ด้านสุขภาพของคนไทย กว่า 4 ทศวรรษ วางแผนปั้นรายได้แตะ 1,000 ล้านบาทในปี 2568 เติบโตปีละ 15% พร้อมโชว์ศักยภาพการผลิตและจำหน่าย ดันอุตสาหกรรมเป้าหมาย New S-Curve ครั้งสำคัญของไทย ในงานอุตสาหกรรมยาแห่งเอเชีย CPHI South East Asia 2024 จัดโดยอินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย วันที่ 10 – 12 กรกฎาคม 2567 ฮอลล์ 1-3 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เพื่อก้าวไปสู่การเป็น Medical Hub ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ภก. สุรชัย เรืองสุขศิลป์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ชุมชนเภสัชกรรม จำกัด (มหาชน) หนึ่งในผู้นำธุรกิจผลิตและจัดจำหน่ายเวชภัณฑ์ยาและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ซึ่งรวมตัวเภสัชกรไทยมากกว่า 700 คน กล่าวว่า ข้อมูลศูนย์วิจัยกสิกรระบุภาพรวมตลาดยาในประเทศในปี 2023 มีมูลค่า 2.4 แสนล้านบาท แบ่งเป็นการนำเข้า 70% คิดเป็นมูลค่า1.68 แสนล้านบาท และผลิตขึ้นใช้เองภายในประเทศ 30% หรือ 72,000ล้านบาท โดยมีการเติบโตเฉลี่ยปีละ 11% แบ่งเป็นช่องทางโรงพยาบาล 171,360 ล้านบาท คิดเป็น71.4% เติบโต 15% และช่องทางร้านขายยา 48,000 ล้านบาท คิดเป็น20% หรือเติบโตปีละ 5% ส่วนเวชสำอาง วิตามินและอาหารเสริมมีมูลค่า 20,640 ล้านบาท คิดเป็น8.6% หรือ เติบโต 2% ขณะที่ข้อมูล IQVIA Quarter 3/2023 ระบุถึงแนวโน้มตลาดยาภายในประเทศอุตสาหกรรมผลิตยาภายในประเทศมีการเติบโตในอัตราปีละ 11% นับเป็นอุตสาหกรรมไม่กี่ประเภทที่เติบโต 2 Digit เนื่องจากเป็นอุุตสาหกรรมที่มีความจำเป็นสำหรับมนุษย์
จากแนวโน้มการขยายตัวของอุตสาหกรรมยาดังกล่าว ประกอบกับในช่วงหลายปีที่้ผ่านมา ธุรกิจบริษัทฯ เติบโตสูงอย่างต่อเนื่้องมากกว่าค่าเฉลี่ย ทางบริษัทฯ จึงวางแผนการเติบโตด้วยเป้าหมายรายได้ 1,000 ล้านบาทในปี 2025 คิดเป็นอัตราเติบโตเฉลี่ยปีละ 15% ซึ่งเติบโตสูงกว่าค่าเฉลี่ย ด้วย 3 ปัจจัยหลัก คือ 1. ยาใหม่ออกสู่ตลาด 2. เจาะตลาดยาที่มีความต้องการในปริมาณมาก และ3. ความเร็วในการตอบสนองการตลาด โดยโรงงานของบริษัทฯ ได้มาตรฐาน PICS/GMDP นับเป็น 1 ในโรงงานยา 5-6 รายในไทยที่ได้รับมาตรฐานนี้
ปัจจุบันบริษัทฯ มีแบรนด์สินค้ารวมกว่า 145 รายการ (SKU) และยังมียาที่อยู่ระหว่างการวิจัยและพัฒนาอีกเป็นจำนวนมาก แบ่งเป็นผลิตภัณฑ์ยาแผนปัจจุบัน ประกอบด้วยยาสามัญและยาสามัญใหม่ เช่น แบรนด์ Apixa CCP ในกลุ่มยาต้านการแข็งตัวของเลือด, แบรนด์ Rovas ในกลุ่มยาลดไขมัน, แบรนด์ Amlopress, Enalapril, Apreszine ในกลุ่มลดความดัน, แบรนด์ Glycediab ในกลุ่มยารักษาเบาหวาน เป็นต้น รวมทั้งผลิตภัณฑ์สมุนไพร แบรนด์ Bee ‘en Plus เป็นต้น โดยจัดจำหน่ายภายในประเทศเป็นหลัก ได้แก่ กลุ่มโรงพยาบาล 75% และ ร้านยา 25% ครอบคลุม 4, 000 ร้านทั่วประเทศ เช่น Health Up, Pure, iCare และร้านยากรุงเทพ เป็นต้น ขณะที่สัดส่วนการส่งออกยังน้อยกว่า 10%
ภก. สุรชัย กล่าวว่า ในแต่ละปีบริษัทฯ ลงทุนด้านวิจัยและพัฒนา 12 % ของยอดขายทั้งหมด โดยตั้งเป้ามียาใหม่ออกสู่ตลาดปีละ 5 รายการ ในปีนี้ทางบริษัทฯ เตรียมนำผลิตภัณฑ์ใหม่ล่าสุดคือ Apixaban 2.5mg และ Apixaban 5 mg ซึ่งเป็นยาป้องกันการแข็งตัวของเลือดในระบบไหลเวียน โดยเฉพาะที่หลอดเลือดสมอง โดยเป็นหนึ่งในไม่กี่บริษัทที่สามารถผลิตยาชนิดนี้ขึ้นเองภายในประเทศ
“บริษัทฯ เตรียมความพร้อมล่วงหน้ามากกว่า 5 ปี ในการพัฒนาสูตรผลิตยาโมเลกุลใหม่ ๆ ที่ให้ผลการรักษาดี มีความปลอดภัย และกำลังจะหมดสิทธิบัตรลง โดยที่ภาครัฐจะต้องให้ข้อมูลแก่บริษัทยา เพื่อช่วยให้คนไทยเข้าถึงยาได้ง่ายขึ้น และเป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายให้กับผู้ป่วยสูงวัย ซึ่งปัจจุบันมีจำนวน 18.3% ของจำนวนประชากรของประเทศ และจะเพิ่มเป็น 28% ในอีก 6 ปีข้างหน้า เช่นเดียวกับประเทศญี่ปุ่น คิดเป็นการเติบโตของผู้สูงวัยเฉลี่ยปีละ 7.5% ทำให้มีความจำเป็นต้องใช้ยาโรคเรื้อรังชนิดไม่ติดต่อ (Non Communicable Diseases – NCDs) เพิ่มขึ้นในอัตราสูง รวมทั้งยาป้องกันไม่ให้ผู้สูงวัยเกิดโรค เพราะถ้าผู้สูงวัยเป็นโรคจะต้องใช้งบประมาณจำนวนมากในการดูแล ” ภก. สุรชัย กล่าว
เครื่องตอกยามูลค่า 40 ล้านบาท ความเร็ว 6แสนเม็ด/ชม. นับเป็นเครื่องที่มีความเร็วสูงที่สุดในเอเชียอาคเนย์
ในช่วง COVI0D-19 บริษัทฯ ได้ลงทุนติดตั้งเครื่องตอกยามูลค่า 40 ล้านบาท ความเร็ว 6แสนเม็ด/ชม. จากประเทศเยอรมนี ซึ่งเป็นเครื่องที่มีความเร็วสูงที่สุดในเอเชียอาคเนย์ เพื่อผลิตยารองรับความต้องการของโรงพยาบาลและผู้บริโภค
“จากแรงบันดาลใจในวิชาชีพของกลุ่มเภสัชกรชุมชนจำนวนหนึ่ง ร่วมกันผลักดันให้เกิดการก่อตั้งบริษัท ชุมชนเภสัชกรรม จำกัด ขึ้นในปี 2526 บริษัทฯ มีปณิธานและความมุ่งหวังตั้งใจอันแรงกล้าที่จะผลิตยาที่ดี มีคุณภาพ เพื่อให้คนไทยได้มีโอกาสใช้ยาคุณภาพในราคาที่เหมาะสมยุติธรรม ลดการสูญเสียดุลการค้าจากการนำเข้ายาต่างประเทศ ในขณะเดียวกัน ก็เป็นการพัฒนาทักษะความสามารถของเภสัชกรไทยให้มีศักยภาพมากขึ้นทั้งคุณภาพ และการบริการที่เหนือกว่า ด้วยราคายุติธรรม” ภก.สุรชัย กล่าว
ด้านรุ้งเพชร ชิตานุวัตร์ ผู้อำนวยการกลุ่มโครงการภูมิภาคอาเซียน อินฟอร์มา มาเก็ตส์ และ ผู้จัดการทั่วไป – ฟิลิปปินส์ ในฐานะผู้จัดงาน “ซีพีเอชไอ เซาท์อีส เอเชีย 2024 (CPHI South East Asia 2024)” กล่าวว่า อุตสาหกรรมยาของไทยมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยสนับสนุน จากการก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ แนวโน้มการใส่ใจดูแลสุขภาพของคนไทย และ ตัวเลขของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ซึ่งต้องการยาที่มีคุณภาพมาทำการรักษาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังมีความต้องการจากตลาดในต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งจากปัจจัยที่กล่าวมานี้ทำให้อุตสาหกรรมยาของไทยมีศักยภาพที่จะเติบโตได้อีกมากในอนาคต
“โอกาสของอุตสาหกรรมยาในไทยมีศักยภาพสูง ทั้งด้านการวิจัยและพัฒนา พร้อมการยอมรับในมาตรฐานเทียบเท่ากับต่างประเทศ พร้อมยกระดับอุตสาหกรรมยาไปสู่ New S-Curve เพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ และก้าวไปสู่การเป็น Medical Hub ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งจะช่วยดึงเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยในอนาคต” รุ้งเพชร กล่าว
งาน ซีพีเอชไอ เซาท์อีส เอเชีย 2024 (CPHI South East Asia 2024) เป็นงานแสดงสินค้า เทคโนโลยี และการประชุมด้านอุตสาหกรรมการผลิตยา ครบวงจรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “ International Healthcare Week” บนพื้นที่ 15,000 ตร.ม. ในระหว่างวันที่ 10 – 12 กรกฎาคม 2567 ณ ฮอลล์ 1-3 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ภายในงานจะมีผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย ร่วมโชว์ศักยภาพด้านนวัตกรรมเทคโนโลยี และ ยกระดับการพัฒนาอุตสาหกรรมยาของไทยให้ก้าวขึ้นเทียบเท่าระดับสากล และเพื่อให้คนไทยเข้าถึงยาคุณภาพได้ง่ายขึ้น คาดมีผู้เช้าชมงานจาก 50 ประเทศ ทั้งหมด 8,000 ราย และผู้ร่วมออกบูธแสดงสินค้า 400 ราย
“การเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในงาน CPHI South East Asia 2024 เป็นหนึ่งในการนำเสนอศักยภาพด้านการวิจัยและพัฒนายาของบริษัท ชุมชนเภสัชกรรม เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยาไทยให้เป็น Medical Hub ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในอนาคต” ภก.สุรชัย กล่าวทิ้งท้าย