“สมาคมเพื่อนชุมชน” โชว์ผลงานรอบ 13 ปี ยกระดับ “มาบตาพุดคอมเพล็กซ์” เดินหน้าลดก๊าซเรือนกระจก สร้างสังคมคาร์บอนต่ำอย่างเป็นรูปธรรม


สมาคมเพื่อนชุมชน (CPA:Community Partnership Association) แถลงผลการดำเนินงานปี พ.ศ. 2566 นำเสนอผลงานตลอดระยะเวลา 13 ปี ในการขับเคลื่อน และยกระดับ “มาบตาพุดคอมเพล็กซ์” ในมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม มุ่งผลักดันให้จังหวัดระยองก้าวสู่ “เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ระดับสูงสุด” พร้อมเดินหน้าสู่ “สังคมคาร์บอนต่ำ” อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้จังหวัดระยองเป็นเมืองน่าอยู่ คู่อุตสาหกรรม และชุมชนมีความสุขอย่างยั่งยืน

พร้อมกันนี้ มงคล เฮงโรจนโสภณ นายกสมาคมเพื่อนชุมชนคนปัจจุบันได้ส่งไม้ต่อให้ ทศพร บุณยพิพัฒน์ รับหน้าที่นายกสมาคมเพื่อนชุมชนคนใหม่ เพื่อสานต่อภารกิจสมาคมเพื่อนชุมชน

มงคล เฮงโรจนโสภณ นายกสมาคมเพื่อนชุมชน กล่าวว่า สมาคมเพื่อนชุมชน เป็นโมเดลความร่วมมือของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมในพื้นที่มาบตาพุดคอมเพล็กซ์ จังหวัดระยอง ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2553 โดย 5 บริษัทผู้ก่อตั้ง ได้แก่ กลุ่ม ปตท. กลุ่มเอสซีจี โรงไฟฟ้า บีแอลซีพี กลุ่มบริษัทดาว (ประเทศไทย) และกลุ่มจีพีเอสซี เพื่อเป็นต้นแบบความร่วมมือของภาคอุตสาหกรรมแห่งแรกในประเทศไทย ตลอดการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องมากว่า 13 ปี สมาคมเพื่อนชุมชนได้ร่วมกับทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม เพื่อลดปัญหาและเร่งพัฒนาจังหวัดระยอง ครอบคลุมทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยนำแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน และ ESG มาเป็นกรอบการดำเนินงาน จนเกิดผลลัพธ์ที่จับต้องได้อย่างเป็นรูปธรรมทุกด้าน เช่น ด้านสิ่งแวดล้อม บริษัทสมาชิกฯ ได้รับมาตรฐานเป็นโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ครบ 100% ทั้ง 76 โรงงานตั้งแต่ปี พ.ศ 2562 และสามารถต่ออายุการรับรองต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน แสดงถึงความมุ่งมั่นของภาคอุตสาหกรรมในการประกอบกิจการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ด้านสังคม สมาคมฯ มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตในด้านสุขภาพ และการศึกษา เช่น โครงการทุนพยาบาลเพื่อนชุมชน รวม 440 ทุน  ซึ่งนักเรียนทุนพยาบาลทั้งหมดได้จบการศึกษา และเข้าทำงานในโรงพยาบาลรัฐ 9 แห่งในจังหวัดระยอง  สามารถให้บริการดูแลสุขภาพประชาชน รวมกว่า 3 แสนคน โครงการหน่วยแพทย์เคลื่อนที่เพื่อนชุมชน เพื่อให้บริการตรวจสุขภาพและรักษาเบื้องต้น  มีผู้รับบริการกว่า 20,000 คน ครอบคลุม 90 ชุมชน นอกจากนี้ในช่วงเกิดวิกฤต เช่น การแพร่ระบาด COVID-19 สมาคมฯ และบริษัทสมาชิก ได้จัดสรรงบประมาณกว่า 62 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือชุมชน และบุคลากรทางการแพทย์ โดยได้มอบอุปกรณ์ทางการแพทย์ และอุปกรณ์ที่จำเป็นในการจัดตั้งศูนย์พักคอยของเทศบาลในพื้นที่ รวมทั้งสนับสนุนถุงยังชีพ

สำหรับโครงการด้านการพัฒนาเยาวชน เช่น โครงการเพื่อนชุมชนติวเตอร์ มีนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัดระยอง เข้าร่วมกว่า 32,000 คน และใน 5 ปีที่ผ่านมาได้คะแนน O-NET ติด 5 ลำดับแรกของประเทศ และโครงการทุนปริญญาตรี และทุนอาชีวะเพื่อนชุมชน สำหรับเยาวชนที่เรียนดี แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ โดยให้ทุนปริญญาตรี รวมกว่า 400 ทุน และทุนอาชีวศึกษา (ปวช.) รวมกว่า 220 ทุน ปัจจุบันมีผู้สำเร็จการศึกษาและประกอบอาชีพแล้ว กว่า 200 คน ใน   ด้านเศรษฐกิจ สมาคมฯ มุ่งที่จะลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ส่งเสริมการสร้างรายได้ให้กับชุมชน ผ่านการพัฒนากลุ่มวิสาหกิจชุมชน ภายใต้โครงการ “สมาคมเพื่อนชุมชน-ธรรมศาสตร์โมเดล” โดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และเครือข่าย นำนักศึกษาและผู้เชี่ยวชาญมาร่วมกันพัฒนาสินค้าชุมชนให้ได้มาตรฐานและสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยสมาคมฯ ได้ส่งเสริมช่องทางการตลาด ซึ่งสร้างรายได้ให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและเครือข่าย รวม 58 กลุ่ม มีรายได้สะสมรวมกว่า 85 ล้านบาท

“นับจากปี พ.ศ. 2559เพื่อความสุขของพี่น้องชาวระยอง สมาคมฯ พร้อมที่จะร่วมมือกับทุกภาคส่วนขับเคลื่อนระยองให้ก้าวสู่การเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ระดับสูงสุด คือ ระดับ Happiness  ให้ระยองเป็นเมืองน่าอยู่ คู่อุตสาหกรรม และชุมชนมีความสุขอย่างยั่งยืนตลอดไป” มงคล  กล่าว

ทศพร บุณยพิพัฒน์ นายกสมาคมเพื่อนชุมชนคนใหม่ กล่าวถึงเป้าหมายหลักและทิศทางการดำเนินงานในอนาคตของสมาคมเพื่อนชุมชนว่า จะยังคงมุ่งเน้นความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในพื้นที่จังหวัดระยองต่อไป เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาให้เกิดเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศต้นแบบในพื้นที่มาบตาพุดคอมเพล็กซ์อย่างเป็นรูปธรรม และสร้างคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ที่ดียิ่งขึ้นให้กับพี่น้องชุมชนอย่างยั่งยืน พร้อมจะร่วมกันพัฒนาโครงการในด้านต่างๆ ทั้งในส่วนของภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และผู้ประกอบการอุตสาหกรรม รวมไปถึงโครงการต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนในจังหวัดระยอง เพื่อจับมือกันก้าวสู่การเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ระดับที่ 5 (Happiness) ระดับสูงสุด และทำให้ระยองเป็นเมืองน่าอยู่คู่อุตสาหกรรม

นอกจากนี้สมาคมเพื่อนชุมชนยังให้ความสำคัญ เรื่อง การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี ค.ศ. 2050 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี ค.ศ.2065 พร้อมมุ่งมั่นขับเคลื่อนสมาคมฯ อย่างยั่งยืนในระยะยาว  โดยให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (ESG) พร้อมยกระดับเป้าหมายขององค์กรที่เป็นสมาชิกสมาคมเพื่อนชุมชนนำผู้ประกอบการ และชุมชนมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ให้ทุกภาคส่วนได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในความมุ่งมั่นนี้ร่วมกัน ในฐานะพลเมืองโลก เราต้องการส่งต่อโลกใบนี้ ที่ดีกว่าให้กับคนรุ่นต่อไป และสมาคมฯ ยังมีเป้าหมายที่จะส่งเสริมและพัฒนาทักษะความรู้ ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างอาชีพ กระจายรายได้ให้แก่ชุมชนผ่านการดำเนินงานและโครงการที่สอดคล้องตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน ส่งเสริมให้เกิดสังคมคาร์บอนต่ำในชุมชน  เพื่อจะผลักดันเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ให้สำเร็จในอนาคต และพร้อมร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนระยอง และต่อยอดโครงการที่มีอยู่เดิมของสมาคมเพื่อนชุมชนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

นอกจากนี้ สมาคมเพื่อชุมชนมีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานหลากหลายโครงการ เช่น โครงการส่งเสริมด้านเศรษฐกิจชุมชน ทางสมาคมฯและบริษัทสมาชิกได้จัดอบรมเรื่อง Online Marketing เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนได้ขยายช่องทางการตลาดและการจัดจำหน่ายผ่านช่องทาง Social Media ทั้งการประชาสัมพันธ์และฝากร้านขายสินค้าใน Facebook  Line  Website  TikTok

สำหรับโครงการด้านการศึกษาของเยาวชน คือ โครงการแนะแนวการศึกษาและเพื่อนชุมชนติวเตอร์ที่จัดติวให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ทั่วทั้งจังหวัดระยอง เพื่อเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัย โดยจัดติวในรูปแบบ Hybrid มีทั้ง ช่องทาง Onsite และ Online โดยผ่านทั้งช่องทาง Zoom และ Facebook เพื่อนชุมชน  เป็นการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ทั่วถึงและเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางให้กับนักเรียน สำหรับโมเดล สมาคมเพื่อนชุมชนเพื่อนชุมชน ที่ผ่านมาได้มีการแบ่งปัน ข้อมูลและประสบการณ์ เกี่ยวกับ รูปแบบ การดำเนินงานของสมาคมเพื่อนชุมชนให้กับหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชนที่สนใจมาขอศึกษาดูงานเป็นระยะ

ในอนาคตทางสมาคมฯ พร้อมที่จะเผยแพร่โมเดล สมาคมเพื่อนชุมชนให้กับทุกภาคส่วนที่มีความสนใจผ่านการแบ่งปันประสบการณ์ในงานสัมมนาหรือโอกาสต่างๆ รวมทั้งการประชาสัมพันธ์การดำเนินงานของสมาคมเพื่อนชุมชนในช่องทางการสื่อสารที่หลากหลาย ทั้งสื่อวิทยุ ทีวี หนังสือพิมพ์  Social Media เช่น Website และ Facebook ของสมาคมเพื่อนชุมชน เพื่อสร้างการรับรู้ให้เกิดขึ้นในวงกว้างต่อไป

กัฬชัย เทพวรชัย รองผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง กล่าวว่า สำหรับทิศทางการพัฒนาจังหวัดระยอง เน้นการพัฒนาตามความต้องการของประชาชนในพื้นที่  โดยมุ่งเน้นให้  จังหวัดระยอง เป็นเมืองที่มีการคิดและนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการพัฒนา เป็นเมืองที่ประชาชนอยู่ดีมีสุขมีคุณภาพชีวิตที่ดี  เป็นเมืองที่มีการใช้ทรัพยากรอย่างพอพียงและเกิดประโยชน์สูงสุดเป็นเมืองที่มีการพัฒนาเท่าทันสถานการณ์ และเป็นเมืองที่สร้างสมดุลการพัฒนา  ด้วยแนวคิดดังกล่าว เป็นการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการพัฒนาเพื่อให้เกิดความยั่งยืน นำมาซึ่งความสุขให้กับคนระยอง   โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่ ถือว่ามีบทบาทสำคัญในการช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจของจังหวัดระยอง รวมทั้งยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนชาวระยอง นับได้ว่าการดำเนินงานของสมาคมเพื่อนชุมชน ซึ่งเกิดจากความร่วมมือของบริษัทสมาชิกสมาคมฯในการขับเคลื่อนโครงการต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อชาวระยองตลอดระยะเวลา 13 ปีที่ผ่านมานั้น  นับได้ว่าเป็นโมเดลต้นแบบความร่วมมือของภาคเอกชนที่มีพลังในการขับเคลื่อนงานร่วมกับท้องถิ่นได้อย่างเข้มแข็ง

ภารกิจหนึ่งที่สำคัญในจังหวัดระยอง ซึ่งมีผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก คือ การผลักดันและขับเคลื่อนจังหวัดระยองให้เป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ในระดับสูงสุดคือ ระดับ Happiness  สู่เมืองน่าอยู่ คู่อุตสาหกรรม ทำให้ชุมชนและอุตสาหกรรม อยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข  ส่งผลให้ชุมชนและอุตสาหกรรม อยู่ร่วมกันแบบเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ทั้งยังสามารถเป็นต้นแบบในการพัฒนาเพื่อสร้างความสุขที่ยั่งยืน และการสร้างนวัตกรรมอย่างสร้างสรรค์ รองรับการเติบโตในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และสร้างความสมดุลระหว่างการพัฒนาและการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนร่วมกัน

บุปผา กวินวศิน รองผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ประจำสำนักผู้ว่าการ กล่าวว่า นับเป็นความร่วมมือของสมาคมฯ ในการขับเคลื่อนงานที่เข้มแข็ง ผลงานที่ผ่านมามีโครงการต่างๆ ที่ได้สร้างประโยชน์ในพื้นที่ ทั้งด้าน สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม จนเป็นรูปธรรม เช่น โครงการเครือข่ายเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อมเชิงรุก ที่เป็นความร่วมมือของสมาคมฯ กลุ่มผู้ประกอบการ และชุมชน ภาคใต้การกำกับดูแลของ กนอ. ในพื้นที่ 5 นิคมอุตสาหกรรม 1 ท่าเรือ มีประเด็นข้อร้องเรียนลดลง โดยใน ปี พ.ศ.2559 มีข้อร้องเรียน 126 เรื่อง และในปี พ.ศ.2566 มีประเด็นข้อร้องเรียน 26 เรื่อง โดยขับเคลื่อนให้เกิดนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศในพื้นที่ ตั้งแต่ระดับ Eco-Champion Eco-Excellence และ Eco-World Class ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญในการผลักดันให้ จังวัดระยอง ก้าวสู่การเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศในระดับสูงสุดคือ ระดับ Happiness เป็นโมเดลความร่วมมือของผู้ประกอบการที่สามารถสร้างประโยชน์ให้กับชุมชน สร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เข้มแข็งและยั่งยืน


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save