การประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 28 (COP28)


การประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 28 หรือ COP28 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน – 12 ธันวาคม 2566 ณ เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (United Arab Emirates: UAE)

สำนักเลขาธิการกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกำหนดให้มี การประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Conference of Parties to the United Nations Framework Convention on Climate Change: COP) เป็นประจำทุกปีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 โดยมีผู้แทนจากรัฐภาคีทั่วโลก ผู้แทนจากองค์การระหว่างประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการประชุม

ประเทศไทยในฐานะรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาฯ ได้เข้าร่วมการประชุมภายใต้กรอบอนุสัญญาฯ อย่างเคร่งครัดมาตลอดทุกปี เพื่อติดตามประเด็นการเจรจาซึ่งครอบคลุมการดำเนินงานเกี่ยวกับ การลดก๊าซเรือนกระจก การปรับตัวต่อผลกระทบทางลบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การสนับสนุนทางการเงิน การพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี การเสริมสร้างศักยภาพของประเทศกำลังพัฒนา กรอบการรายงานข้อมูลการดําเนินงานและการให้การสนับสนุนอย่างโปร่งใส และการทบทวนสถานการณ์และการดำเนินงานระดับโลก (global stocktake) ประเทศไทย อีกทั้งยังต้องติดตามประเด็นเพื่อเตรียมความพร้อมในการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภายในประเทศที่สอดคล้องกับแนวทางการดำเนินงานของโลก

ประเด็นการเจรจาที่สำคัญในการประชุม COP28

  • การประเมินสถานการณ์ดำเนินงานระดับโลก (Global Stocktake: GST) เพื่อให้ทราบว่าการดำเนินงานที่ผ่านมา มีแนวโน้มที่จะบรรลุเป้าหมายตามความตกลงปารีสมากน้อยเพียงใด รวมถึงการวิเคราะห์ช่องว่างและความต้องการ (gaps and needs) ที่ภาคีจะต้องผลักดันอย่างเร่งด่วนต่อไป
  • การจัดทำเป้าหมายระดับโลกด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Global Goal on Adaptation: GGA) ซึ่งภาคีจะร่วมหารือเกี่ยวกับเป้าหมายและตัวชี้วัดด้านการปรับตัวฯ ที่เหมาะสมร่วมกันในระดับโลก
  • เป้าหมายด้านการเงินเพื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Finance) ซึ่งภาคีประเทศกำลังพัฒนายังคงเรียกร้องให้เร่งระดมเงินให้ได้ 100,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี ค.ศ. 2025 เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (NDC 2030) ให้บรรลุเป้าหมายตามที่แต่ละภาคีได้ให้คำมั่นไว้
  • การขับเคลื่อนการลดก๊าซเรือนกระจก (Mitigation Work Programme) ให้บรรลุเป้าหมายตามความตกลงปารีส ซึ่งยังไม่ได้ข้อสรุปเนื่องจากความเห็นที่ต่างกันของประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนาในเรื่องการให้การสนับสนุนทางการเงิน ซึ่งภาคีคาดหวังที่จะให้ได้ข้อสรุปร่วมกันใน COP28
  • กองทุนสำหรับการสูญเสียและความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Loss & damage facility) เพื่อช่วยประเทศที่มีความเปราะบาง ลดการสูญเสียและความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งจะต้องมีการหารือในเรื่องของโครงสร้างกองทุน แหล่งงบประมาณและแนวทางการดำเนินงาน

โดยคณะผู้แทนของประเทศไทยจะเดินทางเข้าร่วมประชุม พร้อมแสดงบทบาทในเชิงบวกของประเทศในการให้ความร่วมมือกับประชาคมโลกในการจัดการกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และขยายโอกาสในการได้รับความช่วยเหลือทางการเงิน เทคโนโลยี วิชาการในการจัดการและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศร่วมกับประชาคมโลก รวมถึงแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารประสบการณ์ทำงานร่วมกับประเทศสมาชิกอื่นทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก พร้อมทั้งรับทราบข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานเตรียมการทำงานของกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ในฐานะผู้ประสานงานหลักระดับประเทศของอนุสัญญาทั้งในระดับภูมิภาค ประเทศ และระดับท้องถิ่น


ที่มา: กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save